สศท.3เผยผลศึกษา “ฟางข้าว” จ.อุดรธานี วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่น่าจับตาตามแนวทาง BCG Model

%E0%B8%9C%E0%B8%AD.%E0%B8%AA%E0%B8%A8%E0%B8%97.3
นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 อุดรธานี

นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 อุดรธานี (สศท.3) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ผลักดันการใช้ทรัพยากรในภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน ตามแนวทาง BCG Model (Bio Circular Green Economy) โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน ทั้งในแง่ของการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งวัดุเหลือใช้ทางการเกษตร                  

LINE ALBUM %E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%AF %E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3 %E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A2 %E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7 %E0%B9%92%E0%B9%933
ฟางข้าว

“ที่สำคัญและมีปริมาณมากคือ“ฟางข้าว” ข้อมูลปี 65(ข้อมูลจากกรมพัฒนาที่ดินและ สศก.)พบว่าไทย มีปริมาณฟางข้าวทั้งหมด 27.05 ล้านตัน ซึ่งจังหวัดอุดรธานีเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศ จึงเป็นแหล่งที่เกิดฟางข้าวปริมาณมาก มีปริมาณฟางข้าว 856,752 ตัน”

           

%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B8%87
ฟางข้าว”วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่น่าจับตา

จากการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็น เรื่อง การจัดการโซ่อุปทาน และแนวทางการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร กรณีศึกษาฟางข้าวเมื่อช่วง ก.ค. 66 ที่ผ่านมา โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 เป็นประธาน ซึ่ง สศท.3 ในฐานะหน่วยงานหลักผู้รับผิดชอบ ได้จัดประชุมเพื่อร่วมกันระดมความคิดเห็นและหาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการฟางข้าว โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเกษตรจังหวัดอุดรธานี สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์อุดรธานี สถานีพัฒนาที่ดินอุดรธานี ศูนย์วิจัยข้าวอุดรธานี ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวอุดรธานี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุดรธานี รวมถึงเกษตรกรในพื้นที่ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการฟางข้าว   

           

%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B8%87 1
ฟางข้าว”วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่น่าจับตา

สำหรับการใช้ประโยชน์และการลดต้นทุนจากฟางข้าวในจังหวัดอุดรธานี พบว่า ผู้ใช้ประโยชน์สินค้าฟางข้าว ประกอบด้วย 5 กลุ่ม คือ

1) ผู้เลี้ยงปศุสัตว์ จากข้อมูลปศุสัตว์ในประเทศไทย 2566 จังหวัดอุดรธานี มีจำนวนโคเนื้อ กระบือ และโคนม รวมกว่า 267,539 ตัว ผู้เลี้ยงรับซื้อสินค้าฟางข้าวอัดก้อน ร้อยละ 32.27 ของผลผลิตทั้งหมด เมื่อนำฟางข้าวมาใช้เป็นอาหารในการเลี้ยงปศุสัตว์เปรียบเทียบกับการใช้หญ้าแพงโกล่าหรืออาหารหยาบ (TMR 16%) สามารถช่วยลดต้นทุนการเลี้ยงโคเนื้อและกระบือได้ 15.79 บาท/ตัว/วัน (ลดลงร้อยละ 52.63) และลดต้นทุนการเลี้ยงโคนมได้ 28.96 บาท/ตัว/วัน (ลดลงร้อยละ 48.27)

%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7 7
ฟางข้าว”วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่น่าจับตา

2) ผู้เพาะเห็ด รับซื้อสินค้าฟางข้าวอัดก้อน ร้อยละ 0.95 ของผลผลิตทั้งหมด ใช้ในการเพาะเห็ดเปรียบเทียบกับการใช้เปลือกมันสำปะหลังสามารถลดต้นทุนได้ 2,965 บาท/ปี (ลดลงร้อยละ 24.71)

3) ผู้เพาะเลี้ยงประมง รับซื้อสินค้าฟางข้าวอัดก้อน ร้อยละ 0.64 ของผลผลิตทั้งหมดใช้เป็นอาหารปลาเปรียบเทียบกับการใช้อาหารปลาสำเร็จรูปสามารถลดต้นทุนได้ 13,843.20 บาท/ไร่/รุ่น (ลดลงร้อยละ 62.40)

%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7 9
ฟางข้าว”วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่น่าจับตา

4) ผู้ผลิตปุ๋ย รับซื้อสินค้าฟางอัดก้อน ร้อยละ 0.32  ของผลผลิตทั้งหมด ใช้ประโยชน์ในการผลิตปุ๋ยเปรียบเทียบกับปุ๋ยอินทรีย์สามารถลดต้นทุนได้ 305 บาท/ไร่/รอบการผลิต (ลดลงร้อยละ 30.50)

และ 5) เกษตรกรเป็นผู้ใช้ประโยชน์โดยตรง โดยการเก็บฟางข้าวที่อัดก้อนไว้ใช้ประโยชน์เองร้อยละ 48.56 ของผลผลิตทั้งหมด และไถกลบในนาข้าว ร้อยละ 17.26 ของผลผลิตทั้งหมด

           

ด้านแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการฟางข้าว ได้แก่ 1) ส่งเสริมความรู้ให้กับเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร ในการวางแผนการจัดการฟางข้าว ตั้งแต่กระบวนการผลิต การแปรรูป/การเพิ่มมูลค่า และการบริหารคลังสินค้า 2) ส่งเสริมความร่วมมือในการซื้อขายฟางข้าวร่วมกัน เพื่อช่วยลดต้นทุนการจัดหาและการขนส่งฟางข้าว 3) สนับสนุนเครื่องจักร เทคโนโลยี/นวัตกรรมใหม่ ๆ ในด้านการผลิต การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อลดข้อจำกัดของความพร้อมด้านเงินลงทุน ลดปัญหาด้านแรงงานการเกษตรที่ขาดแคลน และ 4) ส่งเสริมและสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดเก็บรักษา เช่น โกดังเก็บฟาง และ วัสดุอุปกรณ์ การขนส่งสินค้าฟางข้าว เช่น เทรลเลอร์ ลากพ่วง เพื่อรองรับ    การขยายตัวของตลาดฟางข้าว และป้องกันผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปรปรวนหรือภัยธรรมชาติ

“หากคิดในแง่ของการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของจังหวัดอุดรธานี สศท.3 พบว่า จังหวัดอุดรธานี มีปริมาณฟางข้าว 856,752 ตัน ซึ่งหากคำนวณจากสัดส่วนที่เกษตรกรมีการซื้อขายฟางข้าวร้อยละ 34.18 จะพบว่า สามารถสร้างมูลค่าให้กับเกษตรกรและจังหวัดกว่า 586 ล้านบาท (ราคาที่เกษตรกรขายเฉลี่ย 30 บาท/ก้อน ฟางข้าวมีน้ำหนักเฉลี่ย 15 กิโลกรัม/ก้อน) ภายหลังจากนี้ ผลการสำรวจและผลการระดมความคิดเห็นดังกล่าว สศท.3 จะนำข้อมูลไปประกอบการจัดทำงานวิจัยเศรษฐกิจการเกษตรเรื่องการศึกษาการจัดการโซ่อุปทานและแนวทางการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรกรณีศึกษา ฟางข้าวซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนอคณะกรรมการพิจารณาโครงการวิจัยและประเมินสศก.เพื่อขอความเห็นชอบและจะเผยแพร่งานวิจัยฉบับสมบูรณ์ทาง www.oae.go.th และ www.zone3.oae.go.th ในช่วงปี 2567 โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกษตรกร และผู้ประกอบการ รวมถึงผู้ที่สนใจสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์และวางแผนการบริหารจัดการฟางข้าวต่อไป หากท่านใดสนใจข้อมูลเชิงลึกของงานวิจัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สศท.3 ได้ที่เบอร์โทร 0 4229 2557 หรืออีเมล [email protected]” ผู้อำนวยการ สศท.3 กล่าวทิ้งท้าย