เกษตรยโสธรร่วมกับเกษตรอำเภอค้อวัง ส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อยสร้างรายได้ช่วงฤดูแล้ง

S 5963891

วันที่ 6 มี.ค.67 ที่แปลงเกษตรกรบ้านสังข์ ตำบลกุดน้ำใส อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร เกษตรกรได้ปลูกพืชใช้น้ำน้อย (ถั่วลิสง) ทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง โดยพื้นที่ปลูกถั่วลิสงจำนวน 324 ไร่ ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธรร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอค้อวัง ได้ส่งเสริมสนับสนุนการปลูกพืชใช้น้ำน้อย และมีการบูรณาการร่วมกับโครงการการพัฒนาด้านเกษตร ปี 2567 จังหวัดยโสธรกิจกรรมส่งเสริมการปลูกพืชอินทรีย์หลังฤดูทำนา และโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน งบพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 จังหวัดยโสธร

S 5963893

โดยเจ้าหน้าที่นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรมุ่งเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตร ระบบการผลิต และการบริหารจัดการสินค้าเกษตร ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ลดการใช้น้ำในการทำนาปรัง และลดความเสี่ยงผลผลิตสินค้าเกษตรเสียหายจากสภาพอากาศแห้งแล้ง โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ จะได้เรียนรู้การบริหารจัดการการผลิตพืชทั้งระบบ การวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตลอดจนบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อยทดแทนการทำนาปรังได้ สร้างรายได้เพิ่มขึ้นในอาชีพเกษตรกร

S 5963894

นายถวิล เศษบุบผา เกษตรอำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร กล่าวว่า อำเภอค้อวังมีการทำนาปรังเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะตำบลกุดน้ำใสและตำบลฟ้าห่วน และบางปีมีน้ำไม่เพียงพอต่อการเกษตร จึงได้เสนอพืชทางเลือก เป็นพืชใช้น้ำน้อย ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง ด้วยพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวน้อยกว่า 120 วัน เช่น แตงโม ถั่วลิสง ถั่วเขียว และพืชผักต่าง ๆ เนื่องจากเป็นพืชที่ต้องการใช้น้ำต่อรอบฤดูปลูกน้อย มีตลาดรองรับ และสร้างกำไรให้แก่เกษตรกรได้เป็นอย่างดี โดยพืชใช้น้ำน้อยจะปลูกในพื้นที่นาหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้ว (ช่วงเดือน พฤศจิกายน – เมษายน) ซึ่งการปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนการทำนาปรัง โดยโดยตำบลกุดน้ำใสมีพื้นที่ปลูกถั่วลิสงจำนวน 324 ไร่ ตำบลฟ้าห่วนมีพื้นที่ปลูกถั่วลิสงจำนวน 220 ไร่

S 5963895

โดยมีตลาดรองรับสินค้านั่นคือ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ที่มีการรับซื้อถั่วลิสงเพื่อนำมาแปรรูปจำหน่ายเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและเป็นการบูราณาการในชุมชนสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและคนในชุมชน นอกจากนี้ ตำบลค้อวัง และตำบลน้ำอ้อมยังมีการส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อย ปลูกแตงโมหลังนา ซึ่งมีการจำหน่ายให้กับชุมชน ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ก็ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ เพิ่มช่องทางการตลาด เพิ่มมูลค่าสินค้าให้แก่เกษตรกร