งานเกษตรภาคใต้ครั้งที่ 28 ยกระดับภาคเกษตรไทยสู่ครัวโลก 

รัฐมนตรีเกษตรฯ เปิดงานเกษตรภาคใต้ ครั้งที่ 28 พร้อมบูรณาการทุกภาคส่วนเพิ่มช่องทางการตลาดและส่งเสริมการทำการเกษตรมูลค่าสูง เพื่อสร้างความมั่นคงและยั่งยืน พร้อมชูเกษตรกรเป็นกำลังสำคัญในการยกระดับภาคเกษตรของไทยสู่การเป็นครัวโลก

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงานเกษตรภาคใต้ ครั้งที่ 28 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 21 สิงหาคม 2565 ณ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งงานดังกล่าวเป็นงานที่คณะทรัพยากรธรรมชาติได้จัดเป็นประจำทุกปีเพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการ เป็นเวทีซื้อขายสินค้าและผลผลิตการเกษตร รวมถึงเป็นเวทีให้นักศึกษาพัฒนากระบวนการทำงานด้วยการปฏิบัติงานจริง และเป็นงานประจำปีที่สำคัญของจังหวัดสงขลาและภาคใต้ โดยในปีที่ผ่านมา มีผู้เข้าชมงานประมาณ 5 แสนคน มีเงินหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 400 ล้านบาท ซึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของภาคการเกษตรและชุมชน 

16895BB1 B232 4FDD B2ED 03E83F132784

สำหรับการจัดงานเกษตรภาคใต้ ครั้งที่ 28 ในปีนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เข้าร่วมจัดงานในหัวข้อ“เกษตรยุคโควิด พลิกวิกฤตสู่ความยั่งยืน” เพื่อนำเสนอให้เห็นถึงความสำคัญและบทบาทของภาคการเกษตรในทุกศาสตร์ที่เป็นรากฐานสำคัญในการนำประเทศให้ก้าวผ่านสถานการณ์วิกฤตโดยอาศัยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน ผสมผสานวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างสมดุล และสามารถสร้างมูลค่าแก่ภาคการผลิตทางการเกษตร ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย คืนความสุขให้แก่สังคมเกษตร ชุมชน และประชาชนทั่วไปได้อย่างยั่งยืน 

147F0C0C 2762 47FB 9FF0 659CCE83176D

โดยกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การฝึกอบรม การประชุมสัมมนาทางวิชาการ การแสดงนิทรรศการทางด้านการเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ การประกวดแข่งขัน การสาธิต การให้บริการวิชาการ การแสดงและจำหน่ายสินค้าและผลผลิตเกษตรเครื่องจักรกลการเกษตรและสินค้าอื่น ๆ รวมถึงการแสดงศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนการนำนักเรียนเข้าชมงานโดยนักศึกษาของคณะฯ ซึ่งทุกกิจกรรมมีนักศึกษาเป็นส่วนหลักในการดำเนินการ ทั้งนี้ การจัดงานเกษตรภาคใต้ ได้ช่วยพัฒนาความเข้มแข็งทางด้านการตลาดสินค้าเกษตร พัฒนาสุขอนามัยของอาหาร โดยผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในงานต้องผ่านการอบรมด้านหลักสุขาภิบาลอาหารโดยการสนับสนุนและร่วมมือจากสาธารณสุขจังหวัดสงขลา รวมทั้งการติดตามประเมินผล การมอบรางวัล และการชี้แนะปรับปรุงเพื่อยกระดับการประกอบการให้ดีขึ้นและการสาธิตเผยแพร่ความรู้จากร้านจำหน่ายต้นไม้และสินค้าเกษตร

2C108C3E 2A86 444C 9F3C DEC7BEF5834D

“วันนี้ภาคการเกษตรต้องมีการเปลี่ยนแปลงและต้องมีการทำงานร่วมกัน ทั้งในส่วนของภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ สถาบันการศึกษา และเกษตรกร ซึ่งจะต้องร่วมกันในการพัฒนาเกษตรกรให้รู้จักเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม และใช้งานวิจัยมาเพิ่มความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ หรือเพิ่มมูลค่า จนเกิดเป็นเกษตรมูลค่าสูงและเกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นในยุคโควิด-19 คือ เกษตรกรกลายเป็นพ่อค้าเต็มตัว สามารถขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ รู้จักตลาดจากนโยบายตลาดนำการผลิตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รู้ว่าตลาดต้องการสินค้าประเภทไหน และจะผลิตสินค้าประเภทไหนเพื่อรองรับความต้องการและไม่ให้ล้นตลาด 

BF17076B 895A 47A3 BF17 4678A636C53C

รวมถึงปรับเปลี่ยนจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวสู่การปลูกพืชแบบผสมผสาน ทำให้สามารถยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่ามากยิ่งขึ้น และสำหรับพื้นที่ภาคใต้ มีความได้เปรียบทางด้านภูมิประเทศ โดยเฉพาะในเรื่องของปาล์มและยางพารา แต่กระทรวงเกษตรฯ ต้องการให้ภาคการเกษตรมีทางเลือกมากขึ้น จึงมีการสนับสนุนการปลูกพืชผสมผสาน เช่น พริกไทย โกโก้ กาแฟ หรือการเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ซึ่งคาดว่าจะเป็นการเพิ่มรายได้และสร้างความมั่นคงให้กับพี่น้องเกษตรกร โดยเฉพาะพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ มีนโยบายเพื่อสร้างการอยู่ดีกินดีให้แก่เกษตรกร เช่น การส่งเสริมการเลี้ยงโค การเลี้งแพะ เป็นต้น เชื่อว่าถ้าสามารถสร้างสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจของเค้าดีขึ้นได้ จะเป็นการแก้ปัญหาในพื้นที่ได้ด้วย

96AF0A0E 7480 40EC AF3B 4C41D79B0E22

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาได้ผลิตบุคลากรทางด้านการเกษตร ที่มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และนำงานวิจัย เพื่อเข้ามาทำงานในภาคการเกษตรมากขึ้น และในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ เองก็สนับสนุนในเรื่องของ Young Smart Farmer ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างเกษตรมูลค่าสูง หรือเกษตร 4.0 ต่อไป รวมถึงมีหน่วยงานในสังกัดที่ได้นำงานวิจัยมาพัฒนาต่อยอด ซึ่งปัจจุบันกระทรวงเกษตรฯ มีการตั้งศูนย์ AIC ขึ้นทั่วประเทศ โดยได้รับการความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 77 จังหวัด โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยกันพัฒนาภาคการเกษตร ซึ่งจะเป็นการช่วยให้เกษตรกรได้รับทราบและเข้าถึงเทคโนโลยีได้ รวมถึงเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างแนวคิดให้ภาคการเกษตรต่อไป” ดร.เฉลิมชัย กล่าว

5F074732 A31A 4A73 B072 C6C15A980012
DF4494E5 1EF7 4712 8A5B E6B0CC0A4633