พาณิชย์ ทุ่มกำลังดูแลผลไม้ภาคใต้.. รอลุ้นเป็นปีทองของชาวสวนผลไม้ภาคใต้หรือไม่

ปีนี้ “ผลไม้ภาคใต้” คาดว่าจะมีปริมาณรวม 895,118 ตัน เพิ่มขึ้น 77%

ในจำนวนนี้ เป็น “มังคุด” ปริมาณ 142,077 ตัน เพิ่ม 409% “ทุเรียน” ปริมาณ 667,338 ตัน เพิ่ม 49% “เงาะ” ปริมาณ 52,804 ตัน เพิ่ม 96% และ “ลองกอง” ปริมาณ 32,899 ตัน เพิ่ม 1,497%

%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3
เงาะใต้

สาเหตุที่ “ผลผลิต” เพิ่มขึ้นมาก เพราะปี 2565 ที่ผ่านมา “ผลไม้ภาคใต้” ประสบภัยธรรมชาติ ทำให้ผลผลิต “เสียหาย” และปริมาณ “ลดลง”  

มาปีนี้ แม้ผลผลิตจะเพิ่มขึ้น แต่ดูแล้วไม่น่าจะมีปัญหา เพราะกระทรวงพาณิชย์ได้เตรียม “มาตรการบริหารจัดการผลไม้เชิงรุกปี 2566” ไว้รองรับแล้วจำนวน 22 มาตรการ

ทั้ง 22 มาตรการ จะดูแล 4 ด้าน คือ ด้านการผลิต ด้านการตลาดในประเทศ ด้านการตลาดต่างประเทศ และด้านกฎหมาย มี “เป้าหมาย” เพื่อ “ผลักดัน” ให้ราคาผลไม้อยู่ใน “เกณฑ์ดี” ตลอดทั้งฤดูกาล

ทั้งนี้ ผลจากการใช้มาตรการกับ “ผลไม้ภาคตะวันออก” ทำให้ราคาผลไม้ทุกตัว “ปรับตัวสูงขึ้น” ไม่ว่าจะเป็น “ทุเรียน-มังคุด-เงาะ

%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%94 2022
มังคุดใต้

เฉพาะ “มังคุด” ราคาถึงกับทำ “นิวไฮ” สร้างสถิติเป็นประวัติศาสตร์ไปเลย

ทำให้ปีนี้ เป็น “ปีทอง” ของชาวสวนผลไม้ภาคตะวันออกไปแล้ว และกำลัง “รอลุ้น” ว่า จะเป็นปีทองของชาวสวนผลไม้ภาคใต้หรือไม่

กลับมาที่ “ผลไม้ภาคใต้” เพราะตั้งแต่ผลผลิตออกสู่ตลาด “กระทรวงพาณิชย์” ได้ทุ่มเท “สรรพกำลัง” ลงไปดูแลผลไม้ภาคใต้อย่าง “ใกล้ชิด” และ “เกาะติด” ช่วงผลไม้ออกแรก ๆ และตัวแรกที่ออก คือ มังคุด กรมการค้าภายในพา “ผู้ประกอบการ” เข้าไปซื้อ ไปกำกับดูแล “การซื้อขาย” และร่วมกับ “สำนักงานพาณิชย์จังหวัด” ในพื้นที่ออกตรวจสอบ ติดตาม จนทำให้ราคาขยับจากช่วงแรก ๆ 70-80 บาท/กิโลกรัม (กก.) ขึ้นทำ “นิวไฮ” ที่ กก.ละ 108 บาท เพิ่มขึ้น 173%

ตอนนี้ “ผลผลิตรุ่นแรก” หมดไปแล้ว กำลังเข้าสู่ “รุ่น 2” ราคาก็ยัง “ทรงตัว” อยู่ในระดับสูง

%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99 4
ทุเรียนใต้

จากนั้น พอ “ทุเรียน” เริ่มออก กรมการค้าภายใน ได้ประสานผู้ประกอบการ ผู้ส่งออก ล้งไทย ล้งจีน ห้างค้าส่งค้าปลีก พ่อค้าส่ง ลงพื้นที่ไปรับซื้อ

พร้อมประสาน “ตลาดมรกต” ที่เป็นตลาดรับซื้อทุเรียนใหญ่ที่สุดในภาคใต้เข้ามาช่วย ตอนนี้ มี “ล้ง” ทั้งไทย ทั้งจีน เข้าไปซื้อแล้วกว่า 50 ราย และยังมีผู้ประกอบการ ที่ซื้อไปจำหน่ายในประเทศ ห้องเย็น โรงงานแปรรูป กว่า 300 ราย ที่เข้ามาซื้อแล้ว โดยทุกราย “ยืนยัน” ว่า พร้อมซื้อ “ไม่อั้น

ถัดมา “นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์” ได้ลงพื้นที่ จ.ชุมพร ไปดูสถานการณ์การซื้อขาย “ทุเรียน” ที่ตลาดมรกต พบว่า การซื้อขาย “คึกคัก” และราคาดีมาก “เกรด AB” สูงกว่า กก.ละ 130 บาท และ “ตกเกรด” กก.ละ 100 บาท ส่วน “มังคุด” เกรดมันรวมอยู่ที่ 95-108 บาท/กก. เกรดลาย ประมาณ 53-81 บาท/กก. เกรดดอกดำ ประมาณ 33-59 บาท/กก.

ปลัดพาณิชย์ ได้กำชับให้ “กรมการค้าภายใน” และ “สำนักงานพาณิชย์จังหวัด” ดูแลการซื้อขาย อย่าให้เกิดการ “โกงน้ำหนัก” อย่าให้มีการ “เอารัดเอาเปรียบ” ในเรื่องราคา และอย่าให้มีการ “ฮั้วกดราคา” ถ้า “จับได้-ไล่ทัน” ให้เล่นงานตามกฎหมายเด็ดขาด  

จากนั้น “นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์” ได้นัดประชุมติดตาม “สถานการณ์ผลไม้ภาคใต้ ปี 2566” ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชน ล้ง ผู้ส่งออกและตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ภาคใต้

นายจุรินทร์ ย้ำให้ติดตามการซื้อขายอย่างใกล้ชิด อย่าให้มีการกดราคา หรือกระทำการใด ๆ ที่เป็นการเอาเปรียบเกษตรกร และขอให้กำกับดูแล “คุณภาพ” ให้ดี อย่าให้มีปัญหา เช่น “ทุเรียนอ่อน” อะไรทำนองนี้

พร้อมกับสร้างความมั่นใจว่า “ตลาดจีน” ที่มีสัดส่วนการส่งออกผลไม้ถึง 77% ของการส่งออกทั้งหมด ตอนนี้สถานการณ์ “ดีมาก” การขนส่ง “ทางบก” ไร้ซึ่งปัญหา การขนส่ง “ทางเรือ” ก็ฉลุย มี “ตู้” พร้อม มี “เรือ” พร้อม

ส่วนสถานการณ์ “ราคา” จะเป็น “ปีทอง” ตามที่ “คาดหวัง” เอาไว้หรือไม่ หรือช่วง “ผลผลิต” ออกมาก ๆ จะเป็นอย่างไร
         

เป็นเรื่องที่ต้อง “ติดตาม” กันต่อไป      

ที่มา-กระทรวงพาณิชย์