ส่องงบปี 2566 เกษตรอู้ฟู่แสนล้าน กรมชลประทานครองแชมป์ จับตากรมการข้าวของบพุ่ง 17,000 ล้าน

เอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 3 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 ที่ สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี ส่งไปให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยืนขอ งบประมาณปี 2566 126,067,052,900 บาท เงินนอกงบประมาณ 260,955,400 บาท

[งบประมาณรายจ่ายปี 2565 109,852,618,700 บาท เงินนอกงบประมาณ 273,391,800 บาท]

ทั้งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดวิสัยทัศน์คือ เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี

เมื่อส่องเข้าไปดูรายละเอียดด้านในแต่ละกรมของบไปเท่าไหร่…

  1. กรมชลประทาน 77,532.4829 ล้านบาท
  2. กรมการข้าว 17,343.3254 ล้านบาท
  3. กรมปศุสัตว์ 5,230 .3037 ล้านบาท
  4. กรมส่งเสริมการเกษตร 4,975.8948 ล้านบาท
  5. กรมพัฒนาที่ดิน 3,948.3661 ล้านบาท
  6. กรมประมง 3,499.8954 ล้านบาท
  7. กรมวิชาการเกษตร 3,068.5028 ล้านบาท
  8. กรมส่งเสริมสหกรณ์ 2,586.8894 ล้านบาท
  9. กรมฝนหลวงและการบินเกษตร 2,173.5189 ล้านบาท
  10. สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) 1,395.1705 ล้านบาท
  11. กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 1,222.6661 ล้านบาท
  12. สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 1,085.7034 ล้านบาท
  13. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 601.8887 ล้านบาท
  14. กรมหม่อนไหม 525.7827 ล้านบาท
  15. มกอช. 226.5565 ล้านบาท

หน่วยงานในการกำกับ/องค์การมหาชน

  1. สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง 454.5624 ล้านบาท
  2. พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ 195.4490 ล้านบาท

ทั้งนี้เมื่อแยกเป็นรายจ่าย
รายจ่ายประจำ 33,780,711,800 บาท
รายจ่ายงบลงทุน 92,286,341,100 บาท

วิเคราะห์ไปในรายละเอียดของกรมต่างๆ ที่น่าสนใจคืองบของกรมชลประทาน ที่ยังครองแชมป์อยู่ที่ 77,532.4829 ล้านบาท

งบประมาณรายจ่ายบุคลากร 5,764.3404 ล้านบาท
งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ 31,320.7870 ล้านบาท
งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ 40,447.3555 ล้านบาท

กรมชลประทานปี 2566 ของบประมาณเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ในงบปี 2565 ได้จัดสรร 77,143,433,900 บาท ปีนี้ขอเพิ่ม 389 ล้านบาท

กรมที่เป็นดาวรุ่งพุ่งแรงและน่าจับตามากที่สุดคือกรมการข้าว จากงบปี 2565 ที่ได้รับจัดสรร 2,037,886,000 บาท ปีนี้ยื่นขอ 17,343,325,400 บาท เพิ่มขึ้นจากเดิม 15,300 ล้านบาท [เกือบๆ 800%] งบประมาณที่เพิ่มขึ้นมานี้ คือ โครงการสนับสนุนลดต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว งบประมาณ 15,260,000,000 บาท

โครงการนี้ วางเป้าหมายไว้ที่พื้นที่ปลูกข้าว 61 ล้านไร่ ชาวนา 4.5 ล้านครัวเรือน

โครงการนี้วางวัตถุประสงค์ไว้ 2 ข้อใหญ่ๆคือ

  1. เพื่อสนับสนุนลดต้นทุนการผลิตให้กับกลุ่มชาวนาผู้ปลูกข้าวเป็นรายหมู่บ้าน โดยให้ชาวนาร่วมกันบริหารจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพต้นทุนการผลิตข้าวแบบยั่งยืน
  2. เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว การลดต้นทุน การเพิ่มผลผลิต การยกระดับคุณภาพ การสนองความต้องการของตลาดรวมทั้งการผลิตข้าวที่ปรับตัว และดูแลสิ่งแวดล้อม

เรื่องงบประมาณของกระทรวงเกษตรฯนี้ต้องดูกันยาวๆว่าทางสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณากันอย่างไร ตรงไหนจะเพิ่มเติมตรงไหนตัดออก ยากแก่การคาดเดา