เกษตรฯทำไวทำจริง ตั้ง “องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น”แล้ว 2,600 องค์กร ใน 50จังหวัด

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการ “ประมงไทย” เปิดเผยวันนี้(1พ.ค.) ภายหลังการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 2/2565ว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ “ชุมชนประมง” ให้เกิดการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากร “ประมง” อย่างยั่งยืนและเป็นการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดย “กรมประมง” จึงได้ดำเนินการโครงการพัฒนาอาชีพและส่งเสริมความเข้มแข็งของ”ชุมชนประมง” ระหว่างปี2563-2565 โดยจัดตั้ง “องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น“แล้ว จำนวน 2,600 องค์กร มีการบริหารจัดการร่วมกัน ส่งเสริมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู การบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วม เพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้กับชุมชน การส่งเสริมการแปรรูปสัตว์น้ำ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สินค้าประมงและส่งเสริมด้านการตลาดเพื่อจำหน่ายสินค้า รวมถึงพัฒนาต่อยอดกิจกรรมจากอาชีพ “การประมง”ทำให้เกิดมั่นคงในการประกอบอาชีพประมง ชุมชนเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้

1AEFD62F AE64 4CFA 8B9A F044A5D65987
จัดตั้ง “องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น

โดยในปีงบประมาณ 2565 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้อนุมัติโครงการพัฒนาอาชีพและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนประมง ปีงบ 2565 (องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น) เพื่อสร้างรายได้ความมั่นคงในการประกอบอาชีพการทำประมง ให้กับ “องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น” ในพื้นที่ 50 จังหวัด (พื้นที่ 22 จังหวัดชายทะเล และในพื้นที่ 28 จังหวัดแหล่งน้ำจืด) รวม 200 ชุมชน

ซึ่งผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายกรมประมงตามเป้าหมายที่ได้รับจัดสรรครบเรียบร้อยแล้ว เป็น “องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น” ด้านชายฝั่ง 81 องค์กร ด้านประมงน้ำจืด 83 องค์กรและด้านแปรรูป 36 องค์กร ๆ ละ 100,000 บาท เพื่อให้ชุมชนนำไปดำเนินการพัฒนาอาชีพด้านประมงตามความต้องการและสอดคล้องกับบริบทของแต่ละชุมชน กิจกรรม

209518A0 AD51 4ACE 871B D4D8F852967B scaled

ประกอบด้วย 1) กิจกรรมพัฒนาอาชีพประมง อาทิ การปรับเปลี่ยนเครื่องมือที่เหมาะสมและถูกกฎหมาย การสนับสนุนอุปกรณ์ซ่อมแซมเครื่องมือทำการประมงและเรือประมง การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การผลิตอาหารสัตว์น้ำเพื่อจำหน่าย การเลี้ยงปลาในกระชังเพื่อจำหน่ายและแปรรูป

2)กิจกรรมเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ อาทิ การพัฒนาแหล่งอาศัยสัตว์น้ำ การสร้างแปล่งอาการสัตว์น้ำธรรมชาติ การจัดตั้งและพัฒนาธนาคารสัตว์น้ำ (ธนาคารปูม้า) การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ การจัดตั้งโรงเพาะฟักพันธุ์สัตว์น้ำเคลื่อนที่ (Mobile hatchery) จัดสร้างกระชังอนุบาลสัตว์น้ำก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ

3) เพิ่มมูลค่าสัตว์น้ำ อาทิ การพัฒนารูปแบบการแปรรูปสัตว์น้ำตามมาตรฐานและความปลอดภัยต่อผู้บริโภค การส่งเสริมการตลาดเพื่อจัดจำหน่ายสินค้า

BDA84B38 6E13 4959 A3E7 FF0F6B0CEB0B

4) การถ่ายทอดเทคโนโลยีและเพิ่มทักษะการทำการประมง อาทิ การอบรมให้ความรู้การทำการประมงถูกกฎหมายและศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากพื้นที่ต้นแบบ

และ 5) กิจกรรมอื่นๆ เช่น ซ่อมแซมอาคารที่ทำการประมง ปรับปรุงแพชุมชน เป็นต้น ซึ่งเมื่อนับรวมการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2563 – ปี 2565 ได้ดำเนินการจัดสรรงบประมาณในการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพด้านประมงให้กับชุมชนประมงท้องถิ่น รวม 594 ชุมชน คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 22 จาก “องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น”ทั้งหมด เป็นเงินอุดหนุนทั้งสิ้น59,400,000 บาท ซึ่งผลจากการดำเนินงานพัฒนาอาชีพด้านประมงและส่งเสริมด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ

โดยการบริหารจัดการร่วมกันของชุมชน เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินการ พบว่า “ชาวประมง” มีความพึงพอใจกับทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยในปี 2563 “ชาวประมงท้องถิ่น” สามารถจับสัตว์น้ำได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.71 และปี 2564 สามารถจับสัตว์น้ำได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.13 และจากการสนับสนุนการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ ทำให้ต้นทุนในการประกอบอาชีพลดลง ศักยภาพในการทำประมงเพิ่มขึ้น และสามารถต่อยอดกิจกรรมในด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ “อาชีพประมง”ได้ ส่งผลให้ “องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น” เกิดความเข้มแข็ง และมีรายได้จากการประกอบอาชีพการทำประมงได้มั่นคงยิ่งขึ้น