รมว.กษ.สั่งด่านตรวจพืชตรวจเข้ม 100% ทุกชิปเมนท์ คุมเข้มการนำเข้ามะพร้าวหากพบแมลงศัตรูพืช หรือการงอก ส่งกลับ-เผาทำลายทันที- ขยายผลตรวจเข้มสินค้าเกษตรอื่นๆ แนวชายแดน ป้องลักลอบนำเข้า

362101
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรฯ

ตามนโยบาย ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เปิดเผยว่า จากการประชุมหารือมาตรการนำเข้ามะพร้าว และผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว เข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ด้านการผลิตราคา การตลาด การนำเข้ากะทิ มะพร้าวแก่ปอกเปลือกจากต่างประเทศ ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวและตัวแทนเครือข่ายชาวสวนมะพร้าวของไทย จำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันการลักลอบนำเข้ามะพร้าวจากต่างประเทศโดยเคร่งครัดโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ตั้งชุดปฏิบัติการพิเศษพญานาคราชที่ทำงานบูรณาการตรวจร่วมกับ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กรมศุลกากร ตำรวจ ทหาร มหาดไทย และหน่วยงานความมั่นคงอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด่านตรวจพืช กรมวิชาการเกษตร ที่ต้องคุมเข้ม ควบคุมป้องกันการนำเข้ามะพร้าวในโควตา และนอกโควตา รวมถึงการเฝ้าระวังแมลงศัตรูพืชและการงอกของมะพร้าว โดยทำการตรวจสอบอย่างเคร่งครัด ทำการเปิดตรวจตู้ 100% ทุกชิปเม้นท์ หากพบแมลงศัตรูพืช หรือการงอก ให้ดำเนินการส่งกลับหรือเผาทำลายทันทีทั้งชิปเม้นท์ พร้อมขยายผลตรวจเข้มสินค้าเกษตรอื่นๆ แนวชายแดน ป้องกันลักลอบนำเข้า และขอร่วมมือผู้ประกอบการร่วมปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด

20D56D81 E966 4072 B5E1 7B3C1579EEDA
นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร

วันที่ 31 มีนาคม 2567 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้ลงพื้นที่ ณ ด่านตรวจพืชท่าเรือกรุงเทพ เพื่อติดตามการปฏิบัติงานการตรวจสอบการนำเข้ามะพร้าว และผลิตภัณฑ์มะพร้าว เพื่อป้องกัน ควบคุม เฝ้าระวัง โรค และศัตรูพืชที่อาจจะติดมา ที่จะก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของศัตรูพืชร้ายแรง ตลอดจนสร้างความเสียหายแก่พืชเศรษฐกิจ และระบบการผลิตพืชของประเทศไทย

FA4348A1 6867 4378 91DD B7114C9F9DC6

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า มะพร้าวแก่ปอกเปลือกที่นำเข้าต้องผ่านวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช และต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงประกาศกรมวิชาการเกษตร ที่เกี่ยวกับการนำเข้ามะพร้าว ปัจจุบันอนุญาตให้นำเข้าผลมะพร้าวแก่ปอกเปลือก เนื้อมะพร้าวสด เนื้อมะพร้าวแห้ง จากมาเลเซีย เวียดนาม สหภาพเมียนมา และอินโดนีเซีย เพื่อการแปรรูปในโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น โดยในปี 2566 มีการนำเข้ารวมประมาณ 127,901 ตัน 1,178 ชิปเมนท์ มูลค่าประมาณ 1,139 ล้านบาท

DF4EB90C A815 47C3 AD89 AFBB49DB83C5

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สินค้ามะพร้าวเป็นสินค้าควบคุมตามกฎหมายที่กระทรวงพาณิชย์กำกับดูแล ได้กำหนดด่านนำเข้าเพียง 2 ด่าน คือ ด่านศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง และด่านศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ ดังนั้น การนำเข้าต้องแจ้งนำเข้า ณ ด่านตรวจพืชท่าเรือแหลมฉบัง และด่านตรวจพืชท่าเรือกรุงเทพ เท่านั้น

BFB89838 EA5F 40B5 BE5F 21FB28527728

บทบาทหน้าที่ของด่านตรวจพืชกรมวิชาการเกษตร นอกจากจะควบคุมการนำเข้า ณ ด่านที่กำหนดแล้ว
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้สั่งการ ให้ด่านตรวจพืชทั่วประเทศทำงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่อื่นๆ ได้แก่
กรมศุลกากร ด่านอาหารและยา หน่วยงานความมั่นคง และองค์กรปกครองในพื้นที่ เฝ้าระวังการลักลอบนำเข้ามะพร้าวแก่ปอกเปลือกจากประเทศเพื่อบ้าน ลดผลกระทบต่อเกษตรกร และอุตสาหกรรมการผลิตกะทิของไทย

77B18124 FEC3 435F B9EE 8994E059113E
C3CB14F5 EC33 4114 AE37 995BD4060434
56C4E896 8EE8 45F4 9F85 D94099EB2169
4E93A2C6 CE23 45C6 B835 5D551E64C563
492335
492336
S 7069703
S 7069706
S 7069707
S 7069710
S 6307883