ก.เกษตรฯ ส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่กล้วยหอมทอง “พืชทางเลือก” โดยใช้แนวทาง “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” เตรียมขยายพื้นที่เพื่อรองรับความต้องการในอนาคต

621632
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ติดตามการดำเนินงานแปลงใหญ่วิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทอง B.K. 77 โดยมีนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ บ้านโพนแก้ว หมู่ที่ 10 ต.หนองหัวช้าง อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ ซึ่งวิสาหกิจชุมชนดังกล่าว มีพื้นที่ปลูก 164 ไร่ (1 ไร่ ต่อ 400 ต้น/หน่อ) มีรายได้สุทธิ 84,178 บาท/ไร่

621636
ก.เกษตรฯ ส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่กล้วยหอมทอง

       

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้มุ่งเน้นในเรื่อง “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” คือ 1) ตลาดนำ โดยการเอาความต้องการของตลาดเป็นที่ตั้ง ทำการเกษตรตามที่ตลาดต้องการ และมีการจัดทำ MOU กับคู่ค้าในการผลิตสินค้าให้ได้ตามเป้าหมาย 2) นวัตกรรมเสริมใช้นวัตกรรมกล้วยหอมทองพันธุ์ดี จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (ผลผลิตสูง ทนทานโรค และแมลง) การบริหารจัดการน้ำตามความต้องการของพืช การบริหารจัดการทรัพยากรดินในพื้นที่ไม่เหมาะสมตาม Agri-Map บริหารจัดการแปลงเกษตร เพื่อเพิ่มผลผลิต การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital DOAE) มาเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการเกี่ยวกับภัยพิบัติด้านการเกษตร นำนวัตกรรมเกษตรแม่นยำมาใช้ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลตอบแทนต่อไร่ให้สูงขึ้น โดยการใช้ระบบ Farming Control มาบริหารจัดการงานทุกขั้นตอนอย่างมีระบบ และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน 3)เพิ่มรายได้สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยกำหนดราคาขายได้ตามคุณภาพของผลผลิตเกษตร การพัฒนาระบบบริการหลังการขาย การรับประกันสินค้าเสียหาย การรับฟังความคิดเห็นเพื่อพัฒนาไปให้ตรงความต้องการของลูกค้าผ่าน www.homtong.sakura.ne.jp 4) ขับเคลื่อน BCG Model ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติคือ เกิดความสมดุลของระบบนิเวศ ไม่ทิ้งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมทางการเกษตร และ 5) เป็นจุดสาธิต เรียนรู้ และขยายผลให้เกษตรกรรายอื่นได้

621640
ก.เกษตรฯ ส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่กล้วยหอมทอง

       

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ ได้มีแผนในการขยายพื้นที่ปลูกกล้วยหอมทองเพิ่มขึ้นโดยการเชื่อมโยงเครือข่าย การสร้างโรงงานคัดแยกกล้วยหอมทองในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ การเพิ่มปริมาณการส่งออกไปยังต่างประเทศ เพิ่มช่องทางจำหน่ายตลาดโมเดิร์นเทรด และการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น การผลิตกระดาษ ภาชนะ เสื้อ โดยใช้เส้นใยจากต้นกล้วย เป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกับเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทองสานน้ำโขง อ.สร้างคอม จ.อุดรธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้

621641
ก.เกษตรฯ ส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่กล้วยหอมทอง

       

ทั้งนี้ ประเทศไทยมีแปลงใหญ่กล้วยหอมทอง จำนวน 33 แปลง พื้นที่ 16,417 ไร่ ปริมาณการผลิต จำนวน 74,182.45 ตันต่อปี มีการส่งออกไป 29 ประเทศ มูลค่า 485.36 ล้านบาท โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และลาว ตามลำดับ

621642
ก.เกษตรฯ ส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่กล้วยหอมทอง

       

“ปัจจุบันกล้วยหอมทองถือเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่มีความสำคัญ เนื่องจากกล้วยหอมทองมีความต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นจำนวนมาก สามารถสร้างมูลค่าให้กับประเทศไทย ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ พร้อมให้การสนับสนุนทั้งในเรื่ององค์ความรู้ ปัจจัยการผลิต การจัดทำมาตรฐาน GAP และเทคโนโลยี เป็นต้น” จึงมุ่งหวังให้พื้นที่จังหวัดบึงกาฬขยายจำนวนสมาชิกเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับความต้องการของตลาดในอนาคตต่อไป” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว

621645
ก.เกษตรฯ ส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่กล้วยหอมทอง
621646
ก.เกษตรฯ ส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่กล้วยหอมทอง