ความสำเร็จการส่งเสริมการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจในเขตปฏิรูปที่ดิน ‘แผ่นดินทองคำ เกษตรกรรมยกระดับคุณภาพชีวิต : ALRO Next Step’

“แมลง” หลายชนิดในประเทศไทย เป็นแหล่งอาหารโปรตีนสูง จนขึ้นชื่อว่าเป็นซุปเปอร์ฟู้ด เมื่อหลายประเทศทั่วโลกกำลังเข้าสู่ภาวะขาดแคลนอาหาร ขณะที่จำนวนประชากรโลก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆจากปัจจุบันประชากรโลกอยู่ที่ 7,700 ล้านคน The World Population Prospects 2019 คาดการณ์ว่าประชากรโลกจะเพิ่มเป็น 9,700 ล้านคนในปี 2050 และ อาจเพิ่มเป็น 11,000 ล้านคนในปี 2,100 จึงกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้การขาดแคลนอาหารรุนแรงขึ้น 

การมองหาอาหารที่เป็นทางเลือก และให้คุณค่าทางอาหารสูง จึงเป็นสิ่งที่หลายประเทศเริ่มสนใจ โดยเฉพาะ การบริโภคแมลง อย่างจิ้งหรีด ด้วง หรือ หนอนไหม เพราะล้วนแต่เป็นแมลงที่ให้โปรตีนสูงอนาคตอาจจะกลายเป็นอาหารทางเลือกที่โดดเด่นก็เป็นได้ 

423F1FBB 8F87 419D 9D6D BCB893B5AA00 scaled

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการส่งเสริมการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ มีการส่งเสริมตลอดสายการผลิตตั้งแต่เรื่องของการออกเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สำหรับฟาร์มจิ้งหรีด เพื่อกำหนดแนวปฏิบัติระบบการเลี้ยงที่มีมาตรฐานแล้ว การคัดเลือกสายพันธุ์ของแมลงต่าง ๆ ยกตัวอย่างจิ้งหรีด ก็มีการส่งเสริมให้มีการวิจัย เพื่อจะเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสม มีคุณภาพดี โปรตีนสูง ซึ่งตลาดส่งออก โดยเฉพาะประเทศในสหภาพยุโรป (EU) มีความต้องการผลิตภัณฑ์ “จิ้งหรีด”ของไทย และเป็นที่ยอมรับจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) 

C9134AA6 0366 4C86 A252 7E091F31C694 scaled

เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูง กระบวนการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้า อาทิ Snack food รสชาติต่าง ๆ ทั้งรสต้มยำ รสวาซาบิ และจิ้งหรีดชนิดโปรตีนผงเพื่อนำไปแปรรูปเป็นเค้ก และคุกกี้ แต่การส่งออกสินค้าแมลงจากไทยไปสหภาพยุโรป ต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดเงื่อนไข โดยเฉพาะมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี(GAP) เกษตรกรที่สนใจตลาดส่งออกต้องเข้าสู่ระบบ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญปัจจุบัน

2F7119E9 5B52 4E8C 8D68 6727075B6154 scaled

ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการส.ป.ก. เปิดเผยว่า สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.) เป็นหน่วยงานในการจัดที่ดิน การพัฒนาพื้นที่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการพัฒนาส่งเสริมอาชีพของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ให้สามารถมีรายได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีการส่งเสริมการเลี้ยงจิ้งหรีด และแปรรูป ภายใต้แผนปฏิบัติราชการ 5 ปี (วาระแรก 3 ปี พ.ศ. 2563-2565) ซึ่งสอดคล้องกับแผนระดับต่าง ๆ โดยได้บรรจุการดำเนินงานด้านการพัฒนาอาชีพและรายได้ เพื่อให้เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และประกอบอาชีพเกษตรกรรมในพื้นที่ ส.ป.ก. ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

“การเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจเป็นนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการส่งเสริมแมลงเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นช่องทางในการเพิ่มรายได้ให้พี่น้องเกษตรกร ส่วนหนึ่งก็จะมีประโยชน์ ในการลดภาวะมลพิษของโลกด้วย แมลงเศรษฐกิจที่เราเข้ามาดูก็จะมีทั้งผึ้ง ทั้งชันโรง ทั้งไหม ทั้งจิ้งหรีด แล้วก็ครั่งหรืออื่น ๆ ที่สามารถจะเข้ามาเป็นตัวเพิ่มรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกรได้ 

ขณะนี้เมืองไทยมีฟาร์มมากถึงประมาณ 20,000 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกษตรกรนิยมเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมเนื่องจากใช้พื้นที่น้อย เลี้ยงง่าย  ใช้น้ำน้อย ใช้เงินลงทุนต่ำสามารถเลี้ยงได้ทุกเพศทุกวัยทั้งเด็กและผู้สูงอายุ โดยจิ้งหรีดที่นิยมเลี้ยงเชิงพาณิชย์มี 3 สายพันธุ์ คือสะดิ้ง ทองดำ ทองแดง  มีกำลังการผลิตสูงถึง 7,500 ตันต่อปี แหล่งจำหน่ายใหญ่ คือ ตลาดโรงเกลือ และส่งโรงงานแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ของการผลิตสินค้า”

5E16E1CD 94E6 42A7 BA9D F50F1BB14A98 scaled

เลขาธิการ ส.ป.ก.กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของส.ป.ก.เองเรารับนโยบายและมาส่งเสริมมีหลายๆประเภทในพื้นที่ของเรา เป็นการส่งเสริมในกลุ่มเกษตรกรที่มีความสนใจในการเลี้ยง เช่น จิ้งหรีดมีค่อนข้างหลากหลายในแต่ละพื้นที่ อย่างตัว “ไหม”ในพื้นที่ คทช.ของจังหวัดอุทัยธานี ก็มีแปลงรวมส่วนหนึ่งที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม โดยจะส่งตัวของสินค้าไปผลิตเป็นผ้าไหม และสามารถนำมาต่อยอดเรื่องของอาหาร เป็นสิ่งที่เราเข้าไปส่งเสริม ส.ป.ก.เราดูความพร้อมของพี่น้องเกษตรกร เรามีภารกิจ ในการพัฒนาส่งเสริมอาชีพเกษตรกรอยู่แล้ว และเรามีงบประมาณในการขับเคลื่อนในกลุ่มของแมลงเศรษฐกิจ”

การส่งเสริมแมลงเศรษฐกิจในเขตปฏิรูปที่ดิน เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรเพื่อให้เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป็น ‘แผ่นดินทองคำ เกษตรกรรมยกระดับคุณภาพชีวิต : ALRO Next Step’ อย่างที่ส.ป.ก.มุ่งหวังต่อไป