รู้หรือยัง..”สารสกัดจากพืช”กำจัดศัตรูพืช ใช้อย่างไร

คำแนะนำการใช้ “สารสกัดจากพืช” กำจัด “ศัตรูพืช”

1.ควรระมัดระวังในการเตรียมตัวอย่างพืชไม่ให้เข้าตา เพราะอาจเกิดความระคายเคืองได้

2.ควรฉีดพ่นสารสกัดก่อนแมลงระบาดเพื่อเป็นการป้องกัน

3.ควรฉีดพ่นในเวลาที่ไม่มีแสงแดดจัด เนื่องจากสารสำคัญใน “สารสกัดจากพืช” สลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อนและแสงแดด

1.กากเมล็ดชาน้ำมัน

ประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด

“กากเมล็ดชาน้ำมัน” มีสารกลุ่มซาโปนิน (triterpenoid Saponin มีฤทธ์ต่อระบบประสาทระบบเลือด และมีผลต่อการลอกคราบแมลง สามารถกำจัดหอยเชอรี่ หอยศัตรูกล้วยไม้

วิธีการใช้ป้องกันกำจัด “ศัตรูพืช

เพื่อกำจัด “หอยเชอรี่” (หว่านกากเมล็ดชาในนาข้าว 2.5 กิโลกรัมต่อไร่ ต้องมีระดับน้ำในนาข้าว 5เซนติเมตรและรักษาระดับน้ำให้คงที่อย่างน้อย 3วัน)และการนำมากำจัดหอยศัตรูกล้วยไม้ พบว่าใช้อัตรา 5.0 กิโลกรัมต่อไร่ มีประสิทธิภาพกำจัด “หอยอำพัน“และ “หอยเจดีย์ใหญ่

280404948 333135362299018 8183092028880194993 n 1

2. ว่านน้ำ

ประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด

สาระสำคัญใน “ว่านน้ำ” คือ สารออกฤทธิ์ที่สำคัญคือ เบต้า-อาซาโรน (B-asarone) นอกจากนี้ยังพบสารอาโคแรงเจอร์มาโครน (acorangermancrone) และอาซาริลอัลดีฮาย (asarylaldhyde) ในน้ำมันหอมระเหยจากรากว่านน้ำ เป็นสารฆ่าแมลง โดยเป็นพิษต่อระบบประสาทของแมลง ยับยั้งการเจริญเติบ โต และการกินอาหารของแมลง ยับยั้งการพัฒนาของระบบสืบพันธุ์ และการออกจากไข่ของตัวอ่อน

นอกจากนี้ยังยับยั้งการเจริญของเชื้อราและแบคทีเรียใช้กับแมลงวันแตง แมลงวันผลไม้ ด้วงหมัดผัก หนอนกระทู้ผัก และแมลงศัตรูในโรงเก็บ

วิธีการใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืชทำได้ 2 วิธี ดังนี้

  1. คลุกกับเมล็ดพืชในโรงเก็บ โดยใช้ผงว่านน้ำ 1 กิโลกรัม คลุกเมล็ดพืช 50 กิโลกรัม
  2. เหง้าบดเป็นผง 150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร แช่ไว้ค้างคืนหรือต้ม 45 นาที กรองแล้วนำไปฉีดพ่น
  3. หางไหล
    ประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด
  • เป็นสารฆ่าแมลง โดยออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของระบบหายใจของแมลง สารสกัดจากรากสามารถป้องกันกำจัดศัตรูพืชหลายชนิด เช่น
  • แมลงศัตรูผัก เช่น หนอนใยผัก หนอนกระทู้ผัก เพลี้ยจักจั่นฝ้าย เพลี้ยอ่อนกะหล่ำปลี เพลี้ยอ่อนถั่วฝักยาว หนอนเจาะฝักถั่วฝักยาว หนอนผีเสื้อสีน้ำเงิน
  • แมลงศัตรูข้าว เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หนอนห่อใบข้าว
  • แมลงศัตรูข้าวโพด เช่น หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด
  • แมลงศัตรูกล้วยไม้ เช่น เพลี้ยไฟฝ้าย
  • แมลงศัตรูในโรงเก็บ เช่น ด้วงถั่วเขียว
  • วิธีการใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืช
  • นำ “รากหางไหล” มาทุบให้แตก สับเป็นชิ้นเล็กๆ แช่ในน้ำอัตราส่วน ราก 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่ไว้ 48 ชั่วโมง ใช้ไม้กวนเป็นครั้งคราวกรองด้วยผ้าขาวบาง นำน้ำที่กรองได้ไปพ่นในแปลพืชทุก 5-7 วัน นำมาบดเป็นผงใช้คลุกเมล็ด
  • 4. สะเดา
    ประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด
    “สะเดา” มีสาร อาซาไดแรคติน ซาแลนนิน เมเลีย ไตรออล และนิมบิน สารเหล่านี้มีประสิทธิภาพดังนี้
  • ยับยั้งการลอกคราบของแมลง โดยไปขัดขวางและยับยั้งการสร้างฮอร์โมนที่ใช้ในการลอกคราบ
  • ยับยั้งการกินอาหารชนิดถาวร จนทำให้แมลงตายในที่สุด
  • ยับยั้งการเจริญเติบโตของไข่ หนอน และดักแด้
  • เป็นสารไล่แมลง
  • ยับยั้งการวางไข่ของแมลง ทำให้ปริมาณไข่ลดลง
    ใช้ป้องกันกำจัดเพลี้ยอ่อน หนอนใยผัก หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนม้วนใบถั่ว
  • วิธีการใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืช
  • เมล็ดสะเดา บดละเอียด อัตรา 1กิโลกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน กรองเอาส่วนน้ำไปพ่นในแปลงปลูกพืช (ใช้ได้ผลในแปลงปลูกที่ศัตรูพืชระบาดไม่รุนแรง และหนอนมีความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงไม่มาก ควรพ่นก่อนมีการระบาด หรือมีการระบาดเพียงเล็กน้อย และพ่นติดต่อกันไปทุก 7 วัน ในแหล่งที่ระบาดอย่างรุนแรง)
  • เมล็ดสะเดา บดละเอียดอัตรา 20 กิโลกรัม ต่อไร่ (หว่านรอบต้นในอัตรา 2.5 กรัมต่อหลุม สามารถที่จะกำจัดตัวอ่อนของด้วงหมัดผักที่อาศัยอยู่ในดินได้ดี ส่วนตัวเต็มวัย ที่ทำลายส่วนใบ สารสกัดสะเดาไม่สามารถป้องกันกำจัดได้
  • 5. หนอนตายหยาก
  • ประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด
  • หนอนตายหยาก ใช้ป้องกันกำจัดหนอนแมลงวัน ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ยับยั้งการกินของหนอนกระทู้หอม หนอนใยผัก หนอนแมลงวัน มีความเป็นพิษต่อลูกน้ำยุง
  • วิธีการใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืช
  • นำราก หนอนตายหยาก สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ปริมาณ 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร
  • กวน หมักไว้ค้างคืน กรองเอาน้ำไปฉีดพ่นพืชผักทันที ฉีดพ่น ทุก 3-5 วัน ใช้น้ำให้หมดทุกครั้ง ไม่ควรเก็บไว้เพราะราจะขึ้น
  • 6.เมล็ดน้อยหน่า
    ประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด
    ใน “เมล็ดน้อยหน่า”มีสารอัลคาลอยค์ มีความเป็นพิษทางการสัมผัสและระบบทางเดินอาหารเป็นพิษต่อเพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นฝ้าย หนอนใยผัก
  • วิธีการใช้ นำเมล็ด1กิโลกรัม มาบดให้ละเอียด ผสมกับน้ำ 20ลิตรและแช่ทิ้งไว้ประมาณ 1-2วัน จากนั้นกรองเอาน้ำไปพ่นในแปลงเกษตร
  • ระวังเวลาบด อย่าให้ผง “เมล็ดน้อยหน่า” เข้าตาเพราะจะทำให้ตาเกิดการระคายเคืองอย่างมาก

ที่มา : สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร