เกษตรกรท่าหลวง จ.ลพบุรี พลิกจิ้งหรีดสร้างรายได้ยั่งยืน กรมส่งเสริมการเกษตร ชู แมลงเศรษฐกิจโลก

นางดวงสมร พฤฑฒิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท นำคณะสื่อมวลชนร่วมลงพื้นที่ศึกษาดูงาน และทำข่าวประชาสัมพันธ์ การดำเนินงานของกลุ่มแปลงใหญ่จิ้งหรีด ตำบลท่าหลวง โดยมีนางกานติมา อินทร์ประเสริฐ ประธานกลุ่มแปลงใหญ่จิ้งหรีด และสมาชิก ให้การต้อนรับ ณ กลุ่มแปลงใหญ่จิ้งหรีด ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี 

%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%94
เกษตรกรท่าหลวง พลิกจิ้งหรีดสร้างรายได้ยั่งยืน

นางดวงสมร กล่าวว่า ระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ เป็นนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่บูรณาการหน่วยงานต่างๆ ในการสนับสนุนและส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรกรให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตร และเพิ่มรายได้ของเกษตรกร โดยการรวมกลุ่มเป็นแปลงใหญ่ ซึ่งมีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหน่วยงานหลัก และสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท ขับเคลื่อนการดำเนินงานแปลงใหญ่ในระดับภูมิภาค โดยมีบทบาทในการส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มและบริหารจัดการร่วมกัน เพื่อให้เกิดการรวมกันผลิตและรวมกันจำหน่าย โดยมีตลาดรองรับที่แน่นอน สามารถลดต้นทุนการผลิตและมีผลผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้น รวมทั้งผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐานตรงกับความต้องการของตลาด ภายใต้การบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนขณะเดียวกันกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิตแมลง “ฮับแมลงโลก” รับเทรนด์อุตสาหกรรมอาหารใหม่ (Novel Food) เพื่อสอดรับแนวทางขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ที่ประกาศให้ “แมลงเป็นแหล่งอาหารในอนาคตของโลก”

%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%94 2 2
เกษตรกรท่าหลวง  พลิกจิ้งหรีดสร้างรายได้ยั่งยืน

นางกานติมา กล่าวต่อไปว่า สำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี และสำนักงานเกษตรอำเภอท่าหลวง ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้รวมกลุ่มเป็นแปลงใหญ่ มีการบริหารจัดการภายในกลุ่มอย่างเป็นระบบ ถ่ายทอดความรู้ในด้านการเพาะเลี้ยง การพัฒนาคุณภาพ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการเลี้ยงจิ้งหรีดให้ได้มาตรฐาน เน้นลดต้นทุนการใช้อาหารสำเร็จรูปโดยเพิ่มการใช้พืชผัก พืชไร่ ไม้ผลในท้องถิ่น มีการวางแผนการผลิตร่วมกันเพื่อให้มีสินค้าส่งจำหน่ายตลอดทั้งปี ซึ่งสายพันธุ์จิ้งหรีดที่กลุ่มเลี้ยงจะเป็นจิ้งหรีดพันธุ์ทองแดง หรือ “จิ้งโกร่ง” ปัจจุบันมีสมาชิก 31 ราย มีพื้นที่เลี้ยงประมาณ 1,070 บ่อ ซึ่งผลผลิตจิ้งหรีดเฉลี่ยบ่อละ 30 กิโลกรัม/รอบ ผลิตได้ 6 รอบ/ปี สามารถผลิตจิ้งหรีดได้ประมาณ 193 ตัน/ปี ทำให้มีเงินหมุนเวียนในชุมชน สร้างรายได้ให้สมาชิก ปีละกว่า 32 ล้านบาท

%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%94 3
เกษตรกรท่าหลวง พลิกจิ้งหรีดสร้างรายได้ยั่งยืน

“อีกทั้ง สินค้าหลักของแปลงใหญ่ ได้แก่ จิ้งหรีดตัวสด ผ่านการเลี้ยงที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มจิ้งหรีด (GAP) ซึ่งมีห้องเย็นสำหรับเก็บจิ้งหรีดได้มากถึง 40 ตัน ส่งขายตลาดภายในประเทศ มีคำสั่งซื้อจากลูกค้าประจำ นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากจิ้งหรีด ได้แก่ จิ้งหรีดทอดกรอบ ซึ่งโรงงานผลิตได้รับมาตรฐาน GMP และสินค้าได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ส่งขายตามร้านของฝาก ตลาดเกษตรกรออนไลน์ของกรมส่งเสริมการเกษตร Lazada Shopee และส่งตลาดต่างประเทศ ได้แก่ ลาว และกัมพูชา โดยที่ผ่านมากลุ่มแปลงใหญ่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการเกษตร ในโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด จัดซื้อเครื่องมือเครื่องจักร อาทิ แผงโซล่าเซลล์ เครื่องอบขนม เครื่องบรรจุภัณฑ์ และเครื่องซีลสูญญากาศ เป็นต้น ซึ่งช่วยให้กลุ่มแปลงใหญ่ลดต้นทุนการผลิตและมีการพัฒนาด้านการแปรรูปจิ้งหรีดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น” นางกานติมา กล่าว

%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%94 4
เกษตรกรท่าหลวง  พลิกจิ้งหรีดสร้างรายได้ยั่งยืน

อย่างไรก็ตามนับได้ว่ากลุ่มแปลงใหญ่จิ้งหรีดตำบลท่าหลวง อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี เป็นเกษตรกรอีกกลุ่มหนึ่งที่ประสบความสำเร็จ จากการรวมตัวกันเป็นแปลงใหญ่เพื่อหารายได้จากอาชีพเสริม ที่มีพื้นที่เพียงเล็กน้อย สู่อาชีพหลัก ที่สร้างรายได้อย่างงดงาม และพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน