ติดตามความก้าวหน้าความร่วมมือวิชาการประมง ไทย – ญี่ปุ่น พร้อมเปิดเวทีสัมมนาในหัวข้อ Human Resource Development For Promoting Blue Economy หนุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสีน้ำเงิน

กรมประมงเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการร่วม TUMSAT – JICA เพื่อสรุปความก้าวหน้าของงานวิจัยภายใต้โครงการ “Utilization of Thailand Local Genetic Resources to Develop Novel Farmed Fish for Global Market” พร้อมหารือทางวิชาการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ซึ่งเป็นความร่วมมือขององค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) และ Tokyo University of Marine Science and Technology (TUMSAT) 

616FB9BF B586 4ADC A0E8 A50FE93B7CF7

โดยในโอกาสนี้ ยังได้มีการเปิดเวทีสัมมนา ในหัวข้อ “Human Resource Development For Promoting Blue Economy” หนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงิน ควบคู่กับการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย  ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-20 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร  โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญภายใต้การทำงานร่วมกันของJICA รวมถึงนักวิจัย อาจารย์ และนิสิตนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาของทั้ง 2 ประเทศ  เกษตรกร และผู้สนใจ เข้าร่วมรับฟังกว่า 150 ราย

นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า จากแนวโน้มจำนวนประชากรของโลกที่เพิ่มมากขึ้น กอรปกับกระแสความตื่นตัวในการดูแลสุขภาพและการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ของผู้คนในยุคปัจจุบัน ได้ส่งผลต่อความต้องการแหล่งอาหารโปรตีนที่ดีเพิ่มมากขึ้น  ทำให้กิจกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับความสนใจและมีการให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น  

98AAA453 B028 4D8C B82F 4497B7DC757B

โดยจากข้อมูลสถิติของกรมประมง ในปี 2564 ประเทศไทยจัดเป็นผู้ผลิตสัตว์น้ำรายใหญ่ของโลก อยู่ในอันดับที่ 14 ซึ่งมีผลผลิตรวมกว่า 2,506,700 ตันต่อปี  โดยเป็นผลผลิตจากการเพาะเลี้ยง 931,730 ตันหรือคิดเป็น 37.17 เปอร์เซ็นต์ และแบ่งเป็นผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง 

20.76 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลืออีก 16.41 เปอร์เซ็นต์ เป็นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด  

ซึ่งที่ผ่านมา ประเทศไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมง ในฐานะที่เป็นหน่วยงานภาครัฐซึ่งมีหน้าที่หลักในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศให้มีความยั่งยืนเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร ได้มุ่งมั่นขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศเพื่อรองรับต่อความต้องการบริโภคให้กับประชากรโลกอย่างต่อเนื่อง  

782C110B B3B9 49C6 95A5 382C19C34058

โดยได้มีการศึกษา วิจัย และใช้นวัตกรรมเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการยกระดับขีดความสามารถของเกษตรกรไทยให้มีศักยภาพทัดเทียมนานาประเทศในการสร้างผลผลิตสัตว์น้ำที่มีคุณภาพ พร้อมสร้างความมั่นคงในการประกอบอาชีพให้แก่เกษตรกรในระยะยาว ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) 

ความร่วมมือของ TUMSAT–JICA ภายใต้โครงการ Utilization of Thailand Local Genetic Resources to Develop Novel Farmed Fish for Global Market ซึ่งมีกรอบระยะเวลา 5 ปี (2562 – 2566) จึงเป็นโอกาสสำคัญที่กรมประมงและนักวิจัยจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จะได้ร่วมมือกับนักวิจัยของประเทศญี่ปุ่น ในการศึกษา วิจัย และพัฒนานวัตกรรมการนำทรัพยากรพันธุกรรมของสัตว์น้ำพื้นถิ่น อาทิ ปลากะพงขาว (Asian seabass) และกุ้งแชบ๊วย (Banana shrimp) มาปรับใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปขยายผลและต่อยอด ส่งผลให้เกิดการคงความหลากหลายทางด้านพันธุกรรม และสร้างผลผลิตที่เพิ่มขึ้น  

อีกทั้ง การจัดสัมมนาในหัวข้อ Human Resource Development For Promoting Blue Economy ครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทรัพยากรทะเลและชายฝั่งของไทยอย่างยั่งยืน อันจะสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารต่อไป

5A5C0685 010E 404C A84A 2A473F25766C

สำหรับเนื้อหาในการประชุมที่น่าสนใจ มีดังนี้ 1. การใช้เทคนิคการปรับปรุงพันธุ์ระดับโมเลกุล(Molecular breeding) ในการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีการเจริญเติบโตที่ดีและต้านทานโรค 2. การพัฒนานวัตกรรมการเพาะเลี้ยงเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในสัตว์น้ำ 3. การพัฒนาเทคนิคป้องกันโรคสัตว์น้ำ และ 4. การจัดตั้งธนาคารเชื้อพันธุ์ (seed bank)

อธิบดีกรมประมง กล่าวตอนท้ายว่า กรมประมงมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าวนี้ จะนำไปสู่การยกระดับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทยให้มีประสิทธิภาพ เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตอบสนองต่อความต้องการผู้บริโภค และพร้อมนำภาคการประมงไทยก้าวสู่การเป็นมหานครแห่งครัวโลกต่อไป

2E5995AE BFA9 48E8 94E2 E0BD3B5B0D0A