กรมวิชาการเกษตรมอบรางวัลเกษตรกร GAP และเกษตรอินทรีย์ ดีเด่น ประจำปี 2565

ในงานแถลงผลงานและประกาศเกียรติคุณผู้เกษียณอายุราชการ กรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2565 นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ปี 2565 ในโอกาสที่กรมวิชาการเกษตรมีอายุครบ 50 ปี มีการจัดงานแถลงผลงานทางวิชาการอย่างยิ่งใหญ่ ในงานกรมวิชาการเกษตรพิจารณาคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นที่ผลิตพืชตามมาตรฐาน GAP และเกษตรอินทรีย์ เพื่อยกย่องประกาศเกียรติคุณและเผยแพร่ผลงานให้สาธารณชนทั่วไปได้รู้จัก ยึดถือแนวทางการปฏิบัติงานเป็นแบบอย่าง เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่เกษตรกรตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ในปี 2565 นี้กรมวิชาการเกษตรได้คัดเลือกให้ นายสานนท์ พรัดเมือง เกษตรกรเจ้าของสวนทุเรียน บนพื้นที่ 10 ไร่ ตำบลบ้านทำเนียบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) โดยนายสานนท์ได้ทำสวนทุเรียนด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจที่จะผลิตทุเรียนให้มีรสชาติอร่อย ผลผลิตมีคุณภาพ คงไว้ซึ่งมาตรฐาน ภายใต้แนวความคิดพัฒนาและแบ่งปันความรู้

6755F4F1 46AF 4F23 81DC AB8579B1F284

นายสานนท์ เดิมประกอบอาชีพรับจ้างกรีดยางและรับซื้อเศษยางเป็นระยะเวลา 5 ปี ในเวลาต่อมาผู้ประกอบการมากขึ้น ราคายางลดลง จึงเปลี่ยนแนวคิด ตัดสินใจซื้อที่ดินจำนวน 12 ไร่ และได้ทดลองปลูกทุเรียน ในตอนแรกเกิดปัญหาและอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรคแมลง ผลผลิตมีน้ำหนักน้อยไม่มีคุณภาพ และสภาพต้นโทรม จึงได้วิเคราะห์หาสาเหตุ จนมีวิธีจัดการกับปัญหาดังกล่าว จึงตัดสินใจโค่นยางพารา 7 ไร่เพื่อปลูกทุเรียนทั้งหมด และยื่นขอรับรองแหล่งผลิตทุเรียนกับ สวพ.7 ในปี 2557 และได้การรับรองแหล่งผลิต GAP กับกรมวิชาการเกษตร 

จนปัจจุบันเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบความสำเร็จในเรื่องการผลิตทุเรียนให้ได้คุณภาพ และเป็นที่มาของคำพูดที่ว่า “สวนคุณสานนท์ สามารถเลือกที่จะขายกับล้งไหนก็ได้ เพราะผลผลิตทุเรียนที่ออกจากสวนคุณสานนท์เป็นทุเรียนที่มีคุณภาพ” 

58EAF645 9517 43E4 B7FB 5B8660929AF7

ในระบบการผลิต นายสานนท์ ให้น้ำโดยใช้ระบบน้ำแบบสปริงเกอร์ สั่งการผ่านโทรศัพท์มือถือ การติดตั้งกล้อง CCTV ติดตั้งไฟแสงสว่างในสวน ปิด-เปิดผ่านโทรศัพท์เช่นกัน มีการเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างในกระบวนการผลิต และมีการเก็บตัวอย่างดินจากอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์สารพิษตกค้าง ก่อนการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแต่ละครั้ง มีการศึกษาการเข้าทำลายของศัตรูพืชแต่ละชนิดกับระยะการเจริญเติบโตของพืช และมีการสำรวจโรคแมลงศัตรูพืชก่อน เพื่อจะได้ใช้กลุ่มใช้สารเคมีที่ถูกต้อง  และใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรตามความจำเป็น 

710A8AE6 6D41 404E 8BA5 171E67AE3460

ใช้วิธีการตัดหญ้าแทนการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช แล้วนำเศษพืช วัชพืชทำปุ๋ยหมัก มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในรูปปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกช่วยเพิ่มธาตุอาหารพืชในดินและยังช่วยทำให้ดินโปร่งร่วนซุย ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อรักษา ป้องกัน โรครากเน่า โคนเน่าในทุเรียน ใช้เชื้อบาซิลลัสกำจัดหนอนและยังสามารถใช้ในการควบคุมหนอนผีเสื้อ ศัตรูพืชหลายชนิดที่ดื้อต่อสารเคมีได้ดี ใช้เชื้อบิวเวอเรีย เมทาไรเซียม น้ำส้มควันไม้ ป้องกันกำจัดหนอนและแมลงได้หลากหลายชนิด ทั้งแมลงปากกัดและปากดูด

นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์รถพ่นสารเคมีจากเดิมเป็นรถตุ๊ก ๆ ซึ่งมีกำลังน้อยไม่สามารถใช้ในพื้นที่สวนของตนเองได้ จึงได้นำรถยนต์ 4 ประตูซึ่งมีกำลังมากมาปรับใช้เพื่อลดการใช้แรงงานคนและเพื่อความปลอดภัยของผู้พ่น พร้อมกับมีการวางแผนการผลิตทุกปี เน้นให้ผลผลิตออกในช่วงที่ผลผลิตอื่นไม่มีออกสู่ตลาด และพัฒนาคุณภาพเพื่อการส่งออก จึงสามารถต่อรองราคากับผู้ซื้อได้

618FAD06 2701 4C30 B173 EB93863BF519

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า สำหรับเกษตรกรที่ได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่น สาขาเกษตรอินทรีย์ คือนางสุจารี ธนสิริธนากร เดิมทำงานบริษัทในกรุงเทพฯ เป็นเวลาถึง 17 ปี และในปี 2550 ได้ย้ายกลับบ้านเกิดเพื่อดูแลพ่อแม่ โดยในช่วงแรกประกอบอาชีพค้าขายพบว่าวิถีชีวิตแบบเดิมได้เปลี่ยนแปลงไปและได้เห็นถึงปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชน มีโอกาสได้ร่วมงานวิจัยด้านชุมชนหน่วยงาน กศน.อำเภอฆ้องชัย พบว่า คนในชุมชนร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทำนา มีการใช้สารเคมีทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก 

AF89DBC2 8321 422E A674 B1452FF113ED

ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้นางสุจารี ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อผู้ผลิต ผู้บริโภคและชุมชน จึงชักชวนผู้สนใจที่มีความเชื่อมั่นว่าการผลิตพืชในระบบเกษตรอินทรีย์คือทางแก้ปัญหานี้ จึงได้จัดตั้งกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ขึ้นในปี 2552 โดยมีสมาชิกจำนวน 12 คน เริ่มต้นเรียนรู้จากการทำนาอินทรีย์ ซึ่งนางสุจารี ได้พาแกนนำกลุ่มไปศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ แล้วนำมาลองปฏิบัติในพื้นที่นาของตนเองจนเกิดความรู้ ความเข้าใจและมั่นใจแล้วจึงขยายผลสู่สมาชิกรายอื่น ๆ และเริ่มผลิตพืชผักอินทรีย์อื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น โดยใช้พื้นที่ส่วนตัว จำนวน 5 ไร่ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการผลิตพืชผักอินทรีย์ร่วมกันของสมาชิกที่สนใจ

ต่อมาเมื่อพบปัญหาในการผลิตจะศึกษาเรียนรู้จากเอกสารตำราหรือการเข้ารับการอบรมจากหน่วยงานราชการหรือแหล่งอื่นๆ เมื่อสมาชิกหลายคนบ่นว่าทำยากและเริ่มท้อ ก็ต้องหาองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหา พัฒนากระบวนการผลิต เรียนรู้การผลิตพืชชนิดใหม่ เรียนรู้ด้านการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิต ศึกษาด้านการตลาดเพิ่มเติม ภายใต้ความเชื่อที่ว่า “การทำเกษตรอินทรีย์ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากหากต้องใส่ใจดูแล ช่างสังเกต รู้ลึก รู้จริงในสิ่งที่ทำ ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 

445190DC 0367 4351 A197 B4AEB2C23870

การทำผลิตผลอินทรีย์ไม่มีสารพิษให้คนกิน ก็ถือเป็นการทำบุญเช่นกัน” นี่คือที่มาของชื่อ “สวนปันบุญ” และในปี 2555 ได้จดทะเบียนเป็น “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปันบุญ” และ “ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีปันบุญ”และได้รับการคัดเลือกจากกรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ ให้เป็น “หมู่บ้านเกษตรอินทรีย์” (Organic Village)บนพื้นที่ปลูกทั้งหมด 6 ไร่ 2 งาน เป็นพื้นที่ราบมีการปลูกพืชผักในโรงเรือนจำนวน 5 โรงเรือนและปลูกลงดิน ใช้ระบบการให้น้ำแบบสเปรย์หมอกด้วยระบบอัจฉริยะ