กระทรวงเกษตร สหรัฐฯ(USDA) จัดทําฐานข้อมูลใหม่สําหรับค้นหาข้อกําหนดการนําเข้าผักและผลไม้

สํานักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจํากรุงวอชิงตัน ดี.ซี. แจ้งว่า หน่วยงานบริการตรวจสอบสุขภาพสัตว์และพืชของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา หรือ APHIS (Animal and Plant Health Inspection Service) ภายใต้กระทรวงเกษตร สหรัฐอเมริกา หรือ USDA (US Department of Agriculture) ได้พัฒนาฐานข้อมูลใหม่ใช้ชื่อว่า “ข้อกําหนด การนําเข้าสินค้าเกษตร” หรือ “ACIR” Agricultural Commodity Import Requirements โดยจะช่วยให้การค้นหาและแสดงข้อมูลข้อกําหนด การนําเข้าสินค้าเกษตรเป็นไปได้โดยง่าย และจะเป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะมีข้อมูลเช่นเดียวกับเว็บไซต์ฐานข้อมูลข้อกําหนด การ นําเข้าผักและผลไม้หรือ FAVIR (Fruit and Vegetable Import Requirements) ในวันที่ 30 กันยายน 2565

เมื่อมีการเข้าใช้งานเว็บไซต์ FAVIR จะมีการเปลี่ยนหน้าจอไปยังเว็บไซต์ ACIR โดยอัตโนมัติ โดยจะไม่มีหน้าเว็บไซต์ของ FAVIR ภายใต้เว็บไซต์ของ APHIS อีกต่อไป ACIR จะเป็นแหล่งข้อมูลเดียวในการใช้ค้นหาและเรียกดูข้อมูลด้านข้อกําหนดสําหรับสินค้านําเข้าประกอบด้วยข้อมูลกระบวนการบําบัดศัตรูพืช (Treatment Schedules) กระบวนการตรวจสอบ และข้อมูลที่จําเป็นอื่น ๆ เพื่อพิจารณาการอนุญาตนําเข้า โดยไม่จําเป็นต้องเข้าถึงคู่มือหลายฉบับ ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบจากเว็บไซต์ ACIR ได้ว่าจําเป็นต้องยื่นขอใบอนุญาตหรือไม่ สําหรับการขออนุญาตนําเข้า ขอใบอนุญาตนําเข้า รวมไปถึงการสมัครเพื่อขอขึ้นทะเบียนโรงงานแปรรูปพืชและผลิตภัณฑ์ ซึ่งใช้ระบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์หรือ eFile ของ APHIS สามารถอ้างอิงข้อมูลข้อกําหนดนําเข้าจาก ACIR ได้ทันที

297457552 394203009525586 6008911921535339250 n
“ข้อกําหนด การนําเข้าสินค้าเกษตร” หรือ “ACIR”

APHIS ยังได้สร้างชุดวิดีโอแนะนําการใช้งาน ACIR แบบออนไลน์สั้น ๆ สําหรับผู้นําเข้านายหน้าและบุคคลทั่วไป เพื่อเรียนรู้การใช้งานเว็บไซต์อย่างง่ายและรวดเร็ว เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่น APHIS แนะนําให้ผู้ที่เคยใช้งานเว็บไซต์ FAVIR หรือคู่มือทั้ง 3 ฉบับ เริ่มศึกษาการใช้งาน ACIR ตั้งแต่บัดนี้ โดย ACIR อนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลข้อกําหนดการนําเข้าสินค้าทุกชนิดที่อยู่ในคู่มือทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว

เช็กที่นี่.. “ข้อกําหนด การนําเข้าสินค้าเกษตร” หรือ “ACIR” https://acir.aphis.usda.gov/s/

ก่อนหน้านี้ นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สถานการณ์การส่งออกสินค้าเกษตรด้านพืช ผัก ผลไม้ ของไทยหลังสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มฟิ้นตัว รัฐบาลเริ่มเปิดประเทศ ส่งผลให้การส่งออกสินค้าพืช ผัก ผลไม้ ไปต่างประเทศของไทยเป็นที่ต้องการของทั่วโลก

โดยกลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร กรมวิชาการเกษตร รายงานว่าเพียง 5 เดือนแรกของปี 2565 (ม.ค.-พ.ค.) มียอดการส่งออกแล้วกว่า 15.27 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 469,178.78 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 28.57% (เทียบกับ 5 เดือนแรกของปี 64) สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของประเทศคู่ค้าในการตรวจสอบคุณภาพการผลิตสินค้าพืช ผัก ผลไม้ ของประเทศไทย