กรมส่งเสริมการเกษตร ดัน “เกษตรผสมผสาน” หลักการผลิตพืชที่ถูกต้องและเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ สู่การพัฒนาอาชีพการเกษตรบนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน

กรมส่งเสริมการเกษตร สนองงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริบนพื้นที่สูงภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ได้ส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรให้กับเกษตรกรชาวไทยภูเขา เพื่อให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีความยั่งยืนในการประกอบอาชีพการเกษตร ส่งผลให้เกษตรกรสามารถนำความรู้ด้านการผลิตพืชบนพื้นที่สูงมาปรับใช้ในการทำการเกษตร ทำให้มีอาหารบริโภคในครัวเรือนอย่างเพียงพอ

01 %E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%AA.%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C %E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%B2

นายครองศักดิ์ สงรักษา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้ร่วมบูรณาการขับเคลื่อนและสนับสนุนการดำเนินงานโครงการหลวง โดยศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร (เกษตรที่สูง) จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร (เกษตรที่สูง) จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน พะเยา ตาก กาญจนบุรี และจังหวัดเลย เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนระดับภูมิภาคของกรมส่งเสริมการเกษตร

02 %E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%9C%E0%B8%A5

“ซึ่ง 10 ปีที่ผ่านมา ได้ส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรให้กับเกษตรกรชาวไทยภูเขา โดยถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตด้านการเกษตรที่เหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่ และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้ได้มาตรฐาน จำนวน 68,750 ราย ส่งเสริมการปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นเมืองหนาว/พืชผักเมืองหนาว/เกษตรผสมผสาน จำนวน 9,091 ไร่ ส่งเสริมการปลูกไม้ดอกเมืองหนาว จำนวน 104 ไร่ ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร จำนวน 556 กลุ่ม และส่งเสริมการสร้างเกษตรกรต้นแบบ จำนวน 264 ราย ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมการเกษตร มีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ โดยมีการผลิตพืชที่ถูกต้องและเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่นั้น การนำเอาองค์ความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในพื้นที่เกษตรของตนเอง ทำให้เกษตรกรมีอาหารบริโภคในครัวเรือน และส่วนที่เหลือจากการบริโภคสามารถนำไปจำหน่าย ทำให้สามารถลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้จากการทำการเกษตร มีแปลงไม้ผลไม้ยืนต้น/ไม้ดอก/พืชผักเมืองหนาว และพืชสมุนไพรในพื้นที่ ซึ่งเป็นแหล่งกระจายพืชพันธุ์ดี มีเกษตรกรต้นแบบในการขยายผลไปสู่ชุมชน รวมทั้งเกษตรกรมีทัศนคติที่ดีในการร่วมฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรับระบบการทำการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มพื้นที่สีเขียวในการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน”

03 %E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99

ทางด้าน นายหม่อคา กมลลักษณ์พงศ์ เกษตรกรต้นแบบ “เกษตรผสมผสาน” กล่าวว่า เดิมครอบครัวทำการเกษตรเชิงเดี่ยวมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ และช่วยพ่อแม่ทำการเกษตรมาตั้งแต่สมัยเด็ก ต่อมาได้รับเลือกให้เป็นผู้นำชุมชน จึงมีโอกาสได้รับการส่งเสริมการเกษตร ร่วมอบรมและศึกษาดูงานการทำเกษตรหลากหลายรูปแบบ และได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับศักยภาพพื้นที่ของตนเอง ภายใต้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตและการทำการเกษตร ปรับรูปแบบการผลิตจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เป็นการทำเกษตรแบบผสมผสาน เน้นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

04

“โดยเริ่มจากการปลูกพืชผัก กล้วย เกิดผลลัพธ์เป็นอาหารไว้บริโภคในครัวเรือน คือ ข้าวและพืชผักที่ปลูกหมุนเวียนกัน รวมทั้งปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดินและได้จำหน่ายกล้าหญ้าแฝกให้กรมพัฒนาที่ดิน รวมรายได้เฉลี่ย 150,000 บาทต่อปี (ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมดในภาพรวมเกือบเท่าตัว) จากการจำหน่าย ข้าว พืชผัก กล้วย ถั่วแดง ถั่วดำ และสุกร รวมถึงการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนภายในแปลง โดยมีการทำปุ๋ยหมักจากกากถั่วแดง และนำมูลขี้ไก่ที่เลี้ยงไว้ มาใช้ในแปลงข้าว แปลงพืชผัก และการใช้แหนแดงเป็นอาหารสุกรและปลา ส่งผลให้ลดต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 6,000 บาทต่อปี และได้รับคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรต้นแบบ ปี พ.ศ. 2564 เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรหรือผู้สนใจ มีจุดเรียนรู้การขยายพันธุ์อะโวคาโดโดยการเสียบยอด การปลูกพืชแบบผสมสาน การเลี้ยงแหนแดง และการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ ทั้งนี้ ในอนาคตได้วางแผนจะขยายการผลิตแหนแดง เพื่อเป็นอาหารปลา สุกร และใช้ทำปุ๋ยชีวภาพ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการปั๊มน้ำในพื้นที่การเกษตร การเพิ่มพื้นที่การปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน และทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น”

05
06 %E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%81 %E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1
07 %E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%81.%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1 1
09 %E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%B2
08 %E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B