กรมส่งเสริมการเกษตร กำชับเกษตรอำเภอ สำรวจความเสียหาย พร้อม ช่วยเหลือชาวบ้านหลังน้ำลด

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย เหตุคันดินกั้นลำน้ำเสียวขาด ทำให้น้ำท่วมหลายพื้นที่ของจังหวัดศรีสะเกษ

​นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อติดตามความเสียหายจากเหตุการณ์คันดินกั้นลำน้ำเสียว ซึ่งรับน้ำจากแม่น้ำมูลขาด ในพื้นที่รอยต่อของอำเภอศิลาลาดและอำเภอราษีไศล โดยสำนักเกษตรจังหวัดศรีสะเกษได้รายงานความเสียหายเบื้องต้น ด้านพืช พบพื้นที่ประสบภัยทั้งหมด 14 อำเภอ 82 ตำบล 575 หมู่บ้าน เกษตรกรได้รับความเสียหาย 27,341 ครัวเรือน พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 162,294 ไร่ แยกเป็นข้าว 156,745 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 96.58 พืชไร่และพืชผัก 5,373 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.31 และไม้ผล/ไม้ยืนต้นและอื่น ๆ 176 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.11 พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 162,294 ไร่ (ข้อมูล ณ วันที่ 28 กันยายน 2565)

%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C %E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C

​รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้สั่งการให้สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ และสำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่ประสบภัยเร่งลงพื้นที่สำรวจความเสียหายภายหลังจากที่น้ำลด และเสนอคณะกรรมการที่รับผิดชอบเพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืช ได้แก่

1) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562
2) หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2563 และ
3) หลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564

โดยเกษตรกรผู้ประสบภัยจะต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกร และปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรก่อนเกิดภัย มีพื้นที่เสียหายจริง อยู่ในพื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือฯ ช่วยเหลือไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 1,340 บาทต่อไร่ พืชไร่ละพืชผัก 1,980 บาทต่อไร่ ไม้ผลไม้ยืนต้นและอื่น ๆ 4,048 บาทต่อไร่ นอกจากนี้ในส่วนของการสนับสนุนช่วยเหลือเบื้องต้นของการเกิดอุทกภัย กรมส่งเสริมการเกษตรได้ให้กองขยายพันธุ์พืชเตรียมเมล็ดพันธุ์พืชผัก และให้กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย พร้อมด้วยศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชและกลุ่มอารักขาพืชทุกจังหวัดจัดเตรียมสารชีวภัณฑ์ไว้แจกจ่ายเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ

info %E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD

​สำหรับขั้นตอนการขอรับความช่วยเหลือ เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว เกษตรกรยื่นแบบขอรับการช่วยเหลือ (กษ 01) ซึ่งมีผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน/อบต. หรือนายกเทศมนตรีตรวจสอบและรับรอง ตามสถานที่ที่กำหนด คณะกรรมการหมู่บ้านตรวจสอบ และรับรองความเสียหาย นำรายชื่อเกษตรกรที่ผ่านการตรวจสอบแล้วไปติดประกาศคัดค้านตามสถานที่ที่กำหนด ไม่น้อยกว่า 3 วัน จากนั้นสำนักงานเกษตรอำเภอนำเสนอคณะกรรมการ ก.ช.ภ.อ. พิจารณาให้ความช่วยเหลือ (วงเงินไม่เกิน 500,000 บาท) หากไม่เพียงพอ ให้สำนักงานเกษตรจังหวัดเสนอคณะกรรมการ ก.ช.ภ.จ. พิจารณาให้ความช่วยเหลือ (วงเงินในอำนาจ 20 ล้านบาท) หากไม่เพียงพอ ให้คณะกรรมการ ก.ช.ภ.จ. พิจารณาให้ความเห็นชอบใช้เงินทดรองราชการ ในอำนาจปลัด กษ. (วงเงินในอำนาจ 50 ล้านบาท) หากเกษตรมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอและสำนักงานเกษตรจังหวัดในพื้นที่ หรือติดต่อสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ โทร. 045 612 511