กรมทางหลวงชนบทเพิ่มศักยภาพเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งพืชผลการเกษตร สร้างสะพานข้ามแม่น้ำนครชัยศรี จ.นครปฐม ช่วยในการขนส่ง ชมพู่ ส้มโอ ฝรั่ง ผลไม้ชื่อดังของจังหวัด

กรมทางหลวงชนบท (ทช.) รายงานความคืบหน้าโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำนครชัยศรี (แม่น้ำท่าจีน) ตำบลงิ้วราย – ตำบลสัมปทวน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เพิ่มศักยภาพเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งพืชผลทางการเกษตรซึ่งปัจจุบันมีความคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 29 ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานก่อสร้างตอม่อสะพาน โดยโครงการดังกล่าวคาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ช่วงกลางปี 2567

สร้างสะพานข้ามแม่น้ำนครชัยศรี จ.นครปฐม

จากนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ที่ให้ความสำคัญในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมขนส่งพืชผลทางการเกษตรระหว่างตำบล อำเภอหรือจังหวัด เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชนให้ประชาชนมีรายได้อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนเป็นการรองรับการเจริญเติบโตของเมืองในอนาคต ประกอบกับองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย ได้มีหนังสือขอรับการสนับสนุนโครงการก่อสร้างสะพานดังกล่าวเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน เนื่องจากประชาชนที่ต้องการเดินทางระหว่างตำบลงิ้วรายไปยังตำบลสัมปทวน อำเภอนครชัยศรี ต้องเดินทางอ้อมไม่ได้รับความสะดวกรวดเร็ว

สร้างสะพานข้ามแม่น้ำนครชัยศรี

กรมทางหลวงชนบท (ทช.) จึงได้ดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำนครชัยศรี โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการบริเวณถนนขององค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์รถเก่า (เจษฎาเทคนิค มิวเซียม) และมีจุดสิ้นสุดโครงการที่ตำบลสัมปทวน บริเวณข้างวัดปิ่นจันทราราม (วัดกกตาล) ซึ่งก่อสร้างเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ความยาว 400 เมตร ผิวจราจรกว้าง 9 เมตร และก่อสร้างถนนต่อเชื่อมผิวทางลาดยางแอสฟัลต์คอนกรีตทั้งสองฝั่งของสะพาน รวมระยะทาง 710 เมตร พร้อมติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย งานเครื่องหมายจราจร โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 114.278 ล้านบาท

สร้างสะพานข้ามแม่น้ำนครชัยศรี

เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ นอกจากจะเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่ทำให้ประหยัดเวลาในการเดินทางได้ประมาณ 2 กิโลเมตร แล้ว ยังช่วยเพิ่มศักยภาพในการขนส่งพืชผลทางการเกษตร อาทิ ชมพู่ ส้มโอ ฝรั่ง ซึ่งเป็นผลไม้ชื่อดังของจังหวัดให้เป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วปลอดภัย รวมทั้งยังช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจระดับชุมชนให้มีความมั่นคงแข็งแรงเพื่อช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่อย่างยั่งยืนต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รูปแบบการขนส่งที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้มากที่สุดในปัจจุบัน พบว่า การขนส่งสินค้าทางถนนเป็นรูปแบบการขนส่งที่ได้รับความนิยมใช้ขนส่งสินค้าภายในประเทศมากที่สุด ปริมาณการขนส่งสินค้าที่ใช้การขนส่งทางถนน คิดเป็นสัดส่วนกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของการขนส่งสินค้าในประเทศทั้งหมด

ทั้งนี้เหตุผลที่การขนส่งสินค้าทางถนนได้รับความนิยมมาก เพราะความสามารถในการเข้าถึงแหล่งผลิตและแหล่งบริโภคได้โดยตรง (Door-To-Door) เนื่องจากมีโครงข่ายถนนที่เชื่อมต่อภูมิภาคต่าง ๆ ครอบคลุมทั่วประเทศ มีหน่วยบรรทุก(Unit Load) ขนาดเล็ก และสามารถจัดหาพาหนะได้สะดวก ทำให้สามารถขนส่งสินค้าไปที่จุดหมายปลายทางที่แตกต่างกันได้สะดวก ประกอบกับการขนส่งรูปแบบอื่น ๆ มีข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่สามารถรองรับความต้องการขนส่งสินค้าได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพและไม่สามารถให้บริการขนส่งจากแหล่งผลิตถึงแหล่งบริโภคไดโดยตรงและจำเป็นต้องใช้การขนส่งทางถนนเป็นตัวป้อน( Feeder )

โดยสรุป คือ การขนส่งสินค้าทางถนนไดเ้ปรียบการขนส่งรูปแบบอื่น ๆ ในด้านการเป็นการขนส่งรูปแบบเดี่ยว (Single Mode) ที่สามารถเข้าถึงแหล่งผลิตและแหล่งบริโภคได้โดยตรง ทำให้สามารถให้บริการรวบรวมและกระจายสินค้าได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งรูปแบบอื่น ๆ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า