กยท. นำทีมนักวิจัย เสนอผลงานวิชาการ ในเวที IRRDB ณ มาเลเซีย -ไทยพร้อมรับไม้ต่อเป็นเจ้าภาพการประชุมฯ ปลายปี 2023

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) นำทีมนักวิจัย ตัวแทน กยท. เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิชาการด้านยางพารา ตั้งแต่ต้นน้ำ – กลางน้ำ – ปลายน้ำ ในการประชุม IRRDB 2022 International Rubber Conference ณ โรงแรม Intercontinental กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ภายในงานได้รับเกียรติจาก Datuk Seri Fadillah Yusof รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการเพาะปลูกและสินค้ามาเลเซีย เป็นประธานเปิดงาน

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)

นายณกรณ์ กล่าวว่า IRRDB หรือสภาวิจัยและพัฒนายางระหว่างประเทศ (International Rubber Research and Research and Development Board : IRRDB) เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ที่ประเทศสมาชิกมาจากหน่วยงานสถาบันวิจัย มีสมาชิก 19 ประเทศ ประกอบด้วย กัมพูชา บังคลาเทศ บราซิล แคมารูน จีน โก๊ตดิวัวร์ ฝรั่งเศส กัวเตมาลา อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียร์ม่าร์ ไนจีเรีย ไลบีเรีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา เวียดนาม ปาปัวนิกินี และไทย

ประชุม IRRDB 2022

สำนักงานเลขาธิการ IRRDB ตั้งอยู่ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนความร่วมมือระหว่างสถาบันสมาชิกในเรื่องงานวิจัยและพัฒนายางธรรมชาติ ประสานงานระหว่างสถาบันสมาชิก และจัดกิจกรรมการประชุมเพื่อให้ได้มีโอกาสเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนความรู้ ตลอดจนประสบการณ์ร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก IRRDB จึงเป็นเวทีในการสร้างเครือข่ายระหว่างนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านยางพาราระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนางานวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปของแต่ละประเทศสมาชิก อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของการผลิต การแปรรูปของเกษตรกรชาวสวนยาง และอุตสาหกรรมยางพาราของแต่ละประเทศต่อไปในอนาคต

นายณกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมบอร์ดบริหาร IRRDB ครั้งนี้ มีมติให้ประเทศไทย โดยการยางแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพการประชุม IRRDB 2023 International Rubber Conference พร้อมจัดฝึกอบรมให้นักวิจัยยางจากประเทศสมาชิก 19 ประเทศ (IRRDB Fellowship) ช่วงปลายปี 2023

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมที่ประเทศสมาชิกและสมาคมด้านยางพาราจากทั่วโลกจะร่วมกันพัฒนาและขับเคลื่อนงานวิจัยวิชาการ อาทิ การซื้อขายคาร์บอนเครดิต การบริหารจัดการและควบคุมโรค การพัฒนาผลผลิตยาง เทคโนโลยีชีวภาพของยางธรรมชาติ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทั่วโลกกำลังเผชิญในขณะนี้ ซึ่งยางพาราจะเป็นพืชสร้างเศรษฐกิจ และสร้างความสมดุลให้กับสภาพแวดล้อมได้

สำหรับสถานการณ์ยางพาราของไทยนั้น ล่าสุดรัฐบาลอยู่ระหว่างพิจารณาให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคายางที่ปรับตัวลดลง ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ได้ระบุในรายงานภาวะเศรษฐกิจไตรมาส4/65 ถึงราคายางพาราที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 13.7 

โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 66 ได้รับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอเกี่ยวกับการดำเนินการตามมติคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมอบหมายให้การยางแห่งประเทศไทย(กยท.) จัดทำรายละเอียดเสนอให้ ครม. พิจารณาอนุมัติเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

ทั้งนี้การดำเนินการตามมติ กนย. ประกอบด้วย โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 4 โดยเป็นการประกันรายได้ให้ชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนและแจ้งข้อมูลพื้นที่กับ กยท. ภายในวันที่ 30 มิ.ย. 2565 จำนวน 1,604,379 ราย แบ่งเป็น เจ้าของสวน ผู้เช่า ผู้ทำ 1,372,865 ราย และคนกรีดยาง 231,514 ราย  โดยเป็นสวนยางอายุ 7 ปีขึ้นไปที่เปิดกรีดแล้วพื้นที่รวม 18.18 ล้านไร่ ระยะเวลาประกันรายได้ 2 เดือน(ต.ค.–พ.ย.65)ภายใต้กรอบงบประมาณรวม 7,643  ล้านบาท พร้อมกันนี้มีโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ระยะที่ 2วงเงิน 20,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการของโครงการ 2 ปี โดยโครงการนี้รัฐบาลจะช่วยแบ่งเบาภาระผู้ประกอบการโดยการชดเชยดอกเบี้ย ตามโครงการฯ 1 ปี โดยชดเชยไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า