ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี หนุนเกษตรกรปลูก”ข้าวเหนียวดำหมอ 37″ ลดต้นทุนการผลิต -ข้าวมีคุณภาพ

ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานีได้เก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวเหนียวสีพันธุ์พื้นเมืองจากจังหวัดกระบี่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ที่เกษตรกรนิยมปลูกทั่วไปในภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2539 ถึง 2542 ได้จำนวน 89 พันธุ์ มาปลูกศึกษาวิจัยและพัฒนาพันธุ์ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาสวน นาน้ำฝนภาคใต้ที่ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี ในฤดูนาปี 2546/47 ถึง 2547/48 หลังการจัดหมวดหมู่กลุ่มพันธุ์แล้ว ได้ดำเนินการปลูกคัดเลือกให้เป็นพันธุ์บริสุทธิ์ โดยพื้นที่ภาคใต้ มีการปลูกยางพาราเป็นจำนวนมาก พอครบกำหนดของต้นยางพารา ต้องมีการตัดต้นยางพาราแล้วปลูกใหม่

1623746845 00.png 708x500 1
ข้าวเหนียวดำหมอ 37

ในช่วงของการรอฤดูการปลูกยางพารา ทางศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี ได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรนำ”ข้าวเหนียวดำหมอ 37 “ซึ่งเป็นข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมืองไวต่อช่วงแสง เป็นข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ซึ่งพบว่าข้าวกล้องและข้าวกล้องงอกมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ โดยมีธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุสังกะสีและสารในกลุ่มวิตามินอีแอลฟาโทโคฟีรอลสูง มีวิตามินบี 1 วิตามินบี 3 และวิตามินบี 6 รวมทั้งความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูง เป็นข้าวเหนียวดำพื้นเมือง เมื่อนึ่งสุกมีลักษณะอ่อนนุ่ม ผู้บริโภคในพื้นที่ภาคใต้นิยมนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น อาหารเสริมหรืออาหารว่างใช้ในงานบุญประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ ทำให้มีราคาจำหน่ายสูงกว่าข้าวทั่วไป แต่ที่ผ่านมาในการตัดต้นยางเพื่อปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวดำหมอ 37 ของจังหวัดปัตตานีได้สูญหายไป แต่ยังคงเป็นข้าวที่ผู้คนนิยมบริโภค จึงมีการนำเมล็ดพันธุ์จากศูนย์วิจัยพัทลุงกลับมาปลูก เพื่อทำเป็นเมล็ดพันธุ์อีกครั้ง

เป็นข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ซึ่งพบว่าข้าวกล้องและข้าวกล้องงอกมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ โดยมีธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุสังกะสีและสารในกลุ่มวิตามินอีแอลฟาโทโคฟีรอลสูง มีวิตามินบี 1 วิตามินบี 3 และวิตามินบี 6 รวมทั้งความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ


นางบุษบา หมอกมัว เกษตรกรต้นแบบ Smart Farmer ด้านข้าว ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี กล่าวว่า ได้มีการปลูกยางพารามาแล้วกว่า 36 ปี พื้นที่ทั้งหมด 3 ไร่ สภาพดินเป็นดินปนทราย ซึ่งมีต้นยางพาราบางส่วนที่หมดน้ำยางจึงมีการตัดทิ้ง และมาปลูกพื้นผสมผสาน เน้นพืชผลที่ครอบครัวรับประทาน เน้นไว้กิน ไม่เน้นขาย ทางศูนย์วิจัยข้าวปัตตานีได้เข้ามาแนะนำให้ปลูกข้าวเหนียวดำหมอ 37 ที่ครอบครัวนิยมซื้อมาแปรรูปเป็นขนมขายในชุมชน จึงเกิดเป็นแปลงต้นแบบพื้นที่แรกของจังหวัดปัตตานีที่หันกลับมาปลูกข้าวเหนียวดำหมอ 37 อีกครั้ง เพื่อเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวให้กับเกษตรกรคนอื่นต่อไป และที่สำคัญจะช่วยในการลดต้นทุน สร้างรายได้เสริม ซึ่งข้าวเหนียวดำหมอ 37 มีราคาสูงกว่าข้าวในท้องตลาดทั่วไป

312182 1024x575 2
บุษยรัตน์ หมอกมัว

นางสาวบุษยรัตน์ หมอกมัว นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี เปิดเผยว่า ได้มีการเข้ามาทำการวิจัยในแปลงของคุณแม่ เพราะคุณแม่เพิ่งจะตัดต้นยางทิ้ง จึงทำเป็นแปลงต้นแบบในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวดำหมอ 37 จึงได้มีการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเป็นเครื่องทุ่นแรงในการปลูกข้าวอย่าง รถไถนาและเครื่องหยอดข้าวแห้ง ชนิด 4 แถว ติดท้ายรถไถนาเดินตาม มาช่วยลดแรงงานคน เป็นการลดต้นทุน ซึ่งพื้นที่ปลูกข้าวเหนียวดำหมอ 37 จำนวน 1 งาน ใช้เวลาในการปลูกเพียง 20 นาที ช่วยประหยัดเวลาในการปลูกได้เป็นอย่างดี ในการวิจัยครั้งนี้จะช่วยให้เกษตรกรในชุมชนสร้างรายเสริม ซึ่งราคาข้าวเหนียวดำหมอ 37 ในตลาดตอนนี้อยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 70 – 80 บาท

เกษตรกรในพื้นจังหวัดปัตตานี หรือจังหวัดใกล้เคียง สนใจอยากปลูกข้าวเหนียวดำหมอ 37 สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี 128/1 หมู่ที่ 7 ตำบลมะกรูด อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี 94120 โทร 073-415989 หรือ ทาง Facebook : ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี และเพจ Facebook : Rice-Tech RD