เกษตรฯใช้กลไกยกระดับ ”แปลงใหญ่” ขับเคลื่อนการผลิต”ทุเรียนนนท์”

.เกษตรฯใช้กลไกแปลงใหญ่ ขับเคลื่อนการผลิตทุเรียนนนท์ สร้างความเข้มแข็ง เกิดจุดเรียนรู้ในพื้นที่ต่อยอดสู่เกษตรกรรายอื่น พร้อมส่งเสริมให้พื้นที่จังหวัดนนทบุรีมีการปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้น ให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภค

     ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเยี่ยมเยียนสวนเกษตรกรพร้อมตัดทุเรียนนนท์ ณ สวนยายละมัย ตำบลบางกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายการทำงานปี 2565 ในการวางรากฐานการพัฒนาภาคการเกษตรให้สอดรับกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อยกระดับภาคการเกษตรในยุค Next Normal ทั้งการผลิตที่ต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลักดันการแปรรูปเกษตรมูลค่าสูง ใช้การตลาดสมัยใหม่ หรือการตลาด 5.0 ผลักดันให้ไทยเป็น 1 ใน 7 ประเทศสำคัญของผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป มูลค่าสูงของโลกภายในปี 2580 จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนายกระดับสินค้าเกษตรด้วยโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด ซึ่งจังหวัดนนทบุรีมีกลุ่มแปลงใหญ่อยู่หลายกลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีจุดเด่นแตกต่างกันไป 

A22E1E62 314F 475B 881D CD9AA7D65942

     ตัวอย่างที่น่าสนใจ เช่น ที่สวนทุเรียนยายละมัย ซึ่งเป็นสมาชิกแปลงใหญ่ทุเรียนอำเภอเมืองนนทบุรีได้ดำเนินการร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตรในการนำเอาองค์ความรู้การปลุกทุเรียนแบบชาวสวนนนทบุรีดั้งเดิมมาใช้ผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการปลูกทุเรียน พร้อมทั้งนำไปเป็นแบบอย่างต่อยอดพัฒนาให้กับกลุ่มแปลงใหญ่อื่น ๆ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายแปลงใหญ่ที่เข้มแข็ง เป็นพลังในการปฏิรูปภาคการเกษตรที่ทันสมัย ทันสถานการณ์ และทันต่อการเปลี่ยนแปลง

2E4F1C41 441E 4E78 8517 679107B2CE4D

      “วันนี้ต้องการมาประชาสัมพันธ์ว่าทุเรียนของไทยมีอยู่หลากหลายพื้นที่ และทุเรียนนนทบุรีเป็นทุเรียนพันธุ์ดั้งเดิมของไทย จึงอยากเชิญชวนให้พี่น้องประชาชนคนไทยมาบริโภคทุเรียน อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ จะเข้ามาส่งเสริมให้พื้นที่จังหวัดนนทบุรีมีการปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้น เพราะปัจจุบันมีปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งทุเรียนเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนต่อไร่สูงที่สุด โดยถือเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ แม้จะอยู่ในสถานการณ์โควิด-19 แต่มีมูลค่าส่งออกกว่าแสนล้านบาท ซึ่งภาคการเกษตรเป็นภาคที่ช่วยผยุง GDP ของประเทศ จึงอยากให้เกษตรกรภาคภูมิใจที่เป็นส่วนช่วยให้เศรษฐกิจไทยยังคงเดินไปข้างหน้าได้ และเชื่อมั่นว่าภายใน 2 – 3 ปีข้างหน้า มูลค่าการส่งออกทุเรียนจะสามารถเป็นอันดับ 1 ของประเทศ เนื่องจากมีผลผลิตออกมาอย่างต่อเนื่องและมีมาตรการบริหารจัดการที่ชัดเจน จึงอยากขอให้เกษตรกรยังคงรักษาคุณภาพและมาตรฐาน เพื่อให้ได้ทุเรียนที่มีคุณภาพออกมาให้ผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้บริโภคกันต่อไป” ดร.เฉลิมชัย กล่าว

18FF9241 CC24 4A2D A541 F16A978955FB

      ด้านนาย นวนิตย์ พลเคน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรใช้ระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่เป็นกลไกขับเคลื่อนหลักในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี มุ่งเน้นการรวมกลุ่มของเกษตรกรรายย่อย เพื่อรวมกันผลิต รวมกันจำหน่าย และบริหารจัดการร่วมกัน ส่งผลให้มีแปลงใหญ่ทุเรียนจำนวน 5 แปลง ในพื้นที่ 4 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองนนทบุรี 1 แปลง อำเภอบางใหญ่ 1 แปลง อำเภอบางกรวย 1 แปลง และอำเภอปากเกร็ด 2 แปลง สำหรับสวนทุเรียนยายละมัย เป็นสมาชิกแปลงใหญ่อำเภอเมืองนนทบุรี โดยมีนายสำเริง สุนทรแสง เป็นเจ้าของสวน ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการแปลงใหญ่ทุเรียนอำเภอเมืองนนทบุรี และศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอเมืองนนทบุรี ด้านไม้ผล (ทุเรียน) รวมทั้งเป็นประธานขับเคลื่อนการรวมกลุ่มแปลงใหญ่อย่างเข้มแข็ง และเป็นจุดเรียนรู้ด้านการปลูกทุเรียนในพื้นที่ เพื่อให้เกษตรกรที่สนใจและเข้ามาศึกษาเรียนรู้ได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเองต่อไป

D730CAE4 DF0A 41CD 934F D9CBC09037EF

    ทั้งนี้ จังหวัดนนทบุรี มีพื้นที่การเกษตรทั้งหมด 107,938.72 ไร่ เกษตรกร 12,159 ครัวเรือน มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว 88,804 ไร่ ไม้ผล 10,415.97 ไร่ ไม้ดอกไม้ประดับ 4,195.23 ไร่ และผัก2,887.19 ไร่ ซึ่งทุเรียนเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและมีชื่อเสียงของจังหวัดและมีหลากหลายสายพันธุ์ เช่นหมอนทอง ก้านยาว ชะนี กระดุม กำปั่น สาวน้อย กบ เป็นต้น 

    เมื่อปี 2553 พื้นที่ปลุกทุเรียนในจังหวัดนนทบุรีมีมากถึง 3,475 ไร่ แต่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัยในปี 2554 ทำให้พื้นที่การเกษตรเสียหาย เหลือพื้นที่ปลูกทุเรียนเพียงแค่ 43 ไร่ ส่งผลให้ผลผลิตทุเรียนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ปัจจุบันเกษตรกรมีการปลูกและฟื้นฟูสวนใหม่ ทำให้พื้นที่ปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 2,280 ไร่ เกษตรกร 1,162 ครัวเรือน พื้นที่เก็บเกี่ยว 112.95 ไร่ ปริมาณผลผลิต 9,110 ลูกผลผลิตเฉลี่ย 119.85 กิโลกรัม/ไร่ ในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนนทบุรี 5,976 ลูก อำเภอบางใหญ่1,744 ลูก อำเภอบางกรวย 810 ลูก อำเภอปากเกร็ด 555 ลูก อำเภอบางบัวทอง 23 ลูก และอำเภอไทรน้อย 2 ลูก โดยผลผลิตจะออกมากที่สุดในช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน ของทุกปี