แปรวิกฤตเป็นโอกาสดันไทยเป็น”มหาอำนาจอาหารโลก” พัฒนาศักยภาพประมงครบวงจร-แปรรูปสินค้าประมงสู่เกษตรมูลค่าสูง

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคในฐานะประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทยได้รับมอบหมายจาก ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธานเปิดการประชุมหารือแนวทางการ “พัฒนาประมงไทย”และรับฟังความคิดเห็นของชาวประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ที่มีต่อมาตรา 57 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ 2558

โดยมีนายเสถียร เจริญเหรียญ ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายสราวุธ ลิ้มอรุณรักษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ให้การต้อนรับโดยมีผู้เข้าร่วมชี้แจงและแสดงความคิดเห็นได้แก่ นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง

S 9093160
ดันไทยสู่มหาอำนาจอาหารโลก

พร้อมด้วยนายมานพ หนูสอน ผู้ตรวจราชการกรมประมง ว่าที่ร้อยตรีสมนึก พรหมศร ประมงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายพัฒนพงษ์ ชูแสง ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการทรัพยากรและกำหนดมาตรการ นายวิรัตน์ สนิทมัจโร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ นายยานยนต์ สราญรมย์ หัวหน้ากลุ่มกฎหมายและระเบียบ กองกฎหมายกรมประมงและหน่วยงานสังกัดกรมประมงในพื้นที่ นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานและคณะกรรมการบริหารสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย นายประเสริฐ แตกช่อ นายกสมาคมประมงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และนายกสมาคมประมงพื้นบ้าน 8 อำเภอจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แกนนำสมาคมประมงพื้นบ้านและสมาคมประมงพาณิชย์จังหวัดต่าง ๆ

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า ท่ามกลางวิกฤตโควิด 19 ปัญหาโลกร้อนและผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนก่อให้เกิดปัญหา “ความมั่นคงทางอาหาร” และภาวะความอดอยากที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก ขณะที่ประเทศผู้ผลิตและส่งออกอาหารชั้นนำของโลกในสหภาพยุโรป อังกฤษและสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ราคาอาหารแพงขึ้น อัตราเงินเฟ้อทะยานสูงมากและเริ่มสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกอาหาร

จึงเป็นโอกาสทองของประเทศไทยในฐานะเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารอันดับ 12ของโลกที่พร้อมก้าวขึ้นเป็นประเทศมหาอำนาจทาง “อาหารของโลก “เพราะเรามีศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรทั้ง 3 ฐานของภาคเกษตรคือพืช ปศุสัตว์และประมงตลอดจนขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมและภาคการค้าพาณิชย์ โดยเฉพาะการปฏิรูปการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรและอาหารตลอด 3 ปีที่ผ่านมา

โดยกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ดูแลจึงสามารถผนึกการทำงานของ2กระทรวงร่วมกันผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดภายใต้ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตสามารถส่งออกสินค้าอาหารจนเป็นพระเอกของการส่งออกในภาพรวมปี2564ซึ่งขยายตัวกว่า 17 % เกินเป้าหมาย 4 เท่าตัวสร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 8.5 ล้านล้านบาทเป็นผลมาจากการทำงานเชิงรุกผนึกบูรณาการทุกภาคส่วนโดยเฉพาะกระทรวงเกษตรฯได้จับมือทำงานอย่างใกล้ชิดกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในการส่งเสริมต่อยอดการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มสู่เกษตรมูลค่าสูงโดยส่งเสริมเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเกษตร(Agroindustry Economic Zone)ใน18กลุ่มจังหวัดครอบคลุม77จังหวัด

รวมทั้งการสร้างฐาน “อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าประมง” ทั้ง4สาขา ได้แก่ ประมงพื้นบ้าน ประมงพาณิชย์ ประมงนอกน่านน้ำและประมงเพาะเลี้ยงซึ่งดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ มอบหมายกรมประมงจัดตั้งและสนับสนุนความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น2,600องค์กร สมาคมประมงพื้นบ้านทุกจังหวัด สมาคมสมาพันธ์ประมงพื้นบ้าน สมาคมประมงพาณิชย์ สมาคมประมงนอกน่านน้ำและสมาคมประมงเพาะเลี้ยงโดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายและกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและภูมิภาค ตลอดจนการร่วมกันฟื้นฟูและพัฒนาทะเลไทยซึ่งเสมือนหม้อข้าวหม้อแกงของชาวประมงทุกคน

รวมทั้งการปฏิรูปกฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ ให้ทันสมัยถูกหลักนิติรัฐ นิติธรรมและเป็นไปตามพันธะกรณีระหว่างประเทศ เช่น มาตรฐานไอยูยู(IUU) การเจรจากับอียูและประเทศคู่ค้าต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความร่วมมือเชิงสร้างสรรค์บนความเสมอภาคและมิตรภาพ

วันนี้ประเทศไทยผลิตสินค้าเกษตรและส่งออกอาหารอยู่ในลำดับท็อปไฟว์ของโลกเช่น ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง อ้อยน้ำตาล ทูน่ากระป๋อง สัปปะรดกระป๋อง ทุเรียน ฯลฯและส่งออกอาหารอันดับ 12 ของโลก ประเทศไทยมีศักยภาพสูงมากที่จะก้าวขึ้นเป็น “มหาอำนาจทางอาหารของโลก”

ทางด้านนายมงคล สุขเจริญคณา ประธานและคณะกรรมการบริหารสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย นายประเสริฐ แตกช่อ นายกสมาคมประมงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สมาคมประมงจังหวัดต่างๆแสดงท่าทีสนับสนุนวิสัยทัศน์และนโยบายดังกล่าวพร้อมกับยืนยันจะสนับสนุนให้กลับมาเป็นรัฐบาลสมัยหน้าเพื่อร่วมกันพัฒนาการประมงไทยให้กลับมาเข้มแข็งเป็นประเทศผู้นำโลกด้านอาหารทะเล

ด้านนายประทีป อบเชย นายกสมาคมประมงพื้นบ้านประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วย รองนายกสมาคมฯ ทั้ง 8 อำเภอ เข้าร่วมเวที รับฟังความคิดเห็น เรื่องการกำหนดสัตว์น้ำขนาดเล็ก ของ พ.ร.ก.การประมง 2558 และ 2560 มาตรา 57  โดยเสนอแก้ไข พ.ร.ก. ประมง2558 และแขวนมาตรา57 ตลอดจนแก้ประกาศ ม.71 โดยให้เหตุผลว่า พ.ร.ก.ประมงปี2558กระทบประมงพื้นบ้านขัดบริบทประมงวิถีไทย