“นภินทร” เดินหน้าขึ้นทะเบียน GI “เตยหอมปทุม” ส่งเสริมปลูกเพื่อการค้า สร้างรายได้สู่เกษตรกรในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

a4601c9fbb3df59d9b9a42080442ae0135750 1 scaled

“พาณิชย์” ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “เตยหอมปทุม” สินค้าตัว GI ตัวล่าสุด คุณภาพดี มีอัตลักษณ์ กลิ่นหอม สีสวย กอใหญ่ ใบกว้างยาว และผิวใบมันเงา เป็นที่นิยมและต้องการอย่างมากในตลาดผู้บริโภค สร้างชื่อเสียงและรายได้สู่เกษตรกรในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง 

20250515e79eb8cd9d963736103395d7a750661d135749

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า “กระทรวงพาณิชย์ มีนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก โดยใช้ประโยชน์จากการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI เพื่อคุ้มครองสินค้าท้องถิ่นชุมชนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในพื้นที่แหล่งผลิตสินค้าในแต่ละท้องถิ่น สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ตลอดจนส่งเสริมการจัดทำระบบควบคุมคุณภาพสินค้าเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค และขยายช่องทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้สินค้า GI เป็นสินค้าสำคัญที่ขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power ตามนโยบายของรัฐบาล ล่าสุดกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศขึ้นทะเบียน “เตยหอมปทุม” เป็นสินค้า GI ลำดับที่ 3 ของจังหวัดปทุมธานี ต่อจากกล้วยหอมทองปทุม และข้าวหอมปทุมธานี ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ไปก่อนหน้านี้”

202 2

ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศขึ้นทะเบียน GI “เตยหอมปทุม” แหล่งปลูกใบเตยที่มีอัตลักษณ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ด้วยพื้นที่ของจังหวัดปทุมธานี เป็นดินเหนียวเกิดจากตะกอนลำน้ำผสมกับตะกอนภาคพื้นมหาสมุทรเดิม ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ มีน้ำขังเพียงพอ ส่งผลให้เตยหอมปทุมเจริญเติบโตได้ดีและมีอัตลักษณ์พิเศษ คือ มีกลิ่นหอม สีสวย กอใหญ่ ใบกว้างยาว ผิวใบมันเงา และกากใยของใบนิ่ม เมื่อตัด ขยี้ใบ หรือนำใบมาต้มจะได้น้ำสีเขียวเข้มและมีกลิ่นหอมมาก แตกต่างจากเตยหอมในพื้นที่อื่น เตยหอมปทุมจึงเป็นที่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับทำขนมไทย เช่น ขนมเปียกปูน ขนมชั้น กาละแม สังขยา และลอดช่อง เป็นต้น และเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดผู้บริโภค จนกลายเป็นพืชท้องถิ่นที่เกษตรกรในพื้นที่นิยมปลูกมากที่สุด นับว่าเป็นแหล่งเพาะปลูกที่มีปริมาณและพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุดในประเทศไทย สร้างชื่อเสียงและรายได้สู่เกษตรกรในพื้นที่กว่า 32 ล้านบาทต่อปี

20 4

นายนภินทร กล่าวทิ้งท้ายว่า “กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะเดินหน้าผลักดันการควบคุมคุณภาพสินค้าเตยหอมปทุมต่อไป เพื่อรักษาคุณภาพและมาตรฐานของสินค้า ทั้งนี้ ขอเชิญทุกท่านร่วมสนับสนุนผู้ประกอบการ GI และอุดหนุนสินค้า GI ไทย โดยติดตามข้อมูลสินค้า GI รายการต่างๆ และข่าวสารความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องได้ที่ เพจ Facebook : GI Thailand หรือสอบถามเพิ่มเติมโทรสายด่วนกรมทรัพย์สินทางปัญญา 1368

202 3
20 5
c5212795d11e4f570c5076711ee979135750
2 2