เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2568 “เพทัย แตงโสภา” ชาวไร่อ้อย อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี

เกษตร

นายเพทัย แตงโสภาอายุ๕๗ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๘๙ หมู่ที่๘ ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี

การศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ ๖ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี

อาชีพ ทำไร่อ้อย

เกษตร 1

ผลงานดีเด่น

ความคิดริเริ่ม และความพยายามฟันฝ่า

อุปสรรคในการสร้างผลงาน

ปี ๒๕๓๓ เดิมประกอบอาชีพเลี้ยงวัวพื้นบ้าน แต่งงานและย้ายถิ่นฐานมาอยู่บ้านภรรยา เริ่มประกอบอาชีพทำนาในพื้นที่ ๑๒ ไร่ โดยอาศัยน้ำฝน แต่ประสบปัญหาพื้นที่แห้งแล้ง และฝนทิ้งช่วง

ปี ๒๕๔๗ เริ่มต้นเปลี่ยนมาทำไร่อ้อย เนื่องจากใช้น้ำน้อยกว่าการทำนา แต่ยังใช้ระบบน้ำราด และแรงงานคนในการทำไร่ พร้อมทั้งมีการเผาอ้อยก่อนการเก็บเกี่ยว

แทรก


ปี ๒๕๕๖ ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ จึงเปลี่ยนมาปลูกอ้อยด้วยระบบน้ำหยดเพื่อลดการใช้น้ำ

ปี ๒๕๕๗ ประสบปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงาน ดินเสื่อมคุณภาพจากการเผาอ้อย และอ้อยมีค่าความหวานต่ำ ส่งผลให้ราคาอ้อยตกต่ำ จึงต้องการเปลี่ยนเป็นการตัดอ้อยสด ได้ปรึกษากับบริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลสุพรรณบุรี จำกัด ในการค้ำประกันโควต้าอ้อยในการซื้อรถตัดอ้อย

ปี ๒๕๖๒ ประสบปัญหาโรคแส้ดำในอ้อย จึงปรับเปลี่ยนพันธุ์อ้อยจากพันธุ์ลำปาง เป็นพันธุ์ขอนแก่น ๓ พร้อมทั้งทำแปลงพันธุ์อ้อยเพื่อช่วยในการลดต้นทุนในการซื้อท่อนพันธุ์

สสส

ปี ๒๕๖๔ ประสบปัญหาดินแห้ง จึงนำใบอ้อยที่เหลือจากการตัดอ้อย ส่วนหนึ่งนำมาไถพรวนคลุกลงดินเพื่อเป็นปุ๋ย อีกส่วนหนึ่งใช้คลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดิน นอกจากนี้ ยังมีการขายใบอ้อยให้กับโรงงานชีวมวลเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ และมีการทำแนวกันไฟในแปลงอ้อยเพื่อป้องกันการลุกลามของไฟจากแปลงอื่น

ปี ๒๕๖๕ ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศ เปลี่ยนแปลง จึงขุดบ่อบาดาล และทำธนาคารน้ำใต้ดินโดยในพื้นที่ไม่มีไฟฟ้า เกษตรกรมีการแก้ไขปัญหาโดยการใช้พลังงานจากโซล่าเซลล์ในการสูบน้ำ

ผผผ

ปัจจุบัน มีการพัฒนาและปรับปรุงวิธีการทำไร่อ้อยจนสามารถเพิ่มผลผลิตจากเดิมไร่ละ ๘ – ๑๐ ตัน เป็นไร่ละ ๑๕ – ๑๗ ตัน และสามารถยืดระยะเวลาการไว้ตอจากเดิม ๒ -๓ ตอ เป็น ๔ – ๕ ตอและมีการตัดอ้อยสด ๑๐๐% ของพื้นที่การทำไร่อ้อยช่วยลดปัญหาฝุน PM 2.5 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

นอกจากนี้ยังมีการใช้โดรนเพื่อการเกษตรในการพ่นปุ๋ยทางใบ เพื่อช่วยเพิ่มค่าความหวานให้กับอ้อยก่อนการเก็บเกี่ยว ทำให้ประหยัดค่าแรงงาน เวลา มีความปลอดภัยสูงและอ้อยไม่เกิดความเสียหายจากการเหยียบย่ำ

นนนนน

ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการนำเทคโนโลยีมาใช้

๑. นวัตกรรมสู้ภัยแล้งนอกเขตชลประทาน

บ่อน้ำ โดยการปรับปรุงบ่อน้ำเดิม ด้วยการขุดบ่อน้ำกว้าง ๕๐ เมตร ยาว ๖๐ เมตร ความลึกเฉลี่ยประมาณ ๗ เมตร ให้ลึกผ่านชั้นดินเหนียวจนถึงชั้นหินอุ้มน้ำซึ่งเป็นเทคนิคจากวิศวกรรับเหมา ทำให้มีน้ำใช้ตลอดปีและเป็นการเพิ่มความจุของบ่อเป็น ๒๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร สามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน

อออ

ธนาคารน้ำใต้ดิน ทุกแปลงในพื้นที่ปลูกอ้อยนอกเขตชลประทาน โดยเป็นการกักเก็บน้ำส่วนเกินในฤดูฝน เพื่อนำมาใช้ในฤดูแล้ง

๒. นวัตกรรมเศษเหล็กมีคุณค่า โดยนำผานรถไถที่ทิ้งแล้วมาตัดแปะต่อทำเป็นใบมีด ยึดติดกับเครื่องลากริปเปอร์ฝังปุ๋ยทั้ง ๒ ด้าน ซ้ายและขวา เพื่อใช้ในการกลบร่องอ้อย ลดต้นทุนค่าจ้างในการไถกลบร่องอ้อย ๓๐๐ บาท/ไร่ การต่อใบมีด ๒ แบบ คือ สำหรับอ้อยตอ ขนาดความยาว ๙๐ เซนติเมตร และสำาหรับอ้อยปลูกใหม่ขนาดความยาว ๙๗ เซนติเมตร

วววววว

๓. การใช้โดรนเพื่อการเกษตร ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ช่วยลดปัญหาเรื่องค่าจ้างแรงงานได้ ๗๐ บาท/ไร่และลดเวลาในการให้ปุ๋ย (๒ นาทีต่อ ๑ ไร่ )

๔. การคัดเลือกพันธุ์อ้อยที่แข็งแรง ลำใหญ่และเหมาะสมกับพื้นที่ในเขตภาคกลาง คือ พันธุ์ขอนแก่น ๓ เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่ไม่ออกดอก ทำให้น้ำหนักและความหวานไม่ลดลง กาบใบหลวม เก็บเกี่ยวง่าย ทนแล้ง และไว้ตอได้ดีและจัดทำแปลงพันธุ์เพื่อทดสอบพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ และหาพันธุ์ที่สามารถทดแทนพันธุ์ขอนแก่น ๓เนื่องจากมีการใช้มาเป็นเวลานาน เช่น K๒๐๐ จากศูนย์วิจัยสุพรรณบุรี ลำปาง ๑๑ เป็นต้น

ยยยย

๕. การตรวจวิเคราะห์ดิน และการใส่ปุ๋ยหมัก ร่วมกับ Filter Cake เพื่อปรับปรุงโครงสร้างดิน ทำให้ดินร่วนซุย โปร่ง รวมถึงเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ลดความเป็นกรดของดิน

๖. การให้ปุ๋ยละลายน้ำร่วมกับระบบน้ำหยด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้ปุ๋ยมากถึง ๘๐ ถึง ๙๐% ลดการสูญเสียจากการชะล้าง หรือการใช้ปุ๋ยเกินความจำเป็นลดระยะเวลาการทำงาน นอกจากนี้ยังพบว่าการให้ปุ๋ยไปกับระบบน้ำหยด สามารถเพิ่มปริมาณน้ำตาลซูโครสในอ้อยได้ถึง ๒% เมื่อเทียบกับการให้น้ำแบบปล่อยท่วมหรือพื้นที่การปลูกที่อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก

ดดดด

๗. วางแผนการบริหารจัดการน้ำ ร่วมกับปฏิทินการเพาะปลูกและระยะการเจริญเติบโต ดังนี้ ๑) ระยะตั้งตัวตั้งแต่เริ่มงอกจนมีใบ และเป็นต้นอ่อน ความต้องการน้ำยังไม่มากอาจใช้ความชื้นที่มีอยู่ในดินได้ ๒) ระยะเติบโตทางลำต้น (ช่วงแตกกอ สร้างปล้อง) ต้องการน้ำมากและบ่อยครั้ง ๓) ระยะสร้างน้ำตาล ให้น้ำเฉพาะอ้อยที่เริ่มแสดงอาการขาดน้ำเท่านั้น และ ๔) ระยะสุกแก่ อ้อยเติบโตน้อยลงและกำลังสะสมน้ำตาล ควรงดการให้น้ำ

๘. การใช้รถเก็บเกี่ยวผลผลิต ลดปัญหาด้านแรงงาน และระยะเวลา ตัดอ้อยสดลดการเผา เพื่อลดปัญหามลพิษในอากาศ (ฝุ่น PM 2.5) และลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาได้ ๓๘,๕๐๖.๒๕ kgCO2eq (กิโลกรัมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า)

งง

๙. ใช้ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ (solar cell)สำหรับน้ำหยด ในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงสามารถประหยัดน้ำลง ๘๐%

๑๐. ทำแนวกันไฟทุกแปลง ป้องกันไฟลุกลามจากแปลงใกล้เคียง และมีการตรวจแปลงอ้อยในระยะใกล้เก็บเกี่ยว หรือในช่วงโรงงานเปิดหีบอ้อยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการลักลอบเผาในแปลงอ้อย

อ้อย

๑๑. มีการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ หรือการลดขยะให้เป็นศูนย์ (Zero Waste) โดยการม้วนใบอ้อยเพื่อขายเป็นพลังงานชีวมวล และการไถกลบใบอ้อยเพื่อใช้ในการปรับปรุงบำรุงดิน

๑๒. ใช้การจัดการศัตรูพืชด้วยวิธีผสมผสาน (IPM)เพื่อลดการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช

ผลงานและความสำเร็จของผลงานทั้งปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนระยะเวลาที่ปฏิบัติงานและความยั่งยืนในอาชีพ

ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ปี ๒๕๖๖ อยู่ที่ ๑๗,๐๐๐ กิโลกรัม/ไร่ มากกว่าผลผลิตเฉลี่ยระดับประเทศ ร้อยละ ๗๑.๗๒

การบริหารจัดการด้านการผลิตและการตลาดและความยั่งยืนในอาชีพ

๑. มีการวางแผนการผลิต โดยการแบ่งเป็นแปลงอ้อยปลูกใหม่ และอ้อยตอ หมุนเวียนในแต่ละปี เพื่อช่วยลดต้นทุนในการผลิต ทำให้มีผลผลิตออกต่อเนื่อง

๒. มีเป้าหมายในการผลิตอ้อยอย่างชัดเจน คือมีผลผลิตเฉลี่ยของอ้อย ๑๕ ตัน/ไร่ ขึ้นไป และตัดอ้อยสด ๑๐๐% พร้อมทั้งขายใบอ้อยให้กับโรงงาน ส่วนที่เหลือไถกลบเป็นปุ๋ยบำรุงดิน

๓. กำาหนดกลุ่มเป้าหมายชัดเจน (Target Customer) คือ ขายอ้อยสด และใบอ้อยให้กับโรงงานน้ำตาล บริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลสุพรรณบุรี จำกัด

ความยั่งยืนในอาชีพ

๑. เริ่มต้นจากการปลูกข้าวบนพื้นที่ ๑๒ ไร่และปรับเปลี่ยนมาปลูกอ้อย จนกระทั่งปี ๒๕๔๐ จนถึงปัจจุบัน มีพื้นที่ปลูกอ้อยเป็นของตนเอง รวม ๑๒๖.๒๕ ไร่ และเป็นผู้ดูแลวางแผนการผลิตตั้งแต่เริ่มต้นปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวให้กับลูกไร่ จำนวน ๕๒ ราย พื้นที่รวม ๑,๐๔๐ ไร่

๒. มีทายาททางการเกษตรช่วยวางแผนการใช้เครื่องจักร การซ่อมบำรุง และการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

๓. สร้างรายได้เพื่อความยั่งยืนในอาชีพด้วยการตัดอ้อยสดจำหน่าย (ราคาเพิ่มจากค่าความหวาน ccs ละ ๘๔ บาท) และการขายใบอ้อย เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงให้แก่โรงไฟฟ้าชีวมวล (ตันละ ๘๐๐ – ๑,๐๐๐ บาท

การขยายผล สามารถเผยแพร่ขยายผลให้แก่ส่วนรวม

๑. แปลงเรียนรู้สาธิตการตัดอ้อย ลดการเผา เกิดการสร้างเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผา

๒. เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ และขยายผลการทำไร่อ้อยแบบปลอดการเผาให้เกษตรกรในพื้นที่จำนวน ๒๗ คน พื้นที่ ๘๖๐ ไร่

ความเป็นผู้นำและการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในด้านต่าง ๆ

เป็นผู้นำอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

๑. ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๘ ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี

๒. อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน หมู่ที่ ๘ ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี

๓. เกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) อำเภอหนองหญ้าไซ

๔. กรรมการสมาคมชาวไร่อ้อยเขต ๕ จังหวัดสุพรรณบุรี

๕. ประธานกองทุนหมู่บ้าน และกองทุนแม่ของแผ่นดิน อำเภอหนองหญ้าไซ

๖. รองประธานคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ อำเภอหนองหญ้าไซ

๗. กรรมการที่ปรึกษาโรงพยาบาลหนองหญ้าไซ

การทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม

๑. คณะกรรมการสมาคมชาวไร่อ้อยเขต ๕ จังหวัดสุพรรณบุรี ผลักดันให้โรงงานน้ำตาลสามชุก
ดำาเนินการ ดังนี้

  • ค้ำประกันโควต้าอ้อยรายใหญ่และรายย่อย เพื่อจัดซื้อรถตัดอ้อยแก่เกษตรกร
  • นำเงินกองทุนอ้อยและน้ำตาลปล่อยเงินกู้ให้กับเกษตรกร โดยคิดดอกเบี้ยร้อยละ ๒ (ดอกเบี้ยต่ำ)เพื่อขุดบ่อน้ำในพื้นที่นอกเขตชลประทาน
  • นำปุ๋ยราคาถูกโดยไม่คิดดอกเบี้ย มาขายให้กับเกษตรกร
  • สนับสนุนโดรนสำหรับฉีดปุ๋ยเพิ่มค่าความหวานให้กับเกษตรกร
  • ๒. บริจาคเงินสนับสนุนกิจกรรมทางวัด โรงเรียนและโรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอและช่วยเหลือกิจกรรมโครงการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ – ผู้ติดยาเสพติด และการทำางานของสถานีตำรวจภูธรหนองหญ้าไซ
    ๓. ยกที่ดินของตนให้กับคนไร้บ้านได้มีที่อยู่ฟรี คนละ ๑ งาน จำนวน ๘ คน โอนโฉนดอย่างถูกต้อง
    ๔. วิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ด้านการปลูกอ้อยให้แก่เกษตรกรและผู้ที่สนใจ

การรอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๑. ปรับปรุงดิน และใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมตามค่าวิเคราะห์ดิน

๒. ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่กับปุ๋ยเคมี ร่วมกับการไถกลบเศษซากใบอ้อย

๓. ตัดอ้อยสด งดการเผา โดยการใช้เครื่องจักรกลในการเก็บเกี่ยว

๔. ผลิตและขยายสารชีวภัณฑ์เชื้อ BS (Bacillussubtillis) ไว้ใช้ในการกำจัดโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย
และเชื้อรา

๕. การใช้แมลงหางหนีบ ในการกำจัดหนอนกออ้อย