สภาพิจารณาเรื่องด่วนร่าง พ.ร.บ.ประมง 7 ฉบับ แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.ก.ประมงปี58 ปลดล็อกชาวประมง แต่น่าเสียดายสภาล่ม

10 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า เมื่อเย็นวานนี้ (9 กุมภาพันธ์ 2566) มีความสำคัญและเป็นความหวังมาก คือ ระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 27 สมัยสามัญประจำปีครั้งที่2 เป็นพิเศษ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุมโดยมีเรื่องด่วนคือร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมงพ.ศ.2558 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาในปีแรกของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก่อนที่จะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นกฎหมายตอบสนองต่อประมง IUU Fishing ย่อมาจาก Illegal, Unreported and Unregulated Fishing (IUU Fishing) หรือการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม เป็นนิยามที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือFAO(Food and Agriculture Organization ) บัญญัติขึ้น

S 350617611
มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข

” ด้วยความเข้มงวดของกฎหมายฉบับนี้และการออกพระราชกำหนดการประมงปี2558 ใช้มาตรวัดของ IUU มากเกินไปทำให้ชาวประมงพื้นบ้านและผู้ทำอาชีพประมงรวมทั้งเครือข่ายประมงทั้งหมดได้รับผลกระทบและเกิดช่องว่างในช่วงเวลาที่ผ่านมาอย่างมากจากนั้นจึงมีญัตติในสภาในช่วงเวลาที่ผ่านมาและเมื่อวานก็ได้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่มีการแก้ไขทั้งหมดเสนอจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายพรรครวม7 ฉบับโดยฉบับหนึ่งในนั้นคือฉบับของพรรคประชาธิปัตย์ที่เสนอโดยนางกันตวรรณ ตันเถียร ส.ส.พังงา พรรคประชาธิปัตย์กับคณะ ซึ่งสาระส่วนใหญ่มุ่งแก้ไขกฎหมายให้เกิดความเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย และมุ่งเป้าหมายให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านและชาวประมงทั้งระบบ ” ดร.มัลลิกา กล่าว

%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2
สภาล่ม

ดร.มัลลิกา กล่าวว่า ส่วนร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมงของคณะอื่นก็มีทิศทางไม่แตกต่างกันมาก ล้วนมีเป้าประสงค์เดียวกันคือปลดล็อกช่วยชาวประมง โดยนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎรให้นำเสนอร่างทั้งหมดจากนั้นมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร่วมอภิปรายอย่างกว้างขวาง

อย่างไรก็ตาม ดร.มัลลิกา กล่าวว่า ขั้นตอนของการออกกฏหมายคือหากผ่านสภาได้ก็ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา และถ้าเรียบร้อยก็นำกลับสู่สภาในวาระ 2 และ 3 ต่อไป ซึ่งน่าเห็นใจพี่น้องชาวประมงอย่างมากที่ขั้นตอนเหล่านี้ใช้เวลาแต่หากสามารถกระทำการได้ทันก็สามารถยกเลิกกฎหมายฉบับเดิมที่เป็นพ.ร.ก.ประมง ปี2558 นั้นเสียแล้วใช้ร่าง พ.ร.บ.ประมงฉบับที่จะออกจากสภาซึ่งมาจากผู้แทนประชาชนนี้ได้

“อันที่จริงก่อนหน้านี้มีพี่น้องชาวประมงภาคใต้และตัวแทนจากจังหวัดยะลากับปัตตานีได้ฝากดิฉันหารือผ่านสภามาเช่นกัน แล้วหลังการหารือนั้นท่านประธานสภา ชวน หลีกภัย ก็ให้เจ้าหน้าที่สรุปส่งเรื่องไปที่กรมประมงกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยข้อหารือนั้นคือพี่น้องชาวประมงโดยเฉพาะประมงพื้นบ้านอยากให้เจ้าหน้าที่รัฐผ่อนปรนหรือหาวิธีช่วยพี่น้องชาวประมงพื้นบ้านไม่ให้ถูกยึดเรือหรือเครื่องมือทำกินในระหว่างที่รอกฎหมายฉบับแก้ไขนี้ได้อย่างไร ทั้งนี้เพื่อให้ชาวประมงพื้นบ้านทั้งหลายที่เขาไม่มีอาชีพอื่นรองรับสามารถมีชีวิตและประกอบอาชีพได้ และถ้าสามารถผลักดันกฎหมายออกไปได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องชาวประมงอย่างมากแต่ก็น่าเสียดายที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่กันไม่ครบองค์ประชุมในช่วงเวลา 18.00 น.ของวานนี้ ก็ไม่รู้ว่าท่านจะรีบไปหาเสียงกับพี่น้องประชาชนเพื่อเข้าสภามาใหม่รอบหน้าทำไมในเมื่อมีสภาให้ทำงานในวันนี้แต่ท่านก็ไม่อยู่กัน ” ดร.มัลลิกา กล่าว