อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เยี่ยมด่านตรวจพืชนครพนม และ ศวพ.นครพนม มุ่งเน้นงานวิจัย พร้อมย้ำเกษตรปลอดภัย แนะใช้ชีวภัณฑ์ทดแทนเคมีเกษตร

อธิบดีกรมวิชาการเกษตรลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมด่านตรวจพืชนครพนม และ ศวพ.นครพนม มุ่งเน้นงานวิจัยการเกษตรควบคู่คุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร เน้นย้ำเกษตรปลอดภัย แนะนำเกษตรกรใช้ชีวภัณฑ์ทดแทนเคมีเกษตร

วันที่ 18 มกราคม 2566 นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ลงพื้นที่จังหวัดนครพนมเพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามผลการปฏิบัติงานของด่านตรวจพืชนครพนม ตามภารกิจด้านการควบคุมตรวจสอบพืช ผลิตผลพืชและวัสดุการเกษตรที่นำเข้า นำผ่าน และส่งออก ตามตาม พ.ร.บ. กักพืช วัตถุอันตราย ปุ๋ย พันธุ์พืช ยาง และคุ้มครองพันธุ์พืช 

โดยในปี 2565 มีการนำเข้าสินค้าเกษตร จำนวน 40,622.37 ตัน มูลค่ารวม 269 ล้านบาท สินค้าเกษตรที่นำเข้ามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ มันเส้น (Tapioca chip) ไม้แปรรูป และแครอท โดยสินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่มาจาก สปป.ลาว นอกจากนี้มีการนำเข้าปุ๋ยจาก สปป.ลาว เป็นชนิดปุ๋ยเคมี สูตร 0-0-60 จากสปป.ลาว ปริมาณ 306,562 ตัน มูลค่ารวม 1,555 ล้านบาท

C7B64FA1 FEA2 4E5B 8E7C C6C326E7EC17

การส่งออกสินค้าเกษตรทางด่านตรวจพืชนครพนม ดำเนินการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชจำนวน 8,229 ฉบับ ปริมาณ 166,100 ตัน มูลค่ารวม 14,493 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2564 มีการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช 34,187 ฉบับ ปริมาณการส่งออก 626,823 ตัน มูลค่ารวม 59,404 ล้านบาท ซึ่งมีปริมาณการส่งออกลดลง 76% โดยสินค้าเกษตรที่ส่งออกสูงสุด 5 อับดับแรก ได้แก่ ทุเรียน มังคุด ลำไยหมาก และขนุน ประเทศปลายทาง ได้แก่ จีน เวียดนาม และ สปป.ลาว นอกจากนี้มีการส่งออกปุ๋ยเคมี 28 สูตร ปริมาณ 5,998 ตัน มูลค่ารวม 132 ล้านบาท ประเทศปลายทาง สปป.ลาว 

การส่งออกในปี 2565 ลดลงอย่างมากเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 โดเฉพาะประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างจีนได้ประกาศมาตรการ ZERO Covid รวมถึงการตรวจสอบการปนเปื้อนสินค้าอาหารที่ส่งผ่านระบบห่วงโซ่ความเย็นอย่างเคร่งครัด ผู้ประกอบการขนส่งประสบปัญหารถติดที่หน้าด่านนำเข้าของจีน โดยเฉพาะด่านโหย่วอี้กวนซึ่งเป็นด่านนำเข้าหลักของผู้ประกอบการที่ส่งออกสินค้าทางด่านนครพนมไปจีน จากการขนส่งทึ่ล่าช้าส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพผลไม้ ทำให้ปริมาณการส่งออกสินค้าผ่านด่านนครพนมมีจำนวนน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด

2B58F9BE 8AB8 4693 8612 C2731F44F830

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า จากรายงานของฝ่ายเกษตร ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจวศุลกากรแห่งชาติจีน (GACC) ยกเลิกมาตรการการทดสอบการเฝ้าระวังเชื้อไวรัสโควิด – 19 กับผลิตภัณฑ์อาหารที่ขนส่งผ่านระบบห่วงโซ่ความเย็นและสินค้าที่ไม่ได้ขนส่งผ่านระบบห่วงโซ่ความเย็นที่นำเข้าตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ซึ่งส่งผลดีต่อการส่งออกผลไม้ให้ถึงมือผู้บริโภคชาวจีนได้อย่างรวดเร็ว และได้ผลไม้ที่สดใหม่และมีคุณภาพยิ่งขึ้นส่งผลให้ราคาผลผลิตสูงขึ้นตามไปด้วย 

อย่างไรก็ตามกรมวิชาการเกษตร ยังคงเข้มงวดในการป้องกันเชื้อโควิดปนเปื้อนในผลไม้ไทยส่งออก เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าสินค้าเกษตรไทยมีมาตรการคุมเข้มการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโควิด พร้อมกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับการส่งออกผลไม้ฤดูกาล ปี 2566 โดยเฉพาะทุเรียนภาคตะวันออก ที่จะเริ่มมีการเก็บเกี่ยวและส่งออกช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์นี้ ตรวจสอบคุณภาพของทุเรียนให้ได้ตามมาตรฐานการส่งออกรวมถึงการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขข้อตกลงพิธีสารไทย-จีน เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานผลไม้ไทยให้เป็นที่ต้องการแก่ผู้บริโภคยิ่งขึ้น 

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ยังได้เน้นย้ำ ผลผลิตทางการเกษตร ต้องมีความปลอดภัย ทั้งเกษตรกร และผู้บริโภค กรมวิชาการเกษตรต้องมุ่งเน้น งานวิจัย ควบคู่กับมาตรฐานสินค้าเกษตร เกษตรกรต้องปลอดภัยแนะนำเกษตรกรใช้ชีวภัณฑ์ทดแทนเคมีเกษตร