กว๊านพะเยาคึกคัก กรมประมงจัดงานใหญ่ “ล่าตัวฉกาจ ชะโดเพชฌฆาตแห่งกว๊านพะเยา ครั้งที่ 1”กำจัดพ่อเเม่นักล่า 300 ตัวเเละลูกครอกกว่า 25,000 ตัว น้ำหนักรวมครึ่งตัน

1280540

ณ ลานอเนกประสงค์เทศบาลเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมและปล่อยตัวผู้เข้าร่วมแข่งขัน ในพิธีเปิดการแข่งขันตกปลาชะโดกว๊านพะเยา ปี 2567 “ล่าตัวฉกาจ ชะโดเพชฌฆาตแห่งกว๊านพะเยา ครั้งที่ 1” โดยรับเกียรติจาก ดร.ธนสาร ธรรมสอน ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมมอบถ้วยและเงินรางวัล ใบประกาศเกียรติบัตรให้กับผู้ชนะการแข่งขัน ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้มีนักตกปลาเข้าร่วมล่าปลาชะโดกว่า 365 คน

1280538
ดร.ธนสาร ธรรมสอน
1280539
นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง

นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า กรมประมง โดยสำนักงานประมงจังหวัดพะเยา ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดลำปาง ร่วมกับเทศบาลเมืองพะเยา จัดกิจกรรม “แข่งขันตกปลาชะโดกว๊านพะเยา ปี 2567” ตามข้อสั่งการของ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อควบคุมจำนวนปลาชะโดในกว๊านพะเยาที่มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปลาชะโด จัดเป็นปลานักล่าที่มีขนาดใหญ่ แพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว และเป็นปลาที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหารในแหล่งน้ำ พฤติกรรมการล่าเหยื่อกินเป็นอาหารนั้น ส่งผลให้สัตว์น้ำขนาดเล็กประจำถิ่นลดจำนวนลง สร้างความเสียหายต่อสมดุลในระบบนิเวศเป็นอย่างมาก และเพื่อเป็นการสร้างสมดุลและความหลากหลายในระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ กรมประมงและหน่วยงานในพื้นที่ จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อล่าปลาชะโดในกว๊านพะเยาขึ้น ผ่านกิจกรรมแข่งขันตกปลาในชื่อ “ล่าตัวฉกาจ ชะโดเพชฌฆาตแห่งกว๊านพะเยา ครั้งที่ 1” หรือ “Phayao Fishing Game”

1280541

สืบเนื่องจากประชาชนที่อาศัยอยู่ริมกว๊านและบริเวณใกล้เคียง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน มีความชำนาญในการทำประมงรวมถึงการตกปลาอยู่แล้ว การแข่งขันดังกล่าวจึงดึงดูดผู้เข้าแข่งขันทั้งในพื้นที่และผู้ที่ชื่นชอบการตกปลา รวมไปถึงนักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่มากขึ้น เกิดความหลากหลายของกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ประชาชน นำไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดพะเยาให้ดีขึ้น นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับปลาชะโด การแข่งขันการทำอาหารจากปลาชะโด 2 รายการ ได้แก่ ประเภทลาบสุกแบบพื้นเมืองและประเภทแกงส้มต้ม โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง หน่วยงานละ 1 ทีม และการรับซื้อลูกปลาชะโดที่มีชีวิตจากกว๊านพะเยา เพื่อส่งมอบให้เกษตรกรจากจังหวัดสุพรรณบุรีนำไปเลี้ยงเพื่อประกอบอาชีพต่อไป

1280543

สำหรับกิจกรรมการแข่งขันตกปลาชะโดในครั้งนี้ มีนักกีฬาตกปลาเข้าร่วมการแข่งขัน รวมทั้งสิ้น 365 คน ภายใต้กติกาการจับสัตว์น้ำขึ้นมาใช้ประโยชน์ที่ต้องเคียงคู่กับมาตรการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ อาทิ การกำหนดขนาดและความยาวสัตว์น้ำ โดยผู้แข่งขันจะต้องมีคลิปวิดีโอยืนยันการจับในทุกขั้นตอนมีการกำหนดห้วงเวลาในการจับที่ชัดเจน เพื่อสร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศอย่างยั่งยืนต่อไป โดยมีรายชื่อผู้ชนะการแข่งขันในประเภทต่าง ๆ ดังนี้

1280544

การแข่งขันประเภทเหยื่อสด

1.รางวัลปลาชะโดรวมยาวสองตัวต่อกัน ได้แก่ คุณวีรชัย คำมี ความยาว 116 เซนติเมตร ได้รับเงินรางวัลจำนวน 10,000 บาท พร้อมใบประกาศ และถ้วยรางวัลจาก ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

1280545

2. รางวัลปลาชะโดน้ำหนักสูงสุด ได้แก่ คุณทักษิณ ตันวิชัย น้ำหนัก 2.82 กิโลกรัม ได้รับเงินรางวัลจำนวน 8,000 บาท พร้อมใบประกาศ และถ้วยรางวัลจาก นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง

1280547

3. รางวัลปลาชะโดรวม (ได้ปลาเยอะที่สุดและไม่ใช่ปลาลูกครอก) ได้แก่ เทศบาลตำบลท่าจำปี จังหวัดแพร่ จำนวนปลาที่ได้ 3 ตัว ได้รับเงินรางวัลจำนวน 5,000 บาท พร้อมใบประกาศ และถ้วยรางวัลจาก นายรัฐพล นราดิศร ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่

1280548

4. รางวัลปลาแปลกน้ำหนักสูงสุด ได้แก่ คุณปวฤทธิ์ โคแพร่ ชนิดปลาที่จับได้ คือ ปลากด น้ำหนัก 2.3 กิโลกรัมได้รับเงินรางวัลจำนวน 5,000 บาท พร้อมใบประกาศ และถ้วยรางวัลจาก นายอัครา พรหมเผ่า นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา

1280549


การแข่งขันประเภทเหยื่อปลอม

1.รางวัลปลาชะโดรวมยาวสองตัวต่อกัน ได้แก่ คุณธนพักตร์ เดชา ความยาวที่จับได้ 153.5 เซนติเมตร ได้รับเงินรางวัลจำนวน 10,000 บาท พร้อมใบประกาศ และถ้วยรางวัลจาก ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

1280537

2. รางวัลปลาชะโดน้ำหนักสูงสุด ได้แก่ คุณเอกชัย บำรุง น้ำหนัก 6.7 กิโลกรัม ได้รับเงินรางวัลจำนวน 8,000 บาท พร้อมใบประกาศ และถ้วยรางวัลจาก นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง

1280550

3. รางวัลปลาชะโดรวม (ได้ปลาเยอะที่สุดและไม่ใช่ปลาลูกครอก) ได้แก่ คุณสยาม วงศ์ธิดาธร จากจังหวัดเชียงราย จำนวนปลาที่ได้ 9 ตัว ได้รับเงินรางวัลจำนวน 5,000 บาท พร้อมใบประกาศ และถ้วยรางวัลจาก นายรัฐพล นราดิศร ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่

1280551

4. รางวัลปลาแปลกน้ำหนักสูงสุด ได้แก่ คุณธนาคม โพธาวัน จากจังหวัดเชียงใหม่ ชนิดปลาที่จับได้ คือ ปลากราย น้ำหนัก 6.94 กิโลกรัม ได้รับเงินรางวัลจำนวน 5,000 บาท พร้อมใบประกาศและถ้วยรางวัลจาก นายอัครา พรหมเผ่า นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา

1280567

การแข่งขันประเภทเหยื่อปลอม

1.รางวัลปลาชะโดรวมยาวสองตัวต่อกัน ได้แก่ คุณธนพักตร์ เดชา ความยาวที่จับได้ 153.5 เซนติเมตร ได้รับเงินรางวัลจำนวน 10,000 บาท พร้อมใบประกาศ และถ้วยรางวัลจาก ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

1280568

2. รางวัลปลาชะโดน้ำหนักสูงสุด ได้แก่ คุณเอกชัย บำรุง น้ำหนัก 6.7 กิโลกรัม ได้รับเงินรางวัลจำนวน 8,000 บาท พร้อมใบประกาศ และถ้วยรางวัลจาก นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง

1280570

3. รางวัลปลาชะโดรวม (ได้ปลาเยอะที่สุดและไม่ใช่ปลาลูกครอก) ได้แก่ คุณสยาม วงศ์ธิดาธร จากจังหวัดเชียงราย จำนวนปลาที่ได้ 9 ตัว ได้รับเงินรางวัลจำนวน 5,000 บาท พร้อมใบประกาศ และถ้วยรางวัลจาก นายรัฐพล นราดิศร ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่

1280571

4. รางวัลปลาแปลกน้ำหนักสูงสุด ได้แก่ คุณธนาคม โพธาวัน จากจังหวัดเชียงใหม่ ชนิดปลาที่จับได้ คือ ปลากราย น้ำหนัก 6.94 กิโลกรัม ได้รับเงินรางวัลจำนวน 5,000 บาท พร้อมใบประกาศและถ้วยรางวัลจาก นายอัครา พรหมเผ่า นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา

1280572

โดยการแข่งขันการทำอาหารจากปลาชะโด มีทีมที่ชนะเลิศ ได้แก่ เทศบาลตำบลแม่กา จังหวัดแพร่ ได้รับเงินรางวัล สูงถึง 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร และสำหรับกิจกรรมการรับซื้อลูกปลาชะโดที่มีชีวิตจากกว๊านพะเยา ตัวละ 1 บาทในครั้งนี้ กรมประมงได้รับซื้อลูกครอกปลาช่อนและปลาชะโดจากกว๊านพะเยาจำนวนรวม 25,000 ตัว จากนั้นผู้เข้าร่วมงานได้เข้าร่วมกิจกรรมการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำลงสู่กว๊านพะเยา ประกอบด้วย เต่านา จำนวน 36 ตัว เต่าหับ จำนวน 9 ตัว ปลาไหลนา จำนวน 499 ตัว และกุ้งก้ามกราม จำนวน 700,000 ตัว ลงสู่กว๊านพะเยา และการมอบพันธุ์กุ้งก้ามกรามให้แก่กำนันและผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 13 ตำบล ตำบลละ 25 ถุง รวมทั้งสิ้น 1,300,000 ตัว เพื่อปล่อยลง สู่แหล่งน้ำทั้ง 13 ตำบล ครอบคลุมทั้งจังหวัดพะเยา เพื่อเป็นการรักษาความสมดุลและความอุดมสมบูรณ์ไว้เป็นแหล่งอาหารของชุมชนต่อไป

กรมประมงขอแสดงความยินดีแก่ผู้ที่ได้รับรางวัลทุก ๆ ท่าน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดงานในครั้งนี้จะสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินให้กับผู้ที่รักในกีฬาตกปลา กรมประมงพร้อมที่จะผลักดันให้มีการแข่งขันตกปลาในระดับจังหวัดหรือภูมิภาคเพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่นและเป็นการระดมทรัพยากรในท้องถิ่น มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดสามารถนำไปต่อยอดการท่องเที่ยว เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่อไป อธิบดีกรมประมง กล่าวทิ้งท้าย