เปิดแล้ว! งานพืชสวนก้าวหน้าครั้งที่ 17 มหกรรมนิทรรศการ-สัมมนาวิชาการด้านพืชสวน สุดยิ่งใหญ่ในภาคตะวันออก

‘รมช.มนัญญา’ เปิดงาน พืชสวนก้าวหน้า (Hortex’2022) ครั้งที่ 17 มหกรรมนิทรรศการและสัมมนาวิชาการด้านพืชสวนสุดยิ่งใหญ่ในภาคตะวันออก

วันที่ 8 ธันวาคม 2565 นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงาน พืชสวนก้าวหน้า ครั้งที่ 17 (Hortex’2022) & Fruitpital Innovation Fair 2022 มหานครผลไม้ พร้อมกับมอบปัจจัยการผลิตทางการเกษตร เมล็ดพืชพันธุ์ดีของกรมวิชาการเกษตรและต้นพันธุ์กล้วย ให้แก่ตัวแทนเกษตรกรในพื้นที่ ณ ห้องประชุมอาคารเอนกประสงค์ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จ.จันทบุรี 

B2D24F59 77B8 4FBC 98FD B72AECE2E5F4

โดยมีนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน  ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจันทบุรี สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี สภาเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี สำนักงานพาณิชย์จังหวัดจันทบุรี และภาคเอกชน ประกอบด้วย สมาคมทุเรียนไทย บริษัท จันทบุรีคลังเกษตร จำกัด และหอการค้าจังหวัดจันทบุรี

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า งานพืชสวนก้าวหน้า(Hortex) เป็นงานมหกรรมทางวิชาการเกษตรที่รู้จักในแวดวงการเกษตรในภาคตะวันออก และปัจจุบันได้ขยายวงกว้างออกไปจนเป็นที่รู้จักเกือบทั้งประเทศ เป็นการจัดงานที่นำเสนอวิทยาการใหม่ๆในวงการพืชสวนทั้งด้านการผลิตและการตลาด ในรูปแบบของนิทรรศการ สัมมนาวิชาการ และการสาธิตเครื่องจักรกลการเกษตร ทำให้เกษตรกรได้รับความรู้ใหม่ๆ วิทยาการที่ทันสมัย เปิดโอกาสให้เกษตรกรได้มีทางเลือกแนวทางการผลิตที่สอดคล้องกับการแข่งขันและสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยสามารถนำวิชาการและความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง รวมทั้งมาตรการและเงื่อนไขการกีดกันทางการค้าที่ซับซ้อน และทวีความเข้มงวดมากขึ้น

EB6D7606 7053 4F5D A08D ADF607D2D9BD

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลคุณภาพและมาตรฐานของปัจจัยการผลิตตามกฎหมาย และทำหน้าที่ให้การส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรของชาติ ได้เล็งเห็นความจำเป็นในการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรไทยมีความเข้มแข็ง มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของกรมวิชาการเกษตร ได้สร้างผลงานวิจัยทางด้านเกษตรขึ้นมามากมาย เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้ในการผลิตพืชให้ได้ผลสัมฤทธิ์ เกิดผลเป็นรูปธรรม ซึ่งเมื่อมี

การบูรณาการวิจัยและวิทยาการใหม่ๆ ทางด้านการเกษตร ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ของภาครัฐ บริษัทเอกชน และสถาบันการศึกษาต่างๆ ส่งผลให้งานด้านการเกษตรของประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าทันสมัย ทัดเทียมกับอารยประเทศในโลก ดังนั้น หลักการดำเนินงานของงานพืชสวนก้าวหน้า จึงสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรทางด้านพืชสวน เพื่อพัฒนาอาชีพเกษตรกรของไทยให้เจริญก้าวหน้า มั่นคง และมีความยั่งยืน

31FA5C82 4FE4 4F3D 9304 6BB9FCC18F01

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การจัดงานพืชสวนก้าวหน้าเริ่มจัดครั้งแรกเมื่อปี 2535 และจัดต่อเนื่องมาโดยตลอดทุก 1-2 ปี ในครั้งนี้เป็นการจัดงาน ครั้งที่ 17 

ภายในงานมีนิทรรศการทางวิชาการ การประชุมสัมมนาการแสดงสาธิตเครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัย และนวัตกรรมที่ทันสมัยในการทำสวนทุเรียน เรื่องเด่นในการเสวนา ได้แก่ สวนทุเรียน 100 ไร่ ทำได้คนเดียว Part 2 อนาคตลำไยไทย ทำอย่างไรให้ไปต่อ โอกาสและความท้าทายกับตลาดใหม่ของผลไม้ไทย อนาคตมังคุดไทยทำอย่างไรให้ยั่งยืน 

นิทรรศการเปิดบ้าน GAP เพื่อรองรับการให้บริการเกษตรกรที่มาร่วมงาน บริการตรวจสอบรายชื่อเกษตรกรและการออกใบรับรองที่แก้ไขเลขรหัสเสร็จแล้วให้แก่เกษตรกร การรับสมัคร ต่ออายุ และให้คำปรึกษาระบบ e-phyto เชื่อมโยงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขด้านการส่งออก 

84BCC957 5C05 4DEC 8E27 F7634871DBF3

ห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในพืชผักและผลไม้เพื่อการส่งออก พันธุ์ทุเรียน การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การสร้างสวนมังคุด ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกร และประชาชนทั่วไป ได้รับความรู้ในเรื่องของเทคโนโลยีการผลิตพืชและงานบริการวิชาการของกรมวิชาการเกษตรและสามารถนำไปปฏิบัติประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการทำการเกษตรของตนเอง

นอกจากนี้ หอการค้าจังหวัดจันทบุรีได้ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB) สมาคมทุเรียนไทย (TDA) สมาคมผู้ส่งออกผลไม้ (MAFTA) ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

40D2FD89 9F23 44CF AF2B FDF7C3994BFC

ในการจัดงาน Fruitpital Innovation Fair 2022 มหานครผลไม้ เพื่อผลักดันให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับผลไม้ ได้นำเสนอแนวคิดและแนวทางปฏิบัติมาบูรณาการให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนานำไปสู่ความเป็นศูนย์กลางผลไม้เมืองร้อนของอาเซียน 

และสร้างเวทีการเจรจาธุรกิจภาคเกษตรที่เชิญเกษตรกรชาวสวนร่วมกิจกรรม business matching เจรจาซื้อขายกับผู้ประกอบการส่งออกผลไม้ โดยการจัดงานตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมาได้รับกระแสการตอบรับเป็นอย่างดีมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมงานมากกว่า30,000 ราย  ผู้ที่สนใจขอเชิญเข้ารับชมงานได้ตั้งแต่วันที่ 8-11 ธันวาคม 2565 ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี