นายอนุพงษ์ พิพัฒน์วัชราภรณ์” อายุ ๕๓ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๕ หมู่ที่ ๗ ตำบลคลองนกกระทุง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
การศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบางเลนวิทยา
ผลงานดีเด่น
ความคิดริเริ่มและความพยายามฟันฝ่า อุปสรรคในการสร้างผลงาน
เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๑ คุณพ่อวิชัยและคุณแม่สมจิต แซ่เอี๊ยว (นามสกุลเดิม) ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งก้ามกราม เลี้ยงปลา และเลี้ยงเป็ดไข่ ที่ตำบลคลองนกกระทุง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้ไปดูวิธีการเลี้ยงไก่ไข่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและได้กลับมาเริ่มต้นเลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลาจำนวน ๖,๐๐๐ ตัว ซึ่งเป็นการเลี้ยงแบบเล้าเปิด
พ.ศ. ๒๕๓๒ นายอนุพงษ์ พิพัฒน์วัชราภรณ์ เมื่อเรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ได้ออกมาเลี้ยงไก่แบบเต็มตัว โดยเริ่มเลี้ยงลูกไก่ตั้งแต่อายุ ๑ วัน จนกระทั่งเป็นไก่สาวพร้อมไข่ ผสมอาหาร ทำวัคซีนด้วยตนเองทุกขั้นตอนและได้ศึกษาเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ไข่เพิ่มเติม โดยมีส่วนราชการ นักวิชาการ สัตวแพทย์ สัตวบาล เป็นที่ปรึกษา และไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากฟาร์มอื่น ๆ เพื่อนำามาปรับใช้กับฟาร์มของตัวเอง โดยตั้งชื่อฟาร์มว่า “สมจิตฟาร์ม” ตามชื่อของคุณแม่ จากการลงแรงเลี้ยงไก่ด้วยตนเองเมื่อขายผลผลิตกลับโดนพ่อค้าคนกลางกดราคา จึงเกิดความคิดในการขายไข่ไก่โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง โดยการซื้อเครื่องคัดไข่มาเพื่อเปลี่ยนจากการขายไข่คละมาเป็นขายไข่เบอร์ ทำให้ขายไข่ได้ราคาเพิ่มขึ้นและแปรรูปผลิตภัณฑ์ขายเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น ไข่เค็ม ไข่เยี่ยวม้า เป็นต้น
ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ประเทศไทยเกิดโรคระบาดไข้หวัดนก สมจิตฟาร์มได้รับผลกระทบเช่นเดียวกันต้องทำลายไก่ทั้งหมดตามนโยบายของรัฐบาล แต่ยังคงได้รับความช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐบาล ในขณะนั้น สมจิตฟาร์ม ยังไม่ยอมแพ้และพยายามทำฟาร์มเลี้ยงไก่ต่อไป ระหว่างรอฟื้นฟูฟาร์มของตัวเอง ได้ซื้อไข่ไก่จากฟาร์มที่ไม่ได้รับผลกระทบจากไข้หวัดนก เพื่อนำมาขายให้กับลูกค้าของตัวเอง จึงทำให้สมจิตฟาร์มลุกขึ้นยืนอีกครั้งและพัฒนาการเลี้ยงสู่แนวใหม่ และได้เริ่มทำมาตรฐานฟาร์ม GAP ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ (สมจิตฟาร์ม ๑)
ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ สมจิตฟาร์มพัฒนาฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่เข้าสู่ระบบมาตรฐานฟาร์มของกรมปศุสัตว์ซึ่งเป็นการเลี้ยงระบบปิด (Evaporation) พร้อมทั้งมีความคิดริเริ่มในการกำจัดซากไก่ตายให้เกิดประโยชน์ โดยการเลี้ยงจระเข้ไว้ในฟาร์มเพื่อกินซากไก่ที่ตายซึ่งเป็นการลดต้นทุนและสร้างรายได้จากการเลี้ยงจระเข้
ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ นำมาตรฐาน ๕ ส. และมาตรฐานด้านอื่น ๆ เข้ามาใช้เพื่อให้การทำงานเป็นระบบและมีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เกิดวิกฤติน้ำท่วมทางฟาร์มได้รับผลกระทบ จึงแก้ปัญหาโดยการทำคันดินล้อมฟาร์มไม่ให้น้ำท่วม ทำให้ฟาร์มยังสามารถเลี้ยงไก่และขนไข่ไปขายในพื้นที่ที่ไม่ท่วมได้ซึ่งวิกฤติครั้งนี้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ขยายกิจการฟาร์มเลี้ยงไก่เป็น สมจิตฟาร์ม ๒ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๗ หมู่ ๘ ตำบลดอนตูม อำาเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เป็นการเลี้ยงระบบปิด(Evaporation) โดยพัฒนาระบบการเลี้ยงไก่เป็นกรงแบตเตอรี่ (กรงตับ) พร้อมทั้งมีการเลี้ยงจระเข้เพื่อกำจัดซากไก่ และได้รับมาตรฐานฟาร์ม GAP (สมจิตฟาร์ม ๒)
ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ สมจิตฟาร์ม ประสบปัญหาเรื่องทางเข้าออกฟาร์ม เนื่องจากมีคดีพิพาทการปิดทางเข้าออกฟาร์มที่ใช้ทางร่วมกันมามากกว่า ๓๐ ปี ซึ่งถนนคอนกรีตทางฟาร์มเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการทำทั้งหมด สมจิตฟาร์ม อยู่ด้านในสุดถูกปิดทางเข้าออกทำให้ไม่สามารถขนส่งอาหารสัตว์และลูกค้าไม่สามารถเข้ามารับไข่ไก่ได้จึงซื้อที่ดินใหม่และมีทางเข้าออกฟาร์ม และได้จัดตั้ง บริษัท เอส ซี เอฟ เอ้กโปรดักส์ ๒๐๐๐ จำกัด เป็นศูนย์รวบรวมไข่ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ลูกค้าและนำเครื่องคัดไข่รุ่นใหม่ที่ทันสมัยสามารถคัดไข่ได้ จำนวน ๖๐,๐๐๐ ฟอง/ชม. มากกว่าเครื่องเดิมในขณะที่ยังใช้คนเท่าเดิม เพื่อขยายตลาดและเพิ่มฐานลูกค้าที่เป็นบริษัทและโรงงาน
ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ สมจิตฟาร์ม ตระหนักถึงความสำคัญของคุณภาพและมาตรฐานสินค้า จึงยื่นขอรับการตรวจประเมินเพื่อได้รับการรับรองการปฏิบัติที่ดีสำาหรับศูนย์รวบรวมไข่ (SCF EGG PRODUCTS ๒๐๐๐) โดยได้รับความอนุเคราะห์จากเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์เข้ามาแนะนำให้ความรู้ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สมจิตฟาร์มได้รับมาตรฐานรับรองการปฏิบัติที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมไข่ มกษ. ๖๙๑๐/๗-๓
ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ สมจิตฟาร์ม ได้รับการรับรองคุณภาพและเครื่องหมายปศุสัตว์ OK จากกรมปศุสัตว์เป็นการรับรองสถานที่จำหน่ายไข่สดปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค และได้เข้าระบบประกันสังคม
ปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ทำการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในรูปแบบ On grid ทั้ง ๒ ฟาร์ม และอีกหนึ่งศูนย์รวบรวมไข่มาตรฐานเพื่อเป็นการลดต้นทุนและลดโลกร้อนเป็น Green economy ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด และได้รับทุนสนับสนุนการพัฒนาและเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ในโครงการ ITAP โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากภาครัฐ ๕๐% ในการสร้างระบบมาตรฐานGHPs & HACCP ระยะเวลาจัดทำ ๖ เดือน (วันที่ ๑ตุลาคม ๒๕๖๓ – วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔)
ปีพ.ศ. ๒๕๖๔ มีการยื่นขอเลขสารบบอาหารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ในไข่ไก่สด ๗๓-๒-๐๒๘๖๔-๖-๐๐๐๑ และไข่เป็ดสด ๗๓-๒-๐๒๘๖๔-๖-๐๐๐๒ ตราเอสซีเอฟ เป็นการผลิตเพื่อจำหน่าย
ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ เริ่มต้นกิจการฟาร์มเลี้ยงเป็ดไข่เป็น สมจิตฟาร์ม ๓ ตั้งอยู่ที่อำเภอกำาแพงแสน จังหวัดนครปฐม ทดแทนการซื้อเพื่อจำหน่าย ทำให้สามารถควบคุมมาตรฐานและคุณภาพของไข่เป็ดได้ตามที่ต้องการ มีสินค้าทางเลือกให้ลูกค้าทำให้ลูกค้าสามารถซื้อได้ทั้งไข่ไก่และไข่เป็ด
ปี พ.ศ. ๒๕๖๖ สมจิตฟาร์มได้รับการรับรองคุณภาพและตราสัญลักษณ์ “นครปฐมการันตี” และได้รับทุนสนับสนุนจากสำานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โครงการทุนพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ในโครงการวิจัยเป็นการเพิ่มมูลค่าไข่ไก่และไข่เป็ดด้วยการแปรรูปเป็นไข่เค็มและไข่เยี่ยวม้ารูปแบบแปลกใหม่ และได้รับมาตรฐานฟาร์ม GAP ของฟาร์มเป็ด (สมจิตฟาร์ม ๓)
ปี พ.ศ. ๒๕๖๗ นายอนุพงษ์ พิพัฒน์วัชราภรณ์ยังคงมุ่งมั่น ใส่ใจ พัฒนาความรู้เพื่อความปลอดภัยในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จัดส่งพนักงานเข้ารับการอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยและเมื่อถึงรอบต่ออายุยังคงรักษามาตรฐาน GHPs & HACCP ของโรงคัดไข่ไว้ได้ และได้รับทุนจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โครงการกิจกรรมดีพร้อมยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูปสู่สากล ภายใต้โครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสู่การแข่งขันเศรษฐกิจวิถีใหม่ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๗ สามารถดำเนินกิจกรรมเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้สำเร็จและได้รับการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรมว่าเป็นอุตสาหกรรม สีเขียวระดับที่ ๒ ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity)
ผลงานและความสำเร็จของงานทั้งปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนระยะเวลาที่ปฏิบัติงานและความยั่งยืนในอาชีพ
นายอนุพงษ์ พิพัฒน์วัชราภรณ์ มีผลงานและความสำเร็จ อาทิเช่น การป้องกันโรค การจัดการฟาร์มการตลาด เทคนิคและวิธีการดำเนินงานด้านปศุสัตว์ที่ประสบความสำเร็จพร้อมรายรับ-รายจ่าย และความภาคภูมิใจการผลิตไข่ไก่ของสมจิตฟาร์มได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการฟาร์ม มีการเลี้ยงที่ลดต้นทุน ด้านการใช้แรงงาน พัฒนาการเลี้ยงจากระบบเล้าเปิด รูปแบบกรงตับธรรมดาประเภท A frame เป็นระบบเล้าปิดรูปแบบ H frame (Battery) ทำให้เพิ่มปริมาณการเลี้ยงในขนาดโรงเรือนเท่าเดิมได้มากกว่า ๒ – ๓ เท่า
ใช้หลักเกษตรผสมผสานซึ่งเป็นแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่และความคิดการทำาการเกษตรครบวงจร ทำให้สามารถประกอบอาชีพด้านปศุสัตว์แถวหน้าได้ คือ มีการเลี้ยงไก่บนบ่อปลานำมูลไก่ไปเลี้ยงปลาเพื่อลดต้นทุน ส่วนที่เหลือขายเป็นปุ๋ย ซากไก่นำไปเลี้ยงจระเข้ คันดินบ่อ เลี้ยงปลา ปลูกไม้ป่ายืนต้นเพื่อลดอุณหภูมิรอบฟาร์มและลดโลกร้อน หลังคาโรงเรือนเลี้ยงไก่ และสำนักงานทุกแห่งติดตั้งระบบ Solar Rooftop ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดเพื่อลดค่าไฟฟ้าได้ถึง ๓๐ – ๓๕%
ด้านการตลาดสมจิตฟาร์ม ทำการตลาดด้วยตนเอง นำผลผลิตจากฟาร์มขายตรงสู่ผู้บริโภค ผ่านคู่ค้าในตลาดค้าส่งค้าปลีกมีช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น และได้ขยายฟาร์มเพิ่มเติมจาก สมจิตฟาร์ม ๑ เป็น สมจิตฟาร์ม ๒ และฟาร์มเป็ดไข่เพื่อรักษาฐานลูกค้าเป็นสมจิตฟาร์ม ๓
สำาหรับไข่ที่ได้มีการนำเข้าสู่มาตรฐาน ศูนย์รวบรวมไข่ที่ดี (GHPs & HACCP) เพื่อควบคุมคุณภาพความปลอดภัยของผู้บริโภค กระบวนการของ สมจิตฟาร์ม มุ่งมั่นเข้าสู่มาตรฐานที่ส่วนราชการกำหนดเป็นความ ภาคภูมิใจอย่างยิ่ง
ความภาคภูมิใจอีกด้าน คือ รักษาอาชีพของคุณพ่อคุณแม่ โดยได้ต่อยอดพัฒนาทุกด้าน ทั้งการผลิตการตลาด การอยู่ร่วมกับชุมชน สามารถนำไข่ของฟาร์มสู่มาตรฐานการผลิตจนเป็นที่ยอมรับมีความปลอดภัยจากโรคระบาดและสารตกค้าง เป็นการพัฒนาการเลี้ยงจากต้นน้ำ กลางน้ำ สู่ปลายน้ำ โดยตลอดห่วงโซ่การผลิตได้ดำเนินการเกิดได้ประโยชน์สูงสุดไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน มีการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนภายในฟาร์ม มีการใช้น้ำในบ่อเลี้ยงปลาแบบหมุนเวียนไม่มีการปล่อยของเสียสู่แหล่งน้ำสาธารณะ
ความเป็นผู้นำและการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในด้านต่าง ๆ
ด้านความเป็นผู้นำ
-สร้างกลุ่มเครือข่ายไก่ไข่บางเลนตะวันออก ลุ่มแม่น้ำท่าจีน เป็นประธานในกลุ่มเครือข่ายบางเลนตะวันออกทำหน้าที่ประสานงานเกี่ยวกับกิจกรรมของผู้เลี้ยงไก่ไข่กับกรมปศุสัตว์และภาครัฐ ในการแจ้งข่าวสารและขอความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆแจ้งข่าวสารอัพเดทสถานการณ์หรือข้อมูลที่ได้จากสมาคมไก่ไข่แห่งประเทศไทย
– เข้าร่วมการประชุมการแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ในฐานะคณะกรรมการสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ เพื่อช่วยหาวิธีการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับไข่ไก่และปัญหาต่าง ๆ
– ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมสามัญสัญจร ครั้งที่ ๑ ณ บริษัท เอส ซี เอฟ เอ้กโปรดักส์ ๒๐๐๐ จำกัด ของสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่แห่งประเทศไทยเพื่อพบปะกับสมาชิก ร่วมรับฟังความคิดเห็น แลกเปลี่ยน ข้อมูลข่าวสาร สถานการณ์ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ เช่น สถานการณ์ไข่ไก่ สถานการณ์วัตถุดิบอาหารสัตว์ และข้อมูลข่าวสารอื่น ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่
-ได้รับการเสนอชื่อและคัดเลือกให้เป็นคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ จังหวัดนครปฐม สนับสนุนกิจกรรมสาธารณประโยชน์ให้แก่ประชาชน และนำปัญหาในชุมชนที่ชาวบ้านเดือดร้อนนำเสนอให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง ช่วยดูแลความเรียบร้อยของชุมชนและเป็นปากเสียงให้ชาวบ้านในพื้นที่
ด้านการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
– เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรผู้สนใจ และคณะต่าง ๆ ที่มาศึกษาดูงาน
– จัดตั้งโครงการ “ไข่ไก่ ปันสุข” เพื่อสนับสนุนไข่ไก่เพื่อเป็นอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียนในพื้นที่สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง เป็นการส่งเสริมให้เด็กได้รับประทานไข่ไก่สด ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน โดยมีโรงเรียนที่อยู่ในความอนุเคราะห์ของฟาร์ม จำนวน ๒๐ โรงเรียนและสนับสนุนสิ่งของอื่น ๆ ในการจัดทำกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนเพื่อเป็นรางวัลให้แก่เด็ก ๆ ในชุมชน
– สนับสนุนไข่ไก่ น้ำดื่มเครื่องดื่ม ยาฆ่าเชื้อชุดตรวจและอุปกรณ์ป้องกัน Covid-19 และสิ่งของในการจัดทำโครงการร่วมกับภาครัฐ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองนกกระทุง องค์การบริหารส่วนตำบลลำพญา องค์การบริหารส่วนตำบลดอนตูม องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสระสี่มุม สถานีตำารวจภูธรอำเภอบางเลนในการจัดทำโครงการเพื่อมอบไข่ไก่ให้แก่ครอบครัวที่มีปัญหาขาดแคลน ประสบปัญหาการขาดสภาพคล่อง ประสบปัญหาอุทกภัยน้ำท่วม ผู้สูงอายุหรือเป็นผู้ป่วยติดเตียงและเด็ก ๆ ในชุมชนวัยที่กำลังเจริญเติบโตและส่งเสริมให้ทานไข่ไก่ที่เป็นโปรตีนที่ดีต่อทุกช่วงวัย
-สนับสนุนรางวัลในงานวัดตามเทศกาลต่าง ๆและบริจาคทรัพย์เพื่อซื้อสิ่งของที่จำเป็นต่อชมรมต่าง ๆในการจัดทำโครงการร่วมกับชุมชน ได้แก่ ชมรมผู้สูงอายุอำเภอบางเลน ตัวแทนเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบางเลนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพหลักตำบล ๑๙ ตำบล จิตอาสาผู้สูงอายุ สมาพันธ์ SME จังหวัดนครปฐม คณะกรรมการตรวจสอบการทำงานของตำรวจ โรงเรียน ตามชุมชนพื้นที่ใกล้เคียงและตามจุดบริการประชาชนเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่
ที่ได้รับความเดือนร้อนจากวิกฤติในสถานการณ์ต่าง ๆ
– ซื้อที่ดินเพื่อเป็นทางเข้า – ออกใหม่ แต่เมื่อทำการวัดที่ดินพบว่าพื้นที่เลยไปถึงถนนที่ชาวบ้านใช้สัญจร จึงได้แบ่งที่ดินส่วนนี้บริจาคให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลคลองนกกระทุงได้ทำการปรับปรุงเป็นถนนคอนกรีตและฟาร์มได้ติดโคมไฟโซลาร์เซลล์เพื่อเป็นแสงสว่างในเวลากลางคืน
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๑. นำซากไก่ที่ตายมาเลี้ยงจระเข้เพื่อกำจัดซากและเพิ่มมูลค่าโดยไม่มีต้นทุนด้านอาหารแทนการนำซากไก่ไปทิ้งหรือเผาอันเป็นตัวการให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
๒. ติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่หลังคาโรงเรือนเลี้ยงไก่และอาคารสำนักงาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายกระแสไฟฟ้าและลดภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นทางรอดของอาชีพเกษตรอีกทางหนึ่ง
๓. ปลูกต้นไม้บริเวณฟาร์มเป็นจำนวนมาก ช่วยลดโลกร้อน ลดกลิ่นรบกวนกับชาวบ้านบริเวณใกล้เคียง