เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2568 สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช”จักรินทร์ โพธิ์พรม”อาชีพ ปลูกกล้วยหอมทอง

สวน

นายจักรินทร์ โพธิ์พรม อายุ ๔๗ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๕๙ หมู่ที่ ๒ ตำบลบ้านโคก อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี

การศึกษา ปริญญาตรี สาขาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สสสส

ผลงานดีเด่น

แนวคิดริเริ่มและความพยายามฟันฝ่าอุปสรรคในการสร้างผลงาน

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ “แนวทางนี้ที่พ่อชี้แนะ” ริเริ่มด้วยการทำสวนกล้วยหอมทอง เนื่องจากคุณพ่อ คุณแม่มีอายุมากขึ้น เริ่มเหนื่อยจากการเป็นลูกจ้าง อยากกลับมาอยู่บ้านเกิดที่จังหวัดอุดรธานีประกอบอาชีพด้านการเกษตร จึงเกิดแนวคิดว่าจะปลูกพืชอะไร คุณพ่อ จึงได้แนะนำาให้ปลูกกล้วยหอมทอง เพราะในขณะนั้นกล้วยหอมทองเป็นพืชที่สร้างรายได้ดี ทำให้มองเห็นโอกาสด้านการตลาดของกล้วยหอมทอง จึงได้ไปศึกษาดูงานในแหล่งปลูกกล้วยหอมทองตามจังหวัดอื่น ๆ จนไปค้นพบสวนกล้วยหอมทองที่จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีลำต้น แข็งแรง ไม่ล้มง่าย เครือและลูกใหญ่ และได้ซื้อหน่อกล้วยมาทดลองปลูก โดยเริ่มจากปรับเปลี่ยนพื้นที่เดิมที่ว่างเปล่าแบ่งพื้นที่ปลูกกล้วยหอมทอง จำนวน ๓ ไร่

ดดด

ปี ๒๕๔๙ “๕ ปี ที่อิสราเอล” นายจักรินทร์ โพธิ์พรม เดินทางกลับมาจากประเทศอิสราเอล ด้วยความพร้อมทั้งเงินทุน ความรู้ และประสบการณ์กลับมาทำสวนกล้วยหอมทอง โดยวางผังแปลงการปลูกกล้วยหอมทองเพื่อการบริหารจัดการแปลง ขยายแปลงปลูกจากเดิม ๓ ไร่ เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี และมีติดตั้งระบบน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกล้วยหอมทองให้ได้คุณภาพ และเพื่อลดต้นทุนด้านแรงงาน ร่วมกับการใช้พลาสติกคลุมแปลงพื่อช่วยรักษาน้ำหรือความชื้น อุณหภูมิ และควบคุมวัชพืชภายในแปลงปลูก เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่ได้คุณภาพ

วววว

ในปี ๒๕๕๒ การพัฒนาใฝ่รู้ นายจักรินทร์ โพธิ์พรม ได้รวบรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมทอง เพื่อจัดตั้ง“วิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทอง อำเภอสร้างคอม”และได้รับการคัดเลือกให้เป็น ประธานวิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทอง ซึ่งมีสมาชิกแรกเริ่ม จำนวน ๗ คน

เก

ในช่วงที่ริเริ่มการทำเกษตร ยังขาดความรู้และประสบการณ์ในการผลิต อีกทั้งยังมีปัญหาด้านการตลาด แต่นายจักรินทร์ โพธิ์พรม มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองจึงได้สมัครเข้ารับการอบรม ในโครงการ Young Smart Farmer (YSF) และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเป็นประธาน Young Smart Farmer (YSF) ของจังหวัดอุดรธานี(ช่วง ปี ๒๕๕๘ – ๒๕๖๕) และได้ร่วมทำงานแบบบูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทน (YSF) ไปศึกษาดูงานปัจจุบัน หลังจากได้รับการพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญมากขึ้น จึงมีความคิดที่จะรวบรวมสมาชิกผู้ปลูกกล้วยหอมทอง และได้ขยายเครือข่ายภายในจังหวัดอุดรธานี เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน ๑๑ ราย และได้เปลี่ยนชื่อวิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทอง เป็น “วิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทองสานน้ำโขง”

ดดด 1

สาน มาจากคำว่า อีสาน หรือภาคอีสาน

น้ำโขง มาจากกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง

นายจักรินทร์ โพธิ์พรม ได้นำความรู้ด้านการเกษตรมาปรับใช้ในแปลงกล้วยหอมทอง พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรพื้นที่ใกล้เคียง และได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทอง อำเภอสร้างคอม เดิมมีสมาชิกทั้งหมด ๗ ราย ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น วิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทองสานน้ำโขง มีสมาชิก ๑๓๒ ราย จากพื้นที่ ๑๐ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร นครราชสีมา มุกดาหาร ขอนแก่น หนองคาย เลย มหาสารคาม และจังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่รวม ๖๐๐ ไร่ โดยมีเครือข่ายผู้ผลิตกล้วยหอมทองทั้งภายในจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดใกล้เคียง

โตณะ

ผลงานและความสำเร็จของผลงาน ทั้งปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนระยะเวลาที่ปฏิบัติงานและความยั่งยืนในอาชีพ

การผลิตตามระบบการจัดการคุณภาพ GAP พืชเพื่อให้ได้คุณภาพมาตรฐาน

๑. การจัดการสุขลักษณะสวน พื้นที่ปลูกมีการจัดการในแปลงปลูกพร้อมจัดการของเสียจากกระบวนการผลิตพืชให้เกิดประโยชน์และมีการวิเคราะห์ดิน เพื่อปรับสภาพให้เหมาะสมกับกล้วยหอมทองไม่อยู่ในสภาพที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนวัตถุหรือสิ่งที่เป็นอันตรายต่อการผลิต

แหล่งน้ำ มีการใช้น้ำจากคลองธรรมชาติและน้ำบาดาล มีการบำารุงรักษาแหล่งน้ำจากต้นน้ำเพื่อให้น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตมีคุณภาพตามมาตรฐาน ปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี

นนน

การเก็บรักษาสารเคมี/การใช้สารเคมีทางการเกษตร เกษตรกรไม่มีการใช้สารเคมีทางการเกษตร มีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยใช้ชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis, BS) และเชื้อราบิวเวอเรีย

มมมม

ความยั่งยืนและความต่อเนื่องในระบบการจัดการคุณภาพ GAP พืช

๑. เกษตรกรได้รับมาตรฐาน GAP ตั้งแต่ปี ๒๕๖๕จนถึงปัจจุบัน อีกทั้งเป็นต้นแบบให้เกษตรกรทั่วไปในการจัดการระบบการผลผลิตกล้วยหอมทอง และสร้างผลงานด้านการผลิตกล้วยหอมทอง โดยได้รับรางวัลต่าง ๆ ด้านการบริหารจัดการกล้วยหอมทองจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

-ได้รับตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.) อำเภอสร้างคอม

-เป็นประธาน “วิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทองสานน้ำโขง”

-เป็นแปลงปลูกกล้วยหอมทองต้นแบบระดับจังหวัดอุดรธานี

๒. การสร้างเครือข่ายผู้ผลิตกล้วยหอมทองคือ “วิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทองสานน้ำโขง” มีเกษตรกรสมาชิก ๑๓๒ ราย มีเกษตรกรเครือข่าย ๑๐ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร นครราชสีมา มุกดาหาร ขอนแก่น หนองคาย เลย มหาสารคาม และจังหวัดอุบลราชธานี

ความเป็นผู้นำและการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในด้านต่าง ๆ

เป็นผู้นำกลุ่มหรือชุมชน

-ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทองสานน้ำโขง ตำบลบ้านโคก อำเภอสร้างคอม

-เป็นผู้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตกล้วยหอมทองและเป็นต้นแบบการผลิตกล้วยหอมทองได้มาตรฐาน

-อดีตประธาน Young Smart Farmer ของจังหวัดอุดรธานี

-ได้รับตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.) อำเภอสร้างคอม

การทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม

-เป็นสถานที่ศึกษาดูงานของนักเรียน นักศึกษา หน่วยงานจากภาครัฐ และเกษตรกรทั่วไป ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ – พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวน ๒๐ ครั้ง ผู้เข้าศึกษาดูงานจำนวน ๓๐๐ ราย

-เป็นวิทยากร ถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการผลิตกล้วยหอมทองให้แก่นักเรียน นักศึกษา เกษตรกรผู้สนใจทั่วไป จำนวน ๓๐ ครั้ง ผู้เข้าร่วมอบรมรวมทั้งหมด ๓๐๐ ราย

-การช่วยเหลืองานด้านสาธารณประโยชน์ มีการสนับสนุนกล้วยหอมทองให้แก่โรงพยาบาลบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วยโควิด ๑๙

-งานด้านศาสนาประโยชน์ ได้ถวายที่ดินในการสร้างสำนักสงฆ์นาคูณจันทร์นิมิต จำานวน ๒๐ ไร่ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนใช้ในการประกอบศาสนกิจ

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๑. การจัดการสุขลักษณะที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

เกษตรกรมีการนำทุกส่วนของกล้วยหอมทองมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อเป็นการลดปริมาณขยะในการผลิตพืชและช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในแปลงกล้วยหอมทอง

๒.การใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนการใช้สารเคมี การใช้สารชีวภัณฑ์ นายจักรินทร์ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ โดยถ่ายทอดองค์ความรู้ในการผลิตสารชีวภัณฑ์ให้แก่สมาชิกในครัวเรือน เพื่อใช้ในการป้องกันและกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทดแทนการใช้สารเคมีในแปลงปลูกกล้วยหอมทอง เช่น การผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา เพื่อป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าในกล้วยหอมทอง

การลดการเผา นำใช้เศษวัสดุธรรมชาติที่เหลือในแปลง เช่นต้นกล้วย ใบกล้วย มาทำเป็นปุ๋ยหมัก โดยการสับให้เป็นชิ้นเล็ก เพื่อให้แห้งเร็ว ไม่เป็นที่สะสมของโรคและแมลง และนำมาใส่แปลงปลูกภายใต้พลาสติกและปล่อยให้ย่อยสลายเอง เป็นปุ๋ยเพื่อใช้ในสวนของตนเองเพื่อลดการเผาเศษวัสดุในพื้นที่ ลดมลพิษทางอากาศอีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมี