กรมวิทย์ฯเตรียมแจก ”Test Kann” ตรวจกัญชา 15,000 ชุดฟรี พร้อมย้ำผลตรวจยังไม่สามารถอ้างอิงทางคดีได้

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เตรียมแจกชุดตรวจกัญชา “Test Kann” 15,000ชุดฟรี เพื่อเป็นเครื่องมือในการตรวจหาสารสกัดกัญชา ซึ่งตรวจได้เฉพาะน้ำมันกัญชาหรือสารสกัดเท่านั้น และไม่สามารถนำไปผลตรวจไปดำเนินการทางคดีได้

นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมด้วยนายแพทย์พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และคณะผู้บริหารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดตัวการพัฒนาชุดตรวจกัญชา “Test Kann (เทส กัญ)”  

A30A7FD0 FC6F 4E0F 889B C7F38D0C6912

โดยระบุว่า ชุดตรวจนี้เป็นการตรวจเอกลักษณ์และปริมาณสารสำคัญในพืชกัญชา ช่อดอก สารสกัดกัญชา ยาน้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้น อาหารและเครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของกัญชากัญชง การตรวจวิเคราะห์กัญชาในพลาสมา รวมทั้งการพัฒนาชุดทดสอบกัญชา เพื่อผู้ประกอบการหรือประชาชนทั่วไป ได้นำไปใช้ทดสอบสารสกัดกัญชาหรือน้ำมันกัญชาเบื้องต้นว่ามีปริมาณสาร THC เกิน 0.2% หรือไม่ หากผลทดสอบเกิน0.2% (ผลบวก) ต้องส่งยืนยันผลทางห้องปฏิบัติการอีกครั้ง ถ้าผลทางห้องปฏิบัติการพบสาร THC เกิน0.2% ถือเป็นยาเสพติดให้โทษ 

9E1B0B94 905C 46A7 8326 1A8458C3F3C4

สำหรับการพัฒนาชุดตรวจกัญชา Test Kann(เทส กัญ)สามารถตรวจสารเตตราไฮโดรแคนาบินอล (Tetrahydrocannabinol) หรือ THC ในสารสกัดกัญชาและน้ำมันกัญชา ลักษณะการตรวจเป็นชุดทดสอบเบื้องต้น โดยใช้เทคนิคอิมมูโนโครมาโทกราฟิ (Immunochromatography) หรือ IC ซึ่งอาศัยหลักการจับกันระหว่างแอนติบอดี้และแอนติเจนแบบแข่งขัน (Competitive immunoassay) วิธีใช้สะดวก รวดเร็วทราบผลภายใน 15 นาที มีประสิทธิภาพและใช้ในภาคสนามได้ มีความไวในการตรวจวัดสารTHC ที่ความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร(mg/m/ (0.2%) ผลการทดสอบจะต้องปรากฎแถบสีม่วงที่บริเวณตำแหน่ง C ทุกครั้ง จึงสามารถอ่านผลได้

F6044BA3 1CEC 460D B1FE D209AB22021D

สำหรับการแปลผล หากผลบวกจะปรากฏแถบสีม่วงแดงเพียง 1 ขีด บริเวณตำแหน่ง C ที่ตลับชุดทดสอบแสดงว่า มี THC ทดสอบเกิน 0.2%

หากเป็นผลลบ จะปรากฏแถบสีม่วงแดง 2 ขีด บริเวณตำแหน่ง (และ T ที่ตลับชุดทดสอบ โดยความเข้มสีอาจจะเข้มหรือจางกว่าตำแหน่ง C ก็ได้) แสดงว่ามี THC ในตัวอย่างที่ทดสอบไม่เกิน 0.2%

08C5062D E40E 4E78 A6B2 B294CA0617E4
BEB34CEE CF53 47CE 8CBD F999AD40CE70

ทั้งนี้ชุดทดสอบดังกล่าว เป็นการตรวจเบื้องต้น (Screening test) เท่านั้น ไม่สามารถนำไปผลไปดำเนินการทางคดีได้ โดยกรมจะผลิตจำนวน 15,000 ชุดเพื่อแจกจ่ายฟรี ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะแจกจ่ายให้กลุ่มใดและเริ่มเมื่อไหร่ นอกจากนี้ ยังพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับภาคเอกชนที่สนใจนำไปผลิตจำหน่าย ซึ่งราคาต้นทุนที่กรมวิทยฯดำเนินการอยู่ที่ราว 100 บาทต่อเทสต์