มนัญญา หารือ MOU ไทย-ลาว กระชับความสัมพันธ์ กระทรวงเกษตรฯไทยและกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ลาว

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำคณะผู้บริหารระดับสูงจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกอบด้วย นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรนางสาวอัญมณี ถิรสุทธิ์ รองอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และนายนิรันดร์ มูลธิดา รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วยคณะข้าราชการจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งผู้ประกอบการจากภาคเอกชน 

เดินทางเยือน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเพื่อหารือความร่วมมือด้านการเกษตร ภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ สปป.ลาว ระหว่างวันที่ 25-28 มกราคม 2566

จากนโยบายนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา ที่ย้ำการเป็น “หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เพื่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน” พร้อมฟื้นฟูเศรษฐกิจ เชื่อมโยงการท่องเที่ยวคมนาคม รอบด้าน กับสปป.ลาว ลาวเป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 18 ของไทย 

โดยใน ปี 2565 ไทย – ลาว มีมูลค่าการค้าชายแดนและผ่านแดน (สินค้าทุกประเภท) ทั้งหมดรวม 5.5 แสนล้านบาท เป็นการส่งออกจากไทย 3.13 แสนล้านบาท และนำเข้าจากลาวเป็นมูลค่า 2.35 แสนล้านบาท ด่านศุลกากรที่สำคัญอันดับ 1 คือ ด่าน มุกดาหาร มีมูลค่า การค้าชายแดนและผ่านแดน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกและนำเข้าถึง 2.24 แสนล้านบาท รองลงมาคือ ด่านหนองคาย นครพนมและด่านเชียงของตามลำดับ ภาพรวมสินค้าเกษตรในการค้าชายแดนและผ่านแดนทางบก ไทย – สปป. ลาว(ม.ค. – พ.ย. 2565) 

ในปี 2565 ไทย – ลาว มีมูลค่าการค้าชายแดน (สินค้าเกษตรที่มีใบรับรองสุขอนามัยพืช) ส่งออกปริมาณรวม 1.1 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3.5 พันล้านบาท โดยมีสินค้าเกษตรส่งออกไปลาวที่สำคัญคือ ไม้และผลิตภัณฑ์ กากและของเหลือจากพืช อาหารสัตว์และผลิตภัณฑ์ ข้าว ผลไม้สด เป็นต้น สำหรับการส่งออกผ่านแดนจากลาวไปจีน (สินค้าเกษตรที่มีใบรับรองสุขอนามัยพืช) มีปริมาณรวม 8.06 แสนตัน คิดเป็นมูลค่า 5.66 หมื่นล้านบาท ผ่านด่านตรวจพืชเชียงของ ด่านตรวจพืชนครพนม ด่านตรวจพืชมุกดาหารและ ด่านตรวจพืชหนองคาย ตามลำดับ

ในการนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเข้าเยี่ยมคารวะ  รัฐมนตรีกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ สปป.ลาว ณ.กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ นครหลวงเวียงจันทร์ เพื่อให้ความร่วมมือ และ ความกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ส่งเสริมเจตจำนงและมิตรภาพที่ดี และเปิดโอกาสในการหารือโครงการร่วมกันระหว่างกรมวิชาการเกษตรราชอาณาจักรไทย และ กรมปลูกฝังสปป.ลาว ภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ สปป.ลาว

93066190 A391 4D34 A6AE 85B5B9C94B8B

นางสาวมนัญญา เปิดเผยว่า ในการหารือระหว่างกรมวิชาการเกษตร และ กรมปลูกฝัง จะมีความร่วมมือด้านมาตรการสุขอนามัยพืชไทย-ลาว การอำนวยความสะดวกทางการค้า การจัดตั้งคณะทำงานร่วมไทยลาว (Working Group) ด้านวิชาการเกษตร และ การกักกันพืช โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้แก่ โครงการศูนย์พัฒนาและบริการกสิกรรมแขวงสะหวันเขต และ โครงการศูนย์พัฒนา และบริการด้านการเกษตรห้วยชอน-ห้วยชั้ว โดยการนำเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตรไปขยายผลสู่พื้นที่เป้าหมาย

982D3F75 54BF 4BE4 84D7 6B05F2C01E9A

นอกจากนี้ยังได้หารือกับ กรมตรวจบัญชีกลาง ของ สปป.ลาว ในการอบรมให้ความรู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านระบบการทำบัญชี และระบบการควบคุมภายในให้แก่สหกรณ์ของ สปป. ลาว จัดโปรแกรมศึกษาดูงานให้แก่เจ้าหน้าที่ด้านสหกรณ์ของ สปป. ลาว  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับครูบัฐยีอาสาและ Smart Farmer ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ แนะนำการใช้งานโปรแกรมระบบบัญชีสหกรณ์ครบวงจร(Cooperative Full Pack Accounting Software : FAS) ให้แก่สหกรณ์ของ สปป. ลาว

5DC2E9D4 5B9F 4276 8275 C79F86D01388

ในส่วนของความร่วมกับกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ จะมีรายงานผลสำเร็จของโครงการความร่วมมือด้านการสหกรณ์ระหว่างประเทสไทย – สปป.ลาว โครงการพัฒนาสร้างความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มเกษตรกรและสหกณณ์การเกษตร (สหกรณ์คู่แฝด ไทย-ลาว)  การรายงานผลการประชุมหารือการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านการสหกรณ์ ระยะที่ 2 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2565 ระหว่างกรมส่งเสริมสหกรณ์ ประเทศไทยกับกรมส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ และพัฒนาชนบท สปป. ลาว

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในตอนท้ายว่า การเดินทางไป สปป.ลาวในครั้งนี่จะมีการหารือในประเด็นความร่วมมือต่างๆ ข้างต้น ที่ทั้งสองประเทศจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เส้นทางรถไฟ ไทย-ลาว-จีน ที่ราชอาณาจักรไทย ไม่ได้มอง สปป.ลาวว่าเป็นทางผ่าน แต่มองว่าสปป.ลาวเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ที่จะขยายสินค้าจากไทยไปยังจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ โดยไทย และสปป.ลาว จะต้องหารือร่วมกันและทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ในการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เพื่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

5F6BCFA0 6CC6 46F1 8B43 487FAABEA2DE