เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ปี 2568 “ศักดิ์ชัย ตันอริยะมีศิริกุล” กับอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ

ศักดิ์ชัย 1

นายศักดิ์ชัย ตันอริยะมีศิริกุล ๕๓ ปี บ้านเลขที่ ๓/๑ หมู่ที่ ๔ ตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

การศึกษา ประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนวัดโชติทายะการาม

ศักดิ์ 1



ผลงานดีเด่น ความคิดริเริ่มและการพยายามฟันฝ่าอุปสรรคในการสร้างผลงาน

แนวคิดริเริ่มในการประกอบอาชีพและหลักการในการทำางาน

๑. พื้นฐานฐานะทางบ้านยากจนจึงไม่ได้เรียนต่อ ทำอาชีพค้าขายผลไม้อยู่หลายปี จนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี พ.ศ.๒๕๔๐ ทำให้ขาดสภาพคล่องและมีหนี้สินจึงมองหาอาชีพอื่น โดยมาเริ่มต้นทดลองเลี้ยงปลาสวยงามด้วยเงินทุนเพียงแค่หลักร้อย โดยซื้อปลาหมอสีมาลาวีปลาทอง และบ่อซีเมนต์ มาทดลองเพาะพันธุ์จนสำเร็จจึงเริ่มนำเงินจากการรับจ้างมาซื้ออุปกรณ์การสร้างบ่อเพื่อทำบ่อเลี้ยงปลาเองเพื่อลดต้นทุน ใช้เวลาเรียนรู้เกือบ๒ ปี จึงสามารถขายได้ จากนั้นเริ่มมองหาตลาดโดยไปติดต่อขายตามร้านขายปลาต่าง ๆ และรวบรวมปลาไปขายที่ต่างจังหวัด

ศักดิ์ 4

ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้มาเช่าที่ดินในเขตอำเภอบ้านโป่ง สร้างบ่อเลี้ยงปลาเพิ่มขึ้น และเริ่มหาวิธีเพาะพันธุ์ปลาคาร์ปและปลาทองเพื่อผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด

๒. ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมประมง และพัฒนาฟาร์มจนได้รับการรับรองมาตรฐานเพื่อการส่งออกปี พ.ศ.๒๕๕๘ เกิดวิกฤติภัยแล้งจึงได้เปลี่ยนมาเลี้ยงปลาทองเป็นหลัก เนื่องจากสามารถเลี้ยงในบ่อปูนและบ่อดินที่น้ำน้อยได้ และมองว่าหากพัฒนาสายพันธุ์ปลาทองใหม่ ๆ ทำสีสันให้เหมือนปลาคาร์ปเช่น สามสี ขาวดำ สีดำ แต่หัวแดงจะสามารถแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ได้ จึงเริ่มทำการตลาดด้วยการโพสต์โชว์ปลาทองสามสี และสีแปลก ๆ ไปในกลุ่มผู้เลี้ยงปลาทอง ได้รับการตอบรับที่ดีมาก ขณะนั้นมีลูกค้าจากสหรัฐอเมริกาได้สอบถามกรมประมงเรื่องฟาร์มปลาที่มีคุณภาพส่งออก กรมประมงจึงได้ส่งชื่อฟาร์มไปให้พิจารณา เนื่องจากได้รับมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการส่งออกแล้ว เป็นจุดเริ่มต้นในการส่งออกปลาทองไปต่างประเทศและทั่วโลก ปัจจุบันฟาร์มมีการส่งออกไปหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา เปรู ตุรกี อิตาลี อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ จีน ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เป็นต้น

ศักดิ์

การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในการพัฒนาการเกษตรของตนเอง ในการเพิ่มผลผลิตลดต้นทุน ฯลฯและการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสมกับพื้นที่และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

  • การใช้ผ้ายางปูพื้นกับตาข่ายไนล่อนสองชั้น ปูในบ่อดินที่ใช้เลี้ยงปลา เพื่อป้องกันศัตรูของปลาทองและให้เป็นที่สะสมของหนอนแดงและอาหารธรรมชาติของปลา ทำให้ปลาทองมีสุขภาพดี สามารถลดต้นทุนค่าอาหารได้
  • การสร้างบ่อปูนขนาดใหญ่ในการเลี้ยงปลาคัดเกรดคุณภาพเพื่อให้ปลาเจริญเติบโตได้ดี มีคุณภาพโดยสร้างบ่อที่มีขนาด ๑๐ x ๑๐ เมตร ลึก ๑ เมตร โดยออกแบบหล่อบ่อเพื่อให้สามารถสร้างบ่อได้เองและรวดเร็ว แข็งแรงทนทาน ซึ่งใช้ต้นทุนในการสร้าง ๑ แสนบาท/ บ่อ ได้ผลผลิตปลาทองคุณภาพสูง ประมาณ ๑๕๐ ตัว/บ่อ สามารถขายได้ราคา ตัวละ ๕๐๐ – ๒,๕๐๐ บาทใช้เวลาเลี้ยง ๔-๕ เดือน
  • การทำอาหารปลาใช้เอง ทางฟาร์มได้ทำอาหารปลาแรกเกิดโดยใช้ไข่ตุ๋นผสมกับวิตามินต่าง ๆ ผสมกับไรแดงแช่แข็ง ทำให้สามารถเลี้ยงลูกปลาทองวัยอ่อนได้โดยไม่ต้องใช้ลูกไรแดงที่มีชีวิต มีการนำาอาหารปลาจากในท้องตลาดมาเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการผสมวิตามินซีวิตามินรวมต่าง ๆ แร่ธาตุ สาหร่ายสไปรูลิน่า และโปรไบโอติก เวย์โปรตีน ทำให้อาหารมีคุณภาพเหมาะสม ทำให้ปลาเจริญเติบโตได้ดี ราคาต้นทุนไม่สูงมาก
  • การตั้งระบบเปิดปิดระดับน้ำในบ่อดินอัตโนมัติเพื่อระบายน้ำเสียและเติมน้ำใหม่ให้ปลาได้เจริญเติบโตเร็วขึ้น
  • แก้ปัญหาค่าไฟที่สูงขึ้นโดยติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้มากกว่า ๘๐%
ศักดิ์ชัย 4

ผลงานและความสำเร็จของผลงานทั้งปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนระยะเวลาที่ปฏิบัติงานและความยั่งยืนในอาชีพ

ดำเนินธุรกิจการเพาะเลี้ยงปลาทองตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๗ รวม ๒๔ ปี ปัจจุบันสามารถซื้อที่ดินในการทำฟาร์มได้ ๑๕ ไร่ รวมกับที่เช่าปัจจุบันแล้วมีเนื้อที่ในการทำฟาร์มมากกว่า ๒๓ ไร่

ศักดิ์ชัย 5

ผลงานและความสำเร็จของผลงาน

๑. ดำเนินกิจการเพาะเลี้ยงปลาทองสวยงามรวม ๒๓ ปี เพาะพันธุ์และพัฒนาสายพันธุ์ปลาทอง สามสีแพนด้า ดำหัวแดง และสีแปลกใหม่เป็นรายแรก ๆจนเป็นที่นิยมแพร่หลาย

๒. ได้รับรางวัลจากการประกวดในงานระดับประเทศและต่างประเทศ ได้รางวัลถ้วยพระราชทาน ๖ ใบได้รับรางวัลต่าง ๆ จากการประกวดในงานระดับประเทศ ๕๓ รางวัล ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดในต่างประเทศ ๓ รางวัล

ศักดิ์ 6

๓. สามารถผลิตปลาทองคัดเกรดได้ ๑๐,๐๐๐ ตัว/เดือนเพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและตลาดต่างประเทศสามารถส่งออกปลาทองคุณภาพสูงไปต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก อังกฤษ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย เปรู อินเดีย และเนเธอแลนด์ เป็นต้น

๔. รายได้รวมทั้งสิ้น ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท/เดือน ดังนี้

จำหน่ายปลาทองไปต่างประเทศ ๔๐๐,๐๐๐ บาท/เดือน

จำาหน่ายปลาทองในประเทศ ๕๐,๐๐๐ บาท/เดือน

รวบรวมสัตว์น้ำชนิดอื่น ๓๗๐,๐๐๐ บาท/เดือน

จำหน่ายอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์น้ำ ๑๘๐,๐๐๐ บาท/เดือน

ต้นทุนการผลิตประมาณ ๗๘๐,๐๐๐ บาท/เดือน

กำไรสุทธิประมาณ ๒๒๐,๐๐๐ บาท/เดือน

ศักดิ์ 8

๕. มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีพื้นที่มากกว่า ๒๑ ไร่ บ่อปูน จำนวน ๒๙๑ บ่อ และบ่อดิน จำนวน ๓๘ บ่อ

๖. ปัจจุบันได้ดำาเนินการจดทะเบียนบริษัทเพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพในการส่งออกในนามบริษัท เอสซี.กรุ๊ป อควาเรี่ยม จำกัด โดยมีแผนการพัฒนาสายพันธุ์ปลาใหม่ ๆ และเพิ่มการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด หาลูกค้าเพิ่มทั้งในเเละต่างประเทศพัฒนาฟาร์มเป็นแหล่งท่องเที่ยว กำหนดเป้าหมายปริมาณผลผลิตไว้๙๑๒,๐๐๐ ตัว/ปีคิดเป็นมูลค่าผลผลิตโดยประมาณ ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท/ปี

ศักดิ์ 9

๗. ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อการส่งออก (GAP) ได้รับการขึ้นทะเบียนสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการส่งออก (สอ.๓) และทะเบียนสถานประกอบการรวบรวมสัตว์น้ำเพื่อการส่งออก (สอ.๔) จากกรมประมง

ความเป็นผู้นำและการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในด้านต่าง ๆ

๑. เป็นผู้เผยแพร่ความรู้ให้กับส่วนรวม รวมถึงการเผยแพร่ในสื่อออนไลน์ มีคณะนักศึกษาจากโรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมถึงภาครัฐและเอกชนเข้ามาดูงาน ได้มาศึกษาและฝึกปฏิบัติภายในฟาร์ม เป็นที่ปรึกษาด้านต่าง ๆ และเป็นอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน

๒.เป็นวิทยากรในโครงการต่างๆ ของกรมประมง เช่น โครงการคลินิกปลาสวยงามเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โครงการฝึกอบรมเกษตรกรและศึกษาดูงาน หลักสูตร “การพัฒนา Smart Farmer ด้านสัตว์น้ำสวยงาม” เป็นต้น

๓. สนับสนุนหน่วยงานการศึกษาในการเข้ามาศึกษาวิจัยภายในฟาร์ม

๔. เป็นผู้สนับสนุนการจัดแสดงตามนิทรรศการต่าง ๆ ของหน่วยงานราชการ

๕. เป็นสมาชิกแปลงใหญ่ปลาสวยงาม จังหวัดราชบุรีและเป็นแปลงสาธิตแปลงแรกของประเทศไทย

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๑. ที่ตั้งไม่ติดเงื่อนไขของการใช้พื้นที่ ไม่อยู่ในเขตป่าสงวน หรือเขตหวงห้ามของราชการ

๒. การทำระบบโซลาร์เซลล์ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างเป็นรูปธรรม

๓. นำเศษอาหาร มูลปลา ดินก้นบ่อ มาใช้ทำปุ๋ย ปลูกต้นไม้

๔. การใช้ระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย ด้วยการดูดน้ำเสียจากการเลี้ยงปลาเข้าสู่บ่อบำบัดและใส่จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียจนน้ำใสก่อนปล่อยลงสู่พื้นที่สาธารณะ

๕. ขยะภายในฟาร์มจะทิ้งในถังขยะที่มีฝาปิดสนิทและทำการแยกประเภทขยะ