ด่วน…กรมส่งเสริมการเกษตร รับสมัครเกษตรกร ร่วมเปลี่ยนข้าวนาปรังเป็นพืชใช้น้ำน้อย หมดเขต พ.ค. นี้

กรมส่งเสริมการเกษตร มุ่งเป้า ปี 66 และ ปี 67 ลดพื้นที่นาปรังให้ได้เกิน 10,000 ไร่ จัดเต็มแคมเปญพิเศษให้เกษตรกรมากกว่า 22 จังหวัด ที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเสริมสร้างรายได้ ปี 66 และ ปี 67 ได้สิทธิพิเศษเต็ม ๆ ทั้งจัดเวทีเสริมความรู้ ติดตามดูแล และเชื่อมโยงตลาด สมัครด่วน หมดเขต พ.ค.นี้

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ในปัจจุบันสภาพภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงมีปริมาณฝนตกน้อยกว่าปกติ หรือฝนตกไม่ตกต้องตามฤดูกาลเป็นระยะเวลานานกว่าปกติซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตข้าว อีกทั้งในช่วงฤดูแล้งปริมาณน้ำในแหล่งน้ำต่างๆมักจะมีปริมาณจำกัด และสถานการณ์การผลิตข้าวของประเทศไทยยังมีความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทาน มีปริมาณผลผลิตเกินความต้องการใช้อยู่ประมาณ 2.25 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 3.48 ล้านไร่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงมีนโยบาย “ตลาดนำการผลิต” บริหารจัดการผลผลิต ให้มีปริมาณสอดคล้องกับความต้องการของตลาด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากระทบต่อราคาข้าว

เปลี่ยนข้าวนาปรังเป็นพืชใช้น้ำน้อย

“ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร ได้เล็งเห็นถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งในพื้นที่ จึงมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรัง เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร กิจกรรมส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 อยู่ระหว่างดำเนินการในเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนกันยายน 2566 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กำหนดดำเนินการในเดือนพฤศจิกายน 2566 ถึงเดือนเมษายน 2567 ภายใต้วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมพื้นที่การปลูกพืชใช้น้ำน้อยทดแทนการทำนาปรัง และเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงด้านการผลิตกับตลาดพืชใช้น้ำน้อย รวมถึงเพื่อให้เกษตรกรมีองค์ความรู้ในการปลูกพืชใช้น้ำน้อยทดแทนการทำนาปรัง เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง พริก แตงโม ข้าวโพดหวาน และพืชอื่น ๆ ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวไม่เกิน 120 วัน” อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว

เปลี่ยนข้าวนาปรังเป็นพืชใช้น้ำน้อย

สำหรับเป้าหมายการส่งเสริมตามโครงการฯ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ให้ข้อมูลว่า เน้นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในฤดูนาปรังใน 22 จังหวัด ประกอบด้วย ภาคเหนือ 13 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย นครสวรรค์ พะเยา พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี แพร่ ลำปาง น่าน และจังหวัดตาก ภาคกลาง 3 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท สระบุรี และกรุงเทพมหานคร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ ศรีสะเกษ สกลนคร อุบลราชธานี และจังหวัดนครพนม ภาคตะวันออก 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา และภาคตะวันตก 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครปฐม ให้เข้าร่วมปีละมากกว่า 5,000 ราย อันนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนาปรังมาสู่พื้นที่ปลูกพืชใช้น้ำน้อยรวม 2 ปี มากกว่า 10,000 ไร่

รับสมัครเกษตรกร ร่วมเปลี่ยนข้าวนาปรังเป็นพืชใช้น้ำน้อย

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ขอเชิญชวนเกษตรกรให้เข้าร่วมโครงการ ฯ ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงเดือนพฤษภาคม 2566 ณ สำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่ โดยกำหนดคุณสมบัติเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการฯ คือ มีความสนใจและมีประวัติการขึ้นทะเบียนเกษตรกรการทำนาปรัง แต่หากไม่มีประวัติ สามารถใช้วิธีรับรองประวัติการทำนาปรังผ่านเวทีชุมชนได้ สำหรับประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับจากโครงการฯ ได้แก่ องค์ความรู้ในการปลูกพืชใช้น้ำน้อยอายุน้อยกว่า 120 วัน ทดแทนในพื้นที่นาปรัง เรียนรู้การบริหารจัดการทั้งระบบ ตั้งแต่การผลิต คุณภาพผลผลิต และการตลาด ผ่านการจัดทำแปลงเรียนรู้ พร้อมทั้งเชื่อมโยงการผลิตกับตลาดร่วมกับผู้ประกอบการ นำไปสู่การจัดทำแผนการผลิตได้อย่างเหมาะสม และได้รับสนับสนุนปัจจัยการผลิตพืชใช้น้ำน้อย เพื่อจัดทำแปลงเรียนรู้พืชใช้น้ำน้อย เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย พลาสติกคลุมแปลง ถุงบรรจุผลผลิต หรือวัสดุที่จำเป็นต่อการผลิตพืชใช้น้ำน้อย ฯลฯ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า