กรมวิชาการเกษตร จับมือ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง รุกสร้างความเข้มแข็งเกษตรกรผลิตข้าวโพดและกาแฟบนพื้นที่สูง

CC7FA74B 0D46 44C3 B910 646171991A9A L0 001
กวก. จับมือ สวพส. สร้างความเข้มแข็งเกษตรกร ผลิตข้าวโพดและกาแฟบนพื้นที่สูง

นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ลงพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางหินฝน ต.ปางหินฝน อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ โดยมีนางสาวเพชรดา อยู่สุข รองผู้อำนวยการด้านการพัฒนา สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) พร้อมด้วยคณะทำงานร่วมลงพื้นที่ด้วย โดยได้ประชุมร่วมกับตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด และกาแฟอะราบิกา เพื่อรับฟังข้อคิดเห็น สภาพปัญหาการผลิต ข้าวโพดและกาแฟของเกษตรกร เพื่อทั้ง 2 หน่วยงานจะได้ร่วมกันหาแนวทางส่งเสริมการพัฒนาและต่อยอด เสริมสร้างความเข้มแข็ง ในการผลิตข้าวโพดและกาแฟเพิ่มเติมบนพื้นที่สูง โดยมีคณะทำงานของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) นำศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่แปลงปลูกข้าวโพดและแปลงทดสอบการปลูกกาแฟ รวมทั้งแปลงผลิตอะโวกาโด (พันธุ์แฮส) และการผลิตพืชผักอินทรีย์ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ จากกรมวิชาการเกษตร

F27158D6 311C 4487 B25E 25F79E74C652 L0 001
กวก. จับมือ สวพส. สร้างความเข้มแข็งเกษตรกร ผลิตข้าวโพดและกาแฟบนพื้นที่สูง

จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 285,004 ไร่ ให้ผลผลิต 205,191 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 720 กิโลกรัมต่อไร่ อำเภอแม่แจ่มปลูกมากที่สุด ประมาณ 170,000 ไร่ มีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 1 และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 2 (ข้าวโพดหลังนา) ขณะนี้ อยู่ระหว่างเตรียมการเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่นที่ 1 ซึ่งจะเก็บเกี่ยวช่วงเดือนกันยายน 2566 – มกราคม 2567 ราคาที่เกษตรกรขายผลผลิตช่วงออกสู่ตลาด ความชื้น 14 % เฉลี่ย 10.77 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตให้กับผู้รวบรวมในพื้นที่ร้อยละ 80 และจำหน่ายให้กับสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่ ร้อยละ 20 ปลายทางของผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะถูกส่งไปยังโรงงานผลิตอาหารสัตว์และฟาร์มไก่ไข่ – เชียงใหม่ ลำพูน คาดว่าจะมีความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ในปี 2566 จำนวน 8.37 ล้านตัน ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ

7AABD51F D7A5 4A0B 929B C319A98340CE L0 001
กวก. จับมือ สวพส. สร้างความเข้มแข็งเกษตรกร ผลิตข้าวโพดและกาแฟบนพื้นที่สูง

รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร  กล่าวว่า ผลการร่วมกันติดตามงานในครั้งนี้ กรมวิชาการเกษตร จะร่วมสนับสนุนในการขยายการผลิตชีวภัณฑ์ให้กับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนแนวทางการจัดการซังข้าวโพดหลังการเก็บเกี่ยว และการปลูกไม้ผลที่ให้ผลผลิตรวดเร็วที่สามารถเป็นสินค้าเกษตรส่งออกไปจีนได้ ได้แก่ ขนุนร่วมกับกาแฟโรบัสต้าในพื้นที่ๆมีความสูงเหมาะสม เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรอย่าวรวดเร็ว ตามนโยบายรัฐบาล “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้”โดยได้มอบหมายให้ นางสาวจงรัก อิ่มใจ ผอ.สวพ.เขต 1 เชียงใหม่ เลขานุการคณะทำงานใน MOU นี้ จัดทีมนักวิจัยมาให้คำแนะนำให้ครบวงจร

F834074B D2BC 4B03 BCA7 E7D04F469224 L0 001
กวก. จับมือ สวพส. สร้างความเข้มแข็งเกษตรกร ผลิตข้าวโพดและกาแฟบนพื้นที่สูง

นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตรจะสนับสนุนกิ่งพันธุ์มะคาเดเมียและต้นกล้าพันธุ์กาแฟอะราบิกาสายพันธุ์ใหม่เพิ่มเติม พร้อมกับสนับสนุนทางวิชาการในการป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าในอะโวกาโด ซึ่งเริ่มระบาดในสวนเกษตรกร โดยจะสนับสนุนนวัตกรรมการใช้ชีวภัณฑ์เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีพร้อมวิธีการดูแลรักษาเพื่อให้สามารถปลูกอะโวกาโด้คุณภาพดีและปริมาณผลผลิตสูง รวมถึงการเพิ่มปริมาณการดำเนินการตรวจรับรองมาตรฐาน GAP และเกษตรอินทรีย์

B6A6BD9B 8B0E 4F49 B6DB 063DD001F4A1 L0 001
กวก. จับมือ สวพส. สร้างความเข้มแข็งเกษตรกร ผลิตข้าวโพดและกาแฟบนพื้นที่สูง

“ในการลงพื้นที่ครั้งนี้คณะทำงานฯ ได้เชิญนายเอก สุวรรณโณ เกษตรกรและ Processor เจ้าของกาแฟ The first vallay academy ซึ่งมีประสบการณ์และสนับสนุนเมล็ดกาแฟให้กับผู้แข่งขันจนได้รับรางวัลอันดับ 9 ในการแข่งขันบาริสตาโลก ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ การผลิตและแปรรูปกาแฟคุณภาพและชิมให้คะแนนกาแฟที่เกษตรกรนำมาให้ชิมทดสอบเบื้องต้น ซึ่งผลการให้คะแนนเบื้องต้น ทั้ง 2 ราย มีระดับคะแนนระดับดีเยี่ยม ทั้งนี้ได้สร้างแรงบันดาลใจให้เกษตรกรที่ร่วมโครงการทั้ง 5 ราย ซึ่งจะสนับสนุนการสร้างคุณค่าและมูลค่ายกระดับเป้าหมาย “กาแฟไทย กาแฟระดับโลก” ได้รวดเร็วขึ้น  รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร  กล่าว

C155264B 3136 4536 98BF DA3B2CB1C9A4 L0 001
กวก. จับมือ สวพส. สร้างความเข้มแข็งเกษตรกร ผลิตข้าวโพดและกาแฟบนพื้นที่สูง