กรมวิชาการเกษตรผนึกภาคเอกชนเร่งขับเคลื่อนไทยเป็นศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และผู้นำด้านเมล็ดพันธุ์พืชผักเขตร้อนคุณภาพสูงของโลก

กรมวิชาการเกษตรดึง สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย บริษัทไบเออร์ไทย จำกัด บริษัท เจียไต๋ จำกัด และบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด เป็น Certified Laboratory มุ่งเป้ารับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ  ปี2566 สนับสนุนเป้าหมายส่งออกเมล็ดพันธุ์ให้มีมูลค่ามากกว่า 15,000 ล้านบาท/ปี

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในโอกาสที่ประเทศไทยเป็น เจ้าภาพการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปชิฟิก (APEC) ระหว่างวันที่ 14-19 พ.ย.2565  และการประชุมรัฐมนตรีเกษตรและอาหาร APEC โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์  ได้เน้นย้ำนโยบายความมั่นคงอาหาร นโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก ความปลอดภัยทางอาหาร การค้าระหว่างประเทศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

F5022F5D 3C3A 4AE5 BFE1 DA1A6F56F0F8

กรมวิชาการเกษตรให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีชีวภาพระดับสูงทางการเกษตรร่วมกับเทคโนโลยีการผลิตพืชอย่างปลอดภัย สู่เป้าหมายความมั่นคงด้านอาหารในปี 2573 โดยร่วมมือกับภาคเอกชน ด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ สู่การเป็นผู้นำการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชผักเขตร้อนคุณภาพสูงของโลก (World Leader of Tropical Seeds)  รับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการตรวจสอบศัตรูพืช (Seed Test Lab Accreditation Certification)  โดยดึงสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย, บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด, บริษัท เจียไต๋ จำกัด และ บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด เป็นห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร (Certified Laboratory) สู่ความเข้มแข็งของชุมชนและการเติบโตของอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์อย่างยั่งยืน สนับสนุนเป้าหมายการส่งออกเมล็ดพันธุ์ ให้มีมูลค่ามากกว่า 15,000 ล้านบาท/ปี

249F5E3F 858C 4C94 878C 0AD23A8CD0EA

จากการประชุมเมล็ดพันธุ์พืชแห่งเอเชียและแปซิฟิค ประจำปี 2565 หรือ Asian Seed Congress 2022 เพื่อ Kick off ศูนย์กลางการผลิตและตรวจรับรองคุณภาพเมล็ดพันธุ์ในเขตภาคเหนือ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจึงได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามความคืบหน้าของบริษัทเอกชนที่กำลังยื่นขอเป็นห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจรับรองการปลอดศัตรูพืชในเมล็ดพันธุ์ได้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ (e – Phyto) สอดรับกับประกาศกรมวิชาการเกษตร ให้การตรวจสอบศัตรูพืชหรือการกำจัดศัตรูพืช ต้องกระทำโดยกรมวิชาการเกษตร หรือหน่วยงานที่กรมวิชาการเกษตรยอมรับความสามารถเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งห้องปฏิบัติการดังกล่าวจะช่วยขับเคลื่อนไทยเป็นศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและผู้นำด้านเมล็ดพันธุ์พืชผักเขตร้อนคุณภาพสูงของโลก

37AEE816 763E 48E9 98C1 07DDA18467D3

วันที่ 6 ก.พ. 2566 อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เข้าร่วมงาน Field day 2023 ของบริษัท เจียไต๋ จำกัด(สถานีวิจัยเชียงใหม่) ซึ่งจัดขึ้นเพื่อแสดงเทคโนโลยีด้านการเกษตรตั้งแต่การผลิตพืชสายพันธุ์ดีโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูงตลอดจนไปสู่กระบวนการผลิตด้วยนวัตกรรมสมัยใหม่ เช่น การใช้โดรนเกษตร“ฟาร์มอินโน (ไทยแลนด์)” เพื่อลดการสูญเสีย ลดต้นทุน ปลอดภัยต่อผู้บริโภค นำไปสู่ความมั่นคงทางอาหาร ถือเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย ทั้งนี้ บริษัท เจียไต๋ จำกัด เป็นแหล่งปรับปรุงพันธุ์ ผลิต และเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักคุณภาพสูงในเขตภาคเหนือ มีเกษตรกรเครือข่ายเป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์แบบบูรณาการระหว่างภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร โดยเกษตรกรได้รับความรู้วิธีปฏิบัติในการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักคุณภาพดีสู่การได้ราคาเมล็ดพันธุ์ที่ยุติธรรมและสมเหตุสมผล ประกอบกับห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของบริษัท เจียไต๋ จำกัด ได้รับการรับรองมาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์จากสมาคมทดสอบเมล็ดพันธุ์นานาชาติ (ISTA) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประเทศคู่ค้าเป็นอย่างมาก

BA411CD4 D9EB 4D10 8A31 3F5D6D0F6BA0

ปัจจุบันห้องปฏิบัติการตรวจสอบสุขอนามัยของเมล็ดพันธุ์ของบริษัทเจียไต๋อยู่ระหว่างการยื่นขอตรวจประเมินความสามารถห้องปฏิบัติการของเอกชน เพื่อให้การรับรองเป็นห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจรับรองการปลอดศัตรูพืชในเมล็ดพันธุ์ได้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ (e – Phyto) ซึ่งอยู่ในระหว่างขั้นตอนการดำเนินการของกรมวิชาการเกษตร คาดว่าจะได้รับหนังสือการยอมรับความสามารถของห้องปฏิบัติการตรวจสอบศัตรูพืชจากกรมวิชาการเกษตร ภายในปี 2566 นี้

วันที่ 7 .. 2566 ลงพื้นที่ตรวจติดตามความคืบหน้าของ บริษัทอีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ที่มีห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการโรคพืช และอณูพันธุศาสตร์ ชีววิทยาของเซลล์ ที่สนับสนุนการปรับปรุงพันธุ์พืชเขตร้อนให้ได้รวดเร็วขึ้น เกษตรกรไทยสามารถเข้าถึงสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศเขตร้อนของประเทศไทย ลดต้นทุนในการผลิต ให้สามารถแข่งขันในภาวะราคาปัจจัยการผลิตสูงได้

ห้องปฏิบัติการอณูพันธุศาสตร์ สามารถตรวจสอบความถูกต้องของสายพันธุ์เมล็ดพันธุ์การค้า มีห้องปฏิบัติการตรวจสอบโรคเมล็ดพันธุ์ของฝ่ายประกันคุณภาพ ที่สามารถตรวจสอบโรคที่ถ่ายทอดทางเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้มั่นใจว่าเกษตรกรไทยได้รับมอบเมล็ดพันธุ์การค้าคุณภาพตรงตามสายพันธุ์และปราศจากโรค

9658680F 110B 44C5 88BC C59E91300369

พร้อมกันนี้ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้สังเกตการณ์การตรวจประเมินห้องปฏิบัติการตรวจสอบศัตรูพืชของ บริษัทอีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด โดยเจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการเกษตร ถึงความสามารถของห้องปฏิบัติการฯ เพื่อให้การรับรองเป็นห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจรับรองการปลอดศัตรูพืชในเมล็ดพันธุ์ได้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งคาดว่าจะได้รับมอบหนังสือรับรองจากกรมวิชาการเกษตร ภายในปี 2566 นี้

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้เข้าตรวจติดตาม การดำเนินงานห้องปฏิบัติการตรวจสอบสุขอนามัยเมล็ดพันธุ์ ของศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชเชียงใหม่ ซึ่งมีความพร้อมในการให้บริการตรวจสอบสุขอนามัยเมล็ดพันธุ์และชิ้นส่วนพืช ได้แก่ เชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส รวมถึงให้คำปรึกษาการป้องกันกำจัดโรคพืชต่าง ๆ ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนรวมถึงเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือ “ขณะนี้อยู่ระหว่างพัฒนาห้องปฏิบัติการตรวจสอบสุขอนามัยเมล็ดพันธุ์ ให้ได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการISO/IEC 17025: 2017 จากกองบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ (บร.) กรมวิทยาศาสตร์บริการ คาดว่าจะได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ภายในปี 2568

8E5A7848 8821 4638 AD9C 835735C8055B

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวในตอนท้ายว่า วันที่ 18 ม.ค. 2566 ที่ผ่านมา ได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ไบเออร์ และได้มอบหนังสือการยอมรับความสามารถของห้องปฏิบัติการตรวจสอบศัตรูพืช(Seed Test Lab Accreditation Certification) ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่นในระบบการตรวจสอบศัตรูพืชของไทย ซึ่งตนหวังว่าห้องปฏิบัติการตรวจสอบสุขอนามัยของเมล็ดพันธุ์ บริษัท เจียไต๋ จำกัด และบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด จะได้รับการเป็น Certified Laboratory ในปี 2566 เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายเมล็ดพันธุ์สนับสนุนเป้าหมายการส่งออกเมล็ดพันธุ์มูลค่ามากกว่า 15,000 ล้านบาท/ปี