สถาบันปิดทองหลังพระฯ หนุนปลูกไผ่ พืชเศรษฐกิจสร้างป่าเสริมรายได้

นายตุลาพัฒน์ วัฒนทรัพย์ตระกูล หัวหน้าพื้นที่ต้นแบบฯ จ.อุทัยธานี กล่าวถึงการสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่ต้นแบบฯ ต.แก่นมะกรูด จ.อุทัยธานี ปลูกไผ่เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ เริ่มมาตั้งแต่ปี 2561 มีเป้าหมายหลักนอกจากช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าห้วยขาแข้งตามแนวรอยต่อระหว่างป่ากับพื้นที่ทำกินของชุนชนแล้ว ยังมีการปลูกในแปลงของเกษตรกรเอง ในแบบพืชผสมผสานที่ช่วยสร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชนได้

368
หนุนปลูกไผ่ พืชเศรษฐกิจสร้างป่าเสริมรายได้

เนื้อที่ปลูกครั้งแรกจำนวน 460 ไร่ มีเกษตรกรเข้าร่วม 151 ราย เมื่อปลูกได้ไม่นานก็สามารถตัดหน่อไม้ไว้ทำอาหารในครัวเรือน และจำหน่ายเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง

368229657
หนุนปลูกไผ่ พืชเศรษฐกิจสร้างป่าเสริมรายได้

พันธุ์ไผ่ที่สนับสนุนมี 4 สายพันธุ์ คือ ซางหม่นและรวกดำ มีคุณสมบัติเป็นไผ่เนื้อแข็งที่สามารถนำต้นไปใช้สำหรับแปรรูปในโรงงาน ทำเฟอร์นิเจอร์ งานโครงสร้าง กับงานประดับตกแต่ง ทดแทนไม้ประเภทอื่นได้ ส่วนอีกสองสายพันธุ์คือ ฟ้าหม่นและหกอินโด ที่นิยมนำหน่อไปทำอาหาร

%E0%B9%84%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B9%86
หนุนปลูกไผ่ พืชเศรษฐกิจสร้างป่าเสริมรายได้

ไผ่ที่ตัดจำหน่ายเป็นลำต้นเพิ่งเริ่มตัดเพื่อขายปีนี้เป็นปีแรก เพราะด้วยความต้องการของผู้ซื้อ ไผ่ที่ใช้แปรรูปได้ดีต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 4 ปี การตัดขายครั้งแรกของเกษตรกรได้ต้นไผ่ 80 ต้น ราคาลำต้นละ 80 บาท นำไปส่งให้กับผู้รับซื้อในตัวเมืองจังหวัดอุทัยธานี โดยในการตัดขายครั้งแรกนี้ยังมีจำนวนไม่มาก เพราะอายุของไผ่เพิ่งเหมาะสมกับที่โรงงานแปรรูปจะรับซื้อ ซึ่งในเดือนกรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา เกษตรกรขายหน่อไผ่ มีรายได้รวม 32,910 บาท แต่ในอนาคตการปลูกไผ่เป็นเศรษฐกิจชุมชน ยังมีโอกาส และช่องทางที่ทำได้ สามารถขยายได้ทั้งพื้นที่ปลูก และจำนวนเกษตรกรที่มาเข้าร่วม

367451271
หนุนปลูกไผ่ พืชเศรษฐกิจสร้างป่าเสริมรายได้

สำหรับไผ่ที่ตัดขายลำต้นได้ก็เป็นครั้งแรก ยังมีปริมาณน้อย ตอนนี้อยู่ระหว่างเจรจากับบริษัทเอกชนผู้ผลิตไผ่แปรรูปรายใหญ่ ที่ส่งออกไปต่างประเทศ ซึ่งสนใจแหล่งปลูกไผ่ในจังหวัดอุทัยธานี ส่วน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ก็มีโครงการสนับสนุนเกษตรกรทั่วประเทศให้ปลูกไผ่เป็นพืชเศรษฐกิจจำนวน 1,000 ราย โดยมาอบรมให้ความรู้กับเกษตรกรในจังหวัด พร้อมชี้แจงหลักเกณฑ์การส่งเสริมในเดือนสิงหาคมนี้

นายตุลาพัฒน์ กล่าวด้วยว่าแม้ในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานีมีคนปลูกไผ่หลายราย แต่ก็เชื่อว่าไผ่ยังมีอนาคตที่สามารถส่งเสริมให้เกษตรกรในแก่นมะกรูดปลูกเสริมในแปลงเกษตร ทิศทางที่วางไว้ในอนาคตคือ การเชื่อมโยงกับตลาดภายนอกที่จะมารับซื้อไผ่ การขยายพื้นที่ปลูก และการแปรรูปไผ่ในพื้นที่ เนื่องจากมีเกษตรกรหลายรายสนใจที่จะพัฒนาทักษะนำไผ่มาทำเฟอร์นิเจอร์เพื่อจำหน่าย มีการไปศึกษาดูงานเรียนรู้จากแหล่งที่ประสบความสำเร็จในการแปรรูปมาแล้ว จึงมีความพร้อมที่จะพัฒนาไผ่ต่อไป