“กรมประมง”เตือนเกษตรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำรับมือน้ำท่วม-น้ำหลาก 

“อธิบดีกรมประมง” เตือนเกษตรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำรับมือสถานการณ์ น้ำท่วม-น้ำหลาก จากฝนตกหนักในหลายพื้นที่ พร้อมสั่งนำเรือตรวจการประมงออกให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

กรมประมงขานรับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน)ในการดูแลเกษตรกรในช่วงน้ำท่วม – น้ำหลาก  เตือน!! เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำจากเหตุฝนตกหนักต่อเนื่องในหลายพื้นที่ เสี่ยงกระทบต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เกษตรกรควรเตรียมรับมือเฝ้าระวัง หมั่นดูแลสัตว์น้ำอย่างใกล้ชิด ทยอยจับสัตว์น้ำที่ได้ขนาด และปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมประมงอย่างเคร่งครัด พร้อมสั่งนำเรือตรวจการประมงออกให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ

นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า จากสถานการณ์ที่เกิดฝนตกหนักสะสมอย่างต่อเนื่องในระยะนี้ ประกอบกับน้ำในลำน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติบางพื้นที่มีปริมาณมากกว่าปกติ  อาจส่งผลให้เกิดอุทกภัย มีความเสี่ยงต่อน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันได้ กรมประมงจึงมีความห่วงใยต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ชาวประมง รวมถึงพี่น้องประชาชน โดยได้มีการติดตาม เฝ้าระวัง วิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อป้องกัน และลดผลกระทบต่อด้านการประมงอย่างใกล้ชิด ผ่านการดำเนินงานของ “ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการประมง” หรือ“ศปภ.ปม.” ตามนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดเร่งช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร ชาวประมง และประชาชนโดยเร็วทันทีตามขอบข่ายภารกิจทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ และประมง 

7EB97A8E C935 4B42 8059 06C8563F4978

โดยในส่วนของกรมประมงนั้น ได้มอบหมายให้ประมงจังหวัดเร่งประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเตรียมพร้อมรับมือเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น พร้อมเน้นย้ำเฝ้าระวังการเลี้ยงจระเข้อย่างเข้มงวดเป็นพิเศษ โดยให้มีการตรวจสอบสถานที่เลี้ยงให้มีความแข็งแรง ตรวจนับจำนวนจระเข้ เพื่อป้องกันการหลุดรอดออกจากฟาร์มเลี้ยงในช่วงที่เกิดอุทกภัย รวมทั้งแจ้งเตือนภัยให้เกษตรกรได้รับทราบข่าวสารอย่างรวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้หน่วยงาน

กรมประมงในพื้นที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนและเกษตรกรอย่างเร่งด่วนและเต็มกำลัง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า โดยจัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ กำลังคน พร้อมเรือตรวจการประมงออกให้ความช่วยเหลือในสภาวะฉุกเฉินที่เกิดอุทกภัย

​สำหรับความเสียหายด้านประมงในขณะนี้ จากการสำรวจพบพื้นที่ความเสียหายแล้ว 31 จังหวัด ได้แก่เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน พะเยา ลำปาง น่าน ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลกเพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ พิจิตร พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง กรุงเทพมหานคร ประจวบคีรีขันธ์ นครนายกปราจีนบุรี ตราด ระยอง หนองบัวลำภู เลย กาฬสินธุ์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ อุบลราชธานี สุราษฎร์ธานีกระบี่ และจังหวัดสตูล เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ และกระชัง ได้รับความเดือดร้อนจำนวน 5,076 ราย ประมาณการพื้นที่เสียหายจำนวน 6,283.75 ไร่ 1,004.77 ตารางเมตร ประมาณการมูลค่า

ความเสียหายวงเงิน 66,149,954.86 บาท ประมาณการมูลค่าความช่วยเหลือ วงเงิน 30,567,360.57 บาท (ข้อมูล ณ วันที่ 15 กันยายน 2565) ซึ่งเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมประมงหากได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัยในพื้นที่ สามารถขอรับความช่วยเหลือได้โดยให้หน่วยงานกรมประมงภายในจังหวัดพิจารณาดำเนินการให้ความช่วยเหลือโดยใช้เงินทดรองราชการในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 และหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564 เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติได้ทันท่วงที กรณีเงินงบประมาณไม่เพียงพอสามารถใช้เงินทดรองราชการในอำนาจของปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป

0BF11E37 63BC 4992 8080 AB6AB803F4DE

​อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำติดตามข่าวสารพยากรณ์อากาศจากทางราชการอย่างใกล้ชิด และหมั่นดูแลสุขภาพสัตว์น้ำอย่างสม่ำเสมอเนื่องจากในช่วงหน้าฝนจะส่งผลต่อคุณภาพน้ำ เช่น ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง อุณหภูมิ ปริมาณออกซิเจน ความขุ่นใสของน้ำ ซึ่งอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกระทัน ทำให้สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน เครียด ได้รับเชื้อโรคง่าย และตายได้โดยโรคสัตว์น้ำ

ที่มักพบในช่วงหน้าฝน ได้แก่ โรคที่เกิดเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย จึงขอให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น โดยปฏิบัติตามข้อแนะนำ ดังนี้

• กรณีการเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อ ให้ขุดลอกตะกอนดินที่จะทำให้น้ำไหลเข้าออกได้อย่างสะดวก ปรับปรุงคันบ่อและเตรียมการป้องกันการหลุดรอดของสัตว์น้ำในบ่อ เช่น เสริมคันบ่อ หรือการทำผนังตาข่ายที่แข็งแรงสูงจากขอบบ่อรอบบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ

• กรณีการเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ให้ระวังกระชังเสียหาย ควรผูกยึดหลักให้แน่นและแข็งแรง จัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น อวน เครื่องสูบน้ำ เครื่องเพิ่มออกซิเจน ไว้ให้พร้อมและขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ พร้อมทั้งเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมเพื่อรับสถานการณ์อุทกภัย เพื่อเป็นการป้องกันการเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับสัตว์น้ำที่เพาะเลี้ยงได้

​ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถติดต่อขอรับคำแนะนำได้ที่สำนักงานประมงอำเภอ สำนักงานประมงจังหวัดศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงในพื้นที่ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและกิจกรรมพิเศษ กลุ่มช่วยเหลือเกษตรกรและชาวประมง กรมประมง โทรศัพท์หมายเลข 0 2558 0218 และ 0 2561 4740