นายสุวิทย์ เกิดศรี อายุ ๕๘ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๑๑/๑ หมู่ที่ ๖ ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
การศึกษา เกษตรศึกษา สาขาสัตวศาสตร์ (วท.บ.)
อาชีพ ครูชำนาญการพิเศษ
ผลงานดีเด่น ความคิดริเริ่ม และความพยายามฟันฝ่า อุปสรรคในการสร้างผลงาน
นายสุวิทย์ เกิดศรี ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกร โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๑๑๑ (บ้านทุ่งนางแก้ว) จังหวัดสตูล
ปี ๒๕๕๕ ได้รับมอบหมายให้สอนกลุ่มสาระการงานอาชีพ พบว่า นักเรียนติดโทรศัพท์ ไม่มีความอดทน ขาดความรับผิดชอบ และมีทัศนคติที่ไม่ดีต่ออาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเป็นอาชีพหลักของผู้ปกครองและชุมชนอีกทั้งผู้ปกครองต้องการให้บุตรหลานทำงานนอกภาคการเกษตร เนื่องจากมองว่าเป็นอาชีพที่เหนื่อยและลำบาก จึงหาแนวทางในการปรับเปลี่ยนแนวคิดและพฤติกรรมของนักเรียน
ปี ๒๕๕๖ – ปัจจุบัน ได้รับมอบหมายให้เป็นที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๑๑๑(บ้านทุ่งนางแก้ว)
๑. เริ่มแรกให้ยุวเกษตรกรทดลองปลูกผักและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเด็ก ๆ ยังไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเท่าไรนัก จึงกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจโดยปลูกผังทัศนคติที่ดีต่ออาชีพเกษตรกรรมพร้อมกับฝึกให้ยุวเกษตรได้ลงมือปฏิบัติจริง และมีการ
จัดสรรรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตของกลุ่มให้กับสมาชิกทุกคน ทำให้ยุวเกษตรกรเริ่มสนใจทำกิจกรรมด้านการเกษตรและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น
๒.เป็นผู้นำในการดำเนินงานและจัดตั้งฐานการเรียนรู้ของกลุ่มยุวเกษตรกร พร้อมทั้งให้คำแนะนำ สนับสนุน ช่วยเหลือ และติดตามการปฏิบัติงานของสมาชิกกลุ่มทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านอย่างสม่ำเสมอ
๓.เสริมสร้างและพัฒนาให้ยุวเกษตรกรมีทักษะด้านการเกษตร ทักษะการดำเนินชีวิตขั้นพื้นฐาน สามารถนำไปต่อยอดการดำเนินชีวิตในอนาคตได้ เช่น การทำงานเป็นทีม การคิดวิเคราะห์ การวางแผน
๔.สนับสนุนให้ยุวเกษตรกรได้พัฒนาตนเองและกล้าแสดงออก จากการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆและจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคคลที่สนใจและเข้ามาศึกษาดูงานของโรงเรียน รวมถึงยุวเกษตรกรสามารถขยายผลการเรียนรู้ด้านการเกษตรจากโรงเรียนสู่ครอบครัวและชุมชนได้
๕. ร่วมกับคณะครูโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๑๑๑(บ้านทุ่งนางแก้ว) พัฒนากระบวนการเรียนรู้ โดยบูรณาการงานกลุ่มยุวเกษตรกรกับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและอีก ๗ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งใช้ฐานการเรียนรู้ของกลุ่มเป็นแหล่งการเรียนของนักเรียน เช่น ฐานการเรียนรู้ การปลูกข้าว ใช้ประกอบการสอนร้องรำเพลงเกี่ยวข้าวในวิชานาฏศิลป์
นายสุวิทย์ เกิดศรี ขับเคลื่อนการดำเนินงานและพัฒนากิจกรรมของกลุ่มยุวเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่องโดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน หน่วยงานท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน เกษตรกรและผู้ปกครอง ให้เกิดความร่วมมือ ช่วยเหลือและสนับสนุนการพัฒนากลุ่มยุวเกษตรกรให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน
นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ ด้านการเกษตรและลงมือทำให้ดูเป็นแบบอย่างโดยทำการเกษตรที่บ้าน ได้แก่ การทำสวนยางพารา ๑๐ ไร่และทำการเกษตรแบบผสมผสาน รอบ ๆ บริเวณบ้านพื้นที่ ๑.๕ ไร่ ชื่อว่า “สวนตานุ้ย” มีการออกแบบภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม โดยจัดพื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัว ผักพื้นบ้าน ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้ประโยชน์ แปลงขยาย
และอนุรักษ์พันธุ์บอนสี แปลงทดลองทำกิจกรรมการเกษตรใหม่ ๆ ผสานแนวทางตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเลือกใช้วิธีการทางชีวภาพแทนการใช้สารเคมีทางการเกษตร ผลผลิตที่ได้ใช้สำหรับบริโภคในครัวเรือนและแบ่งปันให้กับเพื่อนบ้านพร้อมทั้งนำองค์ความรู้ที่ได้ทดลองปฏิบัติที่บ้านจนประสบความสำเร็จ นำมาขยายผลความรู้ให้กับกลุ่ม
ยุวเกษตรกรที่โรงเรียน เช่น อุปกรณ์ให้อาหารไก่แบบอัตโนมัติการปลูกผักบุ้งแก้วในบ่อพลาสติก เป็นต้น จึงทำให้นายสุวิทย์ เกิดศรี มีผลการดำเนินงานเป็นที่ประจักษ์ได้รับการยอมรับจากยุวเกษตรกร ผู้บริหาร คณะครูและผู้ปกครองในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกร
ผลงานและความสำเร็จของผลงานทั้งปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนระยะเวลาที่ปฏิบัติงานและความยั่งยืนในอาชีพ
๑. พัฒนาสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร จำานวน ๓๓ คนให้มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพเกษตรกรรม เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกลุ่มยุวเกษตรกร รวมถึงสามารถขยายผลสู่ครอบครัวและชุมชนได้
๒. เป็นผู้นำในการจัดตั้งฐานการเรียนรู้ โดยบูรณาการงานกลุ่มยุวเกษตรกรกับ ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิชาการและการเกษตรสำหรับยุวเกษตรกร นักเรียนในโรงเรียน และผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน จำนวน ๖ ฐานการเรียนรู้
๑๘ กิจกรรม ได้แก่
-ฐานการเรียนรู้การเลี้ยงปลา
-ฐานการเรียนรู้การทำนา
-ฐานการเรียนรู้การปลูกผักปลอดสารพิษ
-ฐานการเรียนรู้การเลี้ยงไก่ไข่ และเป็ดไข่
-ฐานการเรียนรู้การผลิตปุ๋ยหมัก และน้ำหมัก
-ฐานการเรียนรู้การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
๓. ร่วมกับยุวเกษตรกร คณะกรรมการสภายุวเกษตรกร และคณะครู กำหนดแนวทางการดำเนินงานวางแผน ปฏิบัติงาน แก้ไขปัญหาต่างๆ ในระหว่างปฏิบัติงานของกลุ่ม และร่วมประชุมกลุ่มยุวเกษตรกรประจำเดือน (๑ ครั้ง/เดือน)
๔. ให้คำแนะนำ สนับสนุนความรู้ ทุนและวัสดุอุปกรณ์ ช่วยเหลือ กำกับดูแล ติดตาม และเยี่ยมเยียน การดำเนินงานของสมาชิกและกลุ่มยุวเกษตรกรทั้งกิจกรรมที่โรงเรียนและกิจกรรมส่วนบุคคลที่บ้านอย่างสม่าเสมอ
๕. จัดประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกรให้กับผู้ปกครอง จึงได้รับความไว้วางใจ การยอมรับ และสนับสนุนการดำเนินงานจากผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
๖. ยุวเกษตรกรมีความรู้และทักษะด้านการเกษตรโดยมีการเรียนรู้ตลอดห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่กระบวนการผลิต การแปรรูป และการตลาด สามารถต่อยอดจากการเรียนรู้สู่การสร้างรายได้ระหว่างเรียน
๗. ยุวเกษตรกรกล้าแสดงออก และสามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ประจำฐานการเรียนรู้ เนื่องในโอกาสต่าง ๆ เช่น มีผู้สนใจเข้ามาศึกษาดูงานของกลุ่มยุวเกษตรกร เป็นต้น
๘. ยุวเกษตรกรมีทักษะในการดำเนินชีวิต รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความเสียสละ รู้จักการวางแผนและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
๙. กิจกรรมของกลุ่มยุวเกษตรเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรและด้านเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน
๑๐. เป็นต้นแบบให้กับยุวเกษตรกรในการทำการเกษตร โดยกิจกรรมการเกษตรที่บ้านยังสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานได้
๑๑. ขับเคลื่อนงานกลุ่มยุวเกษตรกรมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๖ – ปัจจุบัน รวม ๑๑ ปี มีผลการดำาเนินงานเป็นที่ประจักษ์ ทำให้ได้รับการยอมรับและสนับสนุนการดำเนินงานจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง
ความเป็นผู้นำและการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในด้านต่าง ๆ
๑. เป็นที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกร โดยเป็นผู้นำในการจัดตั้งและขับเคลื่อนการดำเนินงานกลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๑๑๑ (บ้านทุ่งนางแก้ว) มาตั้งแต่ปี๒๕๕๖ จนถึงปัจจุบัน
๒. เป็นผู้นำในการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อปรับสภาพแวดล้อมโรงเรียนให้สะอาด สวยงาม มีบรรยากาศร่มรื่น
๓. เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้กับกลุ่มยุวเกษตรกร ผู้ปกครอง คนในชุมชน และผู้ที่สนใจ มาศึกษาดูงานในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
- เศรษฐกิจพอเพียง
- อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอดตามแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงโคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง
- การดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกร
- ความรู้ด้านการเกษตร เช่น การปลูกผักปลอดสารพิษ การทำนา การเพาะเห็ดนางฟ้า การเพาะต้นอ่อนผัก การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงปลา เป็นต้น
๔. ยุวเกษตรกร ผู้ปกครอง คณะครู และชุมชนเชื่อมั่นและไว้วางใจ จึงสนับสนุนและร่วมมือในการพัฒนางานกลุ่มยุวเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง
๕. นำยุวเกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ของชุมชน เช่น
- ร่วมกิจกรรมทางศาสนา เช่น งานทอดกฐินสามัคคี กิจกรรมวันเข้าพรรษา กิจกรรมวันมาฆบูชา
- ร่วมกิจกรรมเก็บขยะ และปรับภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนและชุมชน
- ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาชุมชน
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๑. มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทั้งกิจกรรมของกลุ่มยุวเกษตรกรที่โรงเรียนและกิจกรรมการเกษตรของตนที่บ้าน
- การผลิตพืชปลอดสารพิษ เช่น การปลูกผักสวนครัว การปลูกไม้ผล
- ป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน ได้แก่ การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าป้องกันเชื้อรา การใช้สารสกัดธรรมชาติไล่แมลงศัตรูพืช และการใช้กับดักกาวเหนียวดักจับแมลงศัตรูพืช
๒.ส่งเสริมให้กลุ่มยุวเกษตรกรผลิตปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของกลุ่มยุวเกษตรกร เช่น ต้นกล้วย มูลไก่ โดยนำมาใช้เพื่อปรับปรุงบำรุงดินและใช้ในกิจกรรมการผลิตพืชของกลุ่มยุวเกษตรกร
๓. ส่งเสริมให้กลุ่มยุวเกษตรกรผลิตแหนแดงนำมาใช้ผลิตปุ๋ยหมักและอาหารสัตว์
๔. สนับสนุนและเป็นผู้นำยุวเกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- กิจกรรมการคัดแยกขยะ
- กิจกรรมรีไซเคิล นำาขยะมาประดิษฐ์เป็นภาชนะปลูกผัก เช่น ขวดน้ำ ยางรถยนต์
- กิจกรรมการปลูกป่า ๕ ระดับ สร้างระบบนิเวศน์ให้เกื้อกูลกัน
- กิจกรรมปลูกหญ้าแฝกอนุรักษ์ดินและน้ำ