เดินหน้า วิจัยพืชเศรษฐกิจใหม่ ให้ยั่งยืน เหมาะสมกับตลาด

จากนโยบายรัฐบาลมุ่งเน้นเพิ่มรายได้ภาคการเกษตรเป็น 3 เท่าใน 4 ปี ด้วยหลักการ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” เพื่อผลักดันให้ภาคการเกษตรกรมีความเข้มแข็งและนำพาพี่น้องเกษตรกรไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง ด้วยประเทศไทยมีภูมิประเทศที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกและความหลากหลายของพืชพันธุ์ จึงมีพืชอีกจำนวนมากที่มีศักยภาพและมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง มีแนวโน้มที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น สามารถผลักดันการแข่งขันเข้าสู่ตลาดโลก และตลาดมีความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคต อาทิ ไข่ผำ หมาก ไผ่ มะพร้าวน้ำหอม โกโก้ ซิลเวอร์โอ๊ค แมคคาเดเมีย อะโวคาโด และพืชสมุนไพรตามความต้องการทางการแพทย์ (กัญชา กัญชง กระท่อม ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร บัวบก และเทียนขาว)

4C813B2A 6CCF 460A BDA5 CB02189F91C8 1

นางสาวอรุโณทัย ซาววา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยพืชอนาคต กองวิจัยพัฒนาพืชเศรษฐกิจใหม่และการจัดการก๊าซเรือนกระจกสำหรับภาคการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า พืชดังกล่าวข้างต้นจัดให้อยู่ในเกณฑ์ของพืชเศรษฐกิจใหม่ เนื่องจากมีแนวโน้มการตลาดเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ไข่ผำ ที่เคยเป็นพืชน้ำท้องถิ่นของไทยในแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันได้รับความสนใจและมีความต้องการจากกลุ่มผู้บริโภคโปรตีนจากพืช (Plant-based protein) ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามกระแสการรักสุขภาพ เนื่องจากมีโปรตีนและกรดอะมิโนที่สำคัญสูง มีวิตามินบี 12 และอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ทานมังสวิรัติ ผู้รักสุขภาพ นักกีฬา และกลุ่มผู้สูงวัยหรือกลุ่มผู้ที่ร่างกายไม่สามารถย่อยโปรตีนจากเนื้อสัตว์เป็นต้น ซึ่งไข่ผำตรงตามเกณฑ์ของพืชเศรษฐกิจใหม่ที่หน่วยงานกำหนดไว้ คือ

S 9781345
  1. มีความต้องการของตลาดเปลี่ยนแปลงแตกต่างไปจากเดิมหรือมีช่องทางตลาดในรูปแบบใหม่ๆ รองรับนวัตกรรมด้านอุปโภค (เวชสำอาง) และบริโภค (อาหาร) สร้างมูลค่าและโอกาสทางการแข่งขันให้เพิ่มมากขึ้น
  2. มีงานวิจัยภายในประเทศค่อนข้างจำกัด เช่น ข้อมูลสายพันธุ์ เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน
  3. มีพื้นที่ปลูกหรือปริมาณการส่งออกมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต เมื่อเปรียบเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา
  4. เป็นพืชรองที่มีศักยภาพ/คุณค่าที่มีแนวโน้มเป็นพืชแห่งอนาคตได้
  5. มีความต้องการสูงในอนาคตสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ เช่น Future food, Functional food, Novel food และ plant based protein
S 9781347

นอกจาก ไข่ผำ แล้ว นางสาวอรุโณทัย ยังได้กล่าวถึง หมาก ซึ่งหลายคนอาจเคยชินกับการเห็นคุณย่า คุณยาย กินหมาก ปากแดง แต่หมากกลับเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ที่น่าสนใจมาก เนื่องจากปัจจุบันหมากสดและหมากแห้งเข้าไปมีบทบาทในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น อุตสาหกรรมฟอกหนัง ฟอกย้อมเส้นใย และยารักษาโรค จึงเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ ทำให้มีแนวโน้มความต้องการเพิ่มสูงมากขึ้น จากข้อมูลการส่งออกหมาก ปี 2564 มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 182 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

S 9781349
S 9781348

พืชเศรษฐกิจใหม่ที่น่าจับตามองอีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ไผ่ซางหม่น ซึ่งนับเป็นหนึ่งในพืชทางเลือกที่มีโอกาสทางการตลาดสูง โดยผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยพืชอนาคต ได้ให้เหตุผลว่า เนื่องจาก ไผ่ซางหม่น มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว เนื้อไม้หนา สามารถใช้ประโยชน์ตลอดทั้งลำในการแปรรูป สามารถเก็บเกี่ยวได้นาน 20–30 ปี และปัจจุบันตลาดมีความต้องการสูงอย่างต่อเนื่อง ปริมาณของผลผลิตจึงไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ คาดว่าไผ่ซางหม่นจะเป็นสินค้าที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในด้านการช่วยปกป้องและฟื้นฟู สภาพดิน น้ำ และป่าไม้ ช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้ เนื่องจากมีศักยภาพในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ และคายออกซิเจนสู่บรรยากาศได้ดี รวมถึงมีน้ำหนักชีวมวลต่อไร่ที่สูงเมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่น จึงเป็นทางเลือกในการผลิตเป็นพลังงานทดแทนได้ในอนาคต

S 9781350

นางสาว อรุโณทัย ยังได้กล่าวต่อว่า นอกจากพืชเศรษฐกิจใหม่ที่ได้กล่าวถึงในข้างต้น หน่วยงานยังได้เร่งดำเนินการวิจัยพืชสมุนไพรตามความต้องการทางการแพทย์ ได้แก่ กัญชา กัญชง กระท่อม ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร บัวบก และเทียนขาว ทั้งในแปลงปลูกและในระบบที่มีความปลอดภัยต่อการปนเปื้อน เช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โรงเรือนตาข่าย โรงเรือนปิดหรือโรงงานผลิตพืช (Plant factory) เพื่อให้ได้สมุนไพรที่มีสารสำคัญสูงและคงที่ ขณะเดียวกันยังเป็นการเพิ่มความมั่นใจในวัตถุดิบสมุนไพรไทย รองรับการส่งเสริมและขับเคลื่อนสมุนไพรไทยสู่ตลาดโลกต่อไป

S 9781352

นั่นคือ ตัวอย่างของพืชเศรษฐกิจใหม่ ที่กรมวิชาการเกษตร ได้ศึกษาวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรผู้ปลูก ตั้งแต่ต้นทางการผลิต พันธุ์ เทคโนโลยีการผลิต และมาตรฐานการผลิตจนถึงมือผู้บริโภค ด้วยความหวังว่า จะทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคง และ ยั่งยืน ในอนาคต

messageImage 1715843471218
messageImage 1715843482499
messageImage 1715843488219
messageImage 1715843509582
messageImage 1715843542255
messageImage 1715843550745
messageImage 1715843564272