เกษตรฯเร่งฟื้นฟูทรัพยากรประมง ปล่อยพันธุ์ปูทะเล 1.3 ล้านตัว จ.ประจวบคีรีขันธ์ คืนความอุดมสมบูรณ์และรักษาความยั่งยืนของทรัพยากรให้ชุมชนอย่างยั่งยืน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีปล่อยพันธุ์ปูทะเล “โครงการฟื้นฟูทรัพยากรประมงบริเวณแหล่งก่อเกิดทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ประจำปีงบประมาณ 2566” 

โดยมีนายกิตติพงศ์ สุขภาคกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง นายถาวร ทันใจ รองอธิบดีกรมประมง นายประพันธ์ ลีปายะคุณ รองอธิบดีกรมประมง นายมานพหนูสอน รองอธิบดีกรมประมง นายมนตรี ปาน้อยนนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ คลองเขาแดง (บริเวณวัดเขาแดง) อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 

3CB528DB 4AC7 4DD3 9072 2EF1DECB8DD5

ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมงร่วมกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จัดขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้พื้นที่บริเวณป่าชายเลนในเขตจังหวัดมีฐานทรัพยากรเพื่อการผลิต ทั้งในมิติของความหลากหลายของชนิดและปริมาณสัตว์น้ำที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้บริเวณพื้นที่ป่าชายเลนทำหน้าที่นิเวศบริการที่ดีแก่ชุมชนและเพื่อสนับสนุนให้ชุมชนร่วมมือในการบริหารจัดการทรัพยากรประมงของจังหวัดอย่างยั่งยืน รวมถึงเพิ่มผลผลิตปูทะเล สัตว์น้ำเศรษฐกิจในธรรมชาติ อันเป็นกลุ่มสัตว์น้ำที่มีบทบาทสำคัญในการประกอบอาชีพของคนในพื้นที่ อีกทั้งเป็นการขานรับนโยบายจาก ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

0471D43C E54F 4B70 92AB 1A791490503F

โดยตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มผลผลิตปูทะเลให้ได้ปริมาณ 5,000 ตัน ในปี 2566 จากข้อมูลเดิมปี พ.ศ. 2561 มีผลผลิตปูทะเล เพียง 1,600 ตัน ปี พ.ศ. 2562 มีผลผลิต 3,000 ตัน ปี พ.ศ. 2563 มี 3,000 ตัน และในปีพ.ศ. 2564 ผลผลิตปูทะเลในภาพรวมทั้งประเทศ มีปริมาณเพิ่มขึ้นกว่า 6,000 ตัน โดยเป็นผลผลิตปูทะเลจากการเพาะเลี้ยง จำนวน 3,400 ตัน และจากผลผลิตการจับจากธรรมชาติ 2,800 ตัน ซึ่งเกินเป้าหมายที่กรมประมงคาดการณ์ไว้

8B33AE08 E7F0 41F9 AAF5 20F739B831D1

ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า หากพูดถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ย่อมนึกถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศ และเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางการประมงทะเลมาตั้งแต่ในอดีต พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลถือเป็นแหล่งทำการประมงที่สำคัญและมีศักยภาพ พร้อมที่จะพัฒนาในด้านการใช้ประโยชน์ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสำหรับเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ วางไข่และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนของสัตว์น้ำ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ 

ซึ่งส่งผลให้ชาวประมงในพื้นที่มีการพัฒนาและสืบสานวิถีชีวิตในการทำประมงจากรุ่นสู่รุ่นมาอย่างต่อเนื่อง โดยหนึ่งในสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ปูทะเล ซึ่งเป็นอาหารทะเลที่นิยมบริโภคทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่งผลให้มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นทุกปี ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ผลผลิตปูทะเลที่บริโภคและใช้ประโยชน์มาจากการจับจากธรรมชาติแทบทั้งสิ้น ทำให้ทรัพยากรปูทะเลเสื่อมโทรมและลดน้อยลงเรื่อย ๆ อีกทั้งการลดลงของพื้นที่ป่าชายเลน ซึ่งเปรียบเสมือนที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด ทำให้สิ่งมีชีวิตรวมถึงสัตว์น้ำต่าง ๆ ลดลงไปด้วย

สำหรับการจัดกิจกรรมปล่อยปูทะเลในวันนี้ ได้รับความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน ทั้งจากผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัด หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชาชน และเกษตรกรชาวกุยบุรี 

25D6F3CA 118F 4865 8C5A 4E8BBA5121DF
0A020FE6 90C1 4BC3 A0C5 432C34BEAA99

โดยกรมประมงได้กำหนดปล่อยพันธุ์ปูทะเล จำนวน 1,300,000 ตัว นอกจากนี้ กรมประมงยังได้สร้างความตระหนักรู้ในเรื่องการเพาะเลี้ยงและอนุบาลปูทะเล การขุนเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ชีววิทยาและวงจรชีวิตเพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพและการอนุรักษ์แก่ชุมชน 

ซึ่งกิจกรรมดังกลาวจะเป็นการคืนความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติกลับคืนมา และเป็นความร่วมมือร่วมใจจากหน่วยงานหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐภาคเอกชน และชุมชน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นการรักษาความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติให้แก่ชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆในพื้นที่เป็นอย่างดี เพื่อให้เห็นความสำคัญต่อการใช้ประโยชน์ทรัพยากรต่อไป