ฤดูฝนมาแล้ว ชป.เดินหน้าบริหารจัดการน้ำลดผลกระทบประชาชน

ศููนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) กรมชลประทาน เปิดเผยภายหลังกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ประกาศประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว ว่า ได้เตรียมแผนบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูฝนปี 2568 ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เดินหน้าใช้ระบบชลประทานทั่วประเทศบริหารจัดการน้ำอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อลดและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชให้มากที่สุด ตามนโยบายของรัฐบาล และ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

S 2490396 scaled

สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ ปัจจุบัน (15 พ.ค. 68) มีปริมาณน้ำใช้รวมกัน 42,561 ล้าน ลบ.ม. (56% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) สามารถรองรับน้ำได้รวมกันกว่า 33,700 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 12,960 ล้าน ลบ.ม. (52% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) ยังสามารถรองรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 11,900 ล้าน ลบ.ม.

S 2490397 scaled

ด้านการเพาะปลูกพืชฤดูฝน ได้สนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกข้าวนาปีตามความเหมาะสม เน้นใช้น้ำฝนเป็นหลัก และใช้น้ำชลประทานเสริมกรณีฝนทิ้งช่วง คาดการณ์จะมีพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูฝนทั่วประเทศกว่า 18 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวนาปี 17 ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก 1 ล้านไร่

S 2490398

ทั้งนี้ ตามประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการในวันนี้ (15 พ.ค. 68) มีการคาดการณ์ว่าปริมาณฝนในปี 2568 มีแนวโน้มสูงกว่าค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 5 โดยเฉพาะในช่วงต้นฤดูฝนถึงเดือนกรกฎาคม ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนชุกกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 5–10 ส่วนช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นกรกฎาคม อาจเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงได้ ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทานที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภัยแล้งอยู่เป็นประจำ จึงขอให้เกษตรกรวางแผนการใช้น้ำอย่างเหมาะสมกับปริมาณน้ำต้นทุนในแต่ละพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบต่อภาคการเกษตร และในช่วงครึ่งหลังของฤดูฝน ประมาณเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม คาดว่าปริมาณฝนส่วนใหญ่จะใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยปกติ ยกเว้นภาคใต้ฝั่งตะวันออก ที่คาดว่าจะมีฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 10

S 2490400

อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม จะเป็นช่วงที่ฝนตกหนักต่อเนื่อง และมีความเสี่ยงจากพายุหมุนเขตร้อน คาดการณ์ว่าปีนี้จะมีพายุเข้าประเทศไทย 1–2 ลูก โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ในขณะที่ปรากฏการณ์เอลนีโญ่–ลานีญ่า (ENSO) ปัจจุบันเข้าสู่สภาวะเป็นกลาง คาดว่าจะคงอยู่ต่อเนื่องไปจตถึงเดือนกันยายน–พฤศจิกายน 2568 ทำให้ฝนปีนี้กระจายตัวดี และมีปริมาณสูงกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย

S 2490401

สำหรับการเตรียมความพร้อมรับมือฤดูฝน กรมชลประทานได้กำชับให้โครงการชลประทานทั่วประเทศ ปฎิบัติตาม 9 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2568 ตามมติของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) อย่างเคร่งครัด มีการเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด บริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ตรวจสอบอาคารชลประทานให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เตรียมเครื่องจักรกล เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน่ำอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ยังได้เน้นย้ำให้บูรณาการทำงานร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนให้ได้มากที่สุด

S 2490403