ประภัตร เป็นสักขีพยานความร่วมมือการส่งออกทุเรียนไปจีน ระหว่าง บ. ควีนโฟรเซ่นฟรุตฯกับ Tsinghua Uniresource Company เพื่อเพิ่มช่องทางการส่งออกผลไม้

 นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมเป็นสักขีพยานลงนามความร่วมมือในการส่งออกผลไม้ระหว่าง บริษัท ควีนโฟรเซ่นฟรุต จำกัด กับ Tsinghua Uniresource Company ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะการนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรของไทยไปยังประเทศจีนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เร่งดำเนินการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง

     

327938941 728760381956116 9206604380021637277 n
ความร่วมมือการส่งออกทุเรียนไทยไปยังประเทศจีน

“ตลอดมาผลไม้ของประเทศไทยพอถึงฤดูกาลอาจจะทำให้ราคาตกต่ำลงและสร้างความเดือดร้อนกังวลใจให้แก่พี่น้องเกษตรกรวันนี้มีความยินดีและขอบคุณจากใจที่จะทำให้เกษตรกรได้เกิดความมั่นใจว่าจะมีตลาดในการส่งออกผลไม้เพราะจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ทำให้เกิดวิกฤตและมีความยากลำบากในการส่งออกสินค้าทางการเกษตรซึ่งทางรัฐบาลไทยได้ช่วยเหลือสร้างความมั่นใจให้ทั้งทางพี่น้องเกษตรกรและประเทศจีนอย่างเต็มที่ว่าสามารถส่งได้ในทันทีและจะให้ราคาที่ดีเพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรให้ได้มากที่สุดอนาคตหวังว่าจะสามารถส่งผลไม้หรือสินค้าประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นหมากชมพู่มะพร้าวน้ำหอมและอาหารทะเลไปยังประเทศจีนอีกด้วยโดยในปี 2566 ทางประเทศจีนจะรับซื้อทุเรียนประมาณ 2,000 – 3,000 ตู้คอนเทนเนอร์ (1 ตู้คอนเทนเนอร์เฉลี่ยประมาณ 18 ตัน) และต้องขอบคุณ บริษัท ไทย อะกรีคัลเจอร์ จำกัด ที่ทำให้เกิดสัญญาซื้อขายนี้เกิดขึ้นด้วย ” รมช.ประภัตรกล่าว 

     

329108079 3561978667413970 7533534452091356188 n
ความร่วมมือการส่งออกทุเรียนไทยไปยังประเทศจีน

นอกจากนี้อยากจะขอความร่วมมือเกษตรกรอย่าตัดทุเรียนอ่อนออกจำหน่ายทั้งที่ยังไม่ครบอายุการเก็บเกี่ยวเพราะจะมีผลต่อคุณภาพและความน่าเชื่อถือต่อทุเรียนไทย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นาวสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์  ได้มอบนโยบายเน้นย้ำ คุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารไทย และการปฏิบัติตามข้อตกลงพิธีสารว่าด้วยข้อกําหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนําเข้าผลไม้ไทยผ่านประเทศที่สามเข้าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีนโดยผู้ประสงค์นําเข้าและส่งออกผลไม้สดระหว่างไทยและจีน ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด รายการชนิดของผลไม้สดที่อนุญาตให้นําเข้าและส่งออกเป็นไปตามที่ทั้งสองฝ่ายกำหนดโดยผลไม้ไทยจำนวน 22 ชนิด และผลไม้จีน จำนวน 23 ชนิด อาทิ ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่ มังคุด มะม่วง ชมพู่ กล้วย มะพร้าว สับปะรด ขนุน เงาะ ส้มโอ เป็นต้น

ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการส่งออกทุเรียนและผลไม้ไทยที่ดีและมีคุณภาพ พร้อมทั้งป้องกันไม่ให้มีการส่งออกทุเรียนและผลไม้ผลสดมีการปนเปื้อนแมลงศัตรูพืชและคุณภาพต่ำไม่ถึงเกณฑ์ตามข้อกำหนด อธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืช ทั้งทางบก อากาศ และทะเล เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบคุณภาพทุเรียนและผลไม้ทั้งระบบ และมอบหมายให้สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1-8 ร่วมตรวจสอบย้อนกลับกระบวนงาน ตรวจคุณภาพ ถิ่นกำเนิด และการปนเปื้อนแมลงศัตรูพืช ตาม พ.ร.บ.กักพืชฯ กำหนด และพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับให้ผ่านระบบ e-phyto รวมถึงให้ทวนสอบแปลง GAP และ GMP ที่รับรองโรงคัดบรรจุ และผู้ส่งออก เพื่อเพิ่มความเข้มงวดในมาตรการต่าง ๆ ให้ทุเรียนและผลไม้ไทยมีคุณภาพดีที่สุดของโลก ดังนี้

328635831 617710883498806 4192002327667278568 n
ความร่วมมือการส่งออกทุเรียนไทยไปยังประเทศจีน

1.สวนทุเรียนและ/หรือสวนผลไม้ต้องได้รับขึ้นทะเบียน (GAP) และโรงคัดบรรจุหรือล้ง (GMP) จากทั้งฝ่ายไทยและศุลกากรจีน และศุลกากรจีนได้ประกาศรับรองเลขทะเบียนพร้อมแล้ว



2.สำหรับการตรวจสอบทุเรียนส่งออกในโรงคัดบรรจุ เพื่อรับรองสุขอนามัยพืช เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการตามข้อสั่งการ “คู่มือปฏิบัติการตรวจสอบศัตรูพืชในการส่งออกทุเรียนไปจีน” อย่างเคร่งครัด หากตรวจพบต้องสงสัย จะตรวจสอบย้อนกลับ และปฏิเสธการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช



3.หากตรวจพบหรือต้องสงสัยว่า ผู้ประกอบการส่งเอกสารแนบหรือหลักฐานอันเป็นเท็จ ให้ดำเนินการกล่าวโทษร้องทุกข์ต่อผู้ประกอบการที่แจ้งข้อความเท็จต่อทางราชการ ในการยื่นขอรับใบรับรองสุขอนามัยพืช (พก.๗) เพื่อส่งออกทุเรียนไปจีน เฉพาะรายที่สงสัยว่ากระทำผิดนั้นทันที ชะลอการคัดบรรจุเพื่อส่งออกชั่วคราว ตามพิธีสารไทย-จีน ภายใต้ข้อตกลงการส่งออกผลไม้สด

4.ทุกล้งที่ส่งออกไปยังจีนต้องมีมาตรการ COVID PLUS ตามมาตรการ ZERO COVID ที่ประเทศจีนกำหนด พร้อมกับการปฏิบัติตามระเบียบ หรือประกาศที่จังหวัดในพื้นที่นั้น ๆ กำหนดเป็นมาตรการเฉพาะ