“เป๊ปซี่โค” เดินหน้าสานพลังบวก pep+หนุนการเกษตรยั่งยืน

นายคอลิน แมทธิวส์ ผู้อำนวยกาารอาวุโสฝ่ายซัพพลายเชน  ของ PepsiCo Indochina Food บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า หนึ่งในกลยุทธ์ PepsiCo Positive (pep+) ของเป๊ปซี่โค มีเป้าหมายและแนวปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อผืนดิน เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมด้านการเกษตรบนที่ดินอันเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของบริษัททั้งหมด 7 ล้านเอเคอร์ทั่วโลก จัดหาพืชผลและวัตถุดิบหลักอย่างยั่งยืน และปรับปรุงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรกว่า 250,000 คน ในห่วงโซ่อุปทานทางการเกษตรของบริษัท โดยการนำระบบเกษตรแบบฟื้นฟู และเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) เข้ามาช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและสภาวะทางชีวภาพของดิน ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิต โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสนับสนุนศักยภาพให้กับเกษตรกร

d3328a201d334ff7ad0f94822287ce8653195c5346f335799dde096072c8ceca
คอลิน แมทธิวส์ 

ที่สำคัญเป๊ปซี่โค ยังได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การบริหารการจัดการน้ำและแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ การใช้ระบบน้ำหยด การใช้เทคโนโลยีต่างๆ อาทิ โซล่าเซลส์ การตรวจวิเคราะห์คุณภาพของดิน และความเป็นไปได้ในการเกิดโรคพืชโดยการใช้โดรน เข้ามาใช้ในแปลงปลูกมันฝรั่งของเกษตรกรที่ทำงานร่วมกับบริษัท ซึ่งก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ช่วยเพิ่มผลผลิต จาก 1.5 ตันต่อไร่ เป็น 4 ตันต่อไร่ เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคอาหาร บนพื้นฐานที่คำนึงถึงการเกษตรที่ยั่งยื่น ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ขณะที่เกษตรกรสามารถลดต้นทุนทางการผลิตได้ รวมถึงสามารถลดน้ำที่เหลือทิ้งสูญเปล่าได้เช่นเดียวกัน 

นายคอลิน แมทธิวส์ ยังย้ำว่า  เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ถือเป็นบริษัทด้านการเกษตรที่มีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะทำให้การทำไร่มันฝรั่งในประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันและประสบความสำเร็จของเกษตรกรไทยเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จในระยะยาวของธุรกิจเป๊ปซี่โค ประเทศไทย ในปัจจุบัน การทำการเกษตรกำลังเผชิญกับความท้าทายที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม เป๊ปซี่โคมุ่งมั่นที่จะเป็นพันธมิตรร่วมกับเกษตรกรไทยเพื่อให้มั่นใจว่าผลผลิตของฟาร์มเพิ่มขึ้น มีความยั่งยืน และเกษตรกรและชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเชื่อมั่นในความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร ในการสร้างความก้าวหน้าให้กับการเกษตรของประเทศไทย

ด้านนายจิระวัฒน์ ภูมิศรีแก้ว ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และรัฐกิจ บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันหลังจากที่การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด -19 ทำให้สถานการณ์โลกเปลี่ยน ที่เห็นชัดเจนคือด้านสิ่งแวดล้อม ชุมชนมีความขัดแย้งสูง นอกจากนี้ความมั่นคงด้านอาหารที่องค์การสหประชาชาติคาดว่าในอนาคตอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก โดยปี 2037 เป็น 9,000 พันล้านคน และจะมีความลักลั่นของชนชั้นระหว่างผู้มีรายได้น้อยกับคนร่ำรวย รวมถึงปัญหาด้านมลภาวะอีกด้วย

สิ่งเหล่านี้ทางบริษัท เป๊ปซี่โค ได้ตระหนักมาตลอดโดยเฉพาะความมั่นด้านอาหารจึงมีการสนับสนุนภาคการเกษตรกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ในส่วนของประเทศไทยนั้นมีการส่งเสริมเกษตรกรปลูกมันฝรั่งหลังนาในหลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคอีสานรวมพื้นที่กว่า 3.5 หมื่นไร่มีเกษตรกรร่วมโครงการกว่า 4,000 ครอบครัวในรูปแบบของเกษตรพันธสัญญาหรือคอนแรคฟาร์มมิ่ง โดยที่บริษัท เป๊ปซี่โค จะเป็นผู้รับซื้อผลผลิตทั้งหมดปีละราว 80 ตัน ในราคาประกันระหว่างกก.ละ 10-14 บาท เพื่อป้อนโรงงานในจังหวัดลำพูน 2 แห่ง แปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารขนมกรอบภายใต้แบรนด์ “เลย์” ขายในประเทศไทยและส่งอออก

พร้อมกันนี้มีการนำสายพันธุ์ที่มีผลผลิตสูงจากเดิมเกษตรกรได้ไร่ละ 1.5 ตัน เป็น 3.5 ตันต่อไร่ ขณะที่เกษตรกรสามารถลดต้นทุนทางการผลิตได้ รวมถึงสามารถลดน้ำที่เหลือทิ้งสูญเปล่าได้เช่นเดียวกัน แต่กระนั้นยอมรับว่าการปลูกมันฝรั่งไม่ง่าย เป็นพืชชอบอากาศเย็น ต้องการน้ำ แต่ไม่ชอบน้ำแฉะเกษตรกรต้องดูแลเอาใจใส่พอสมควร

“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลให้ผลผลิตมันฝรั่งลดน้อยลง ความเสี่ยงในการเกิดโรคพืชและแมลงศัตรูเพิ่มขึ้น ทั้งยังทำให้ต้นทุนการผลิตพุ่งสูงขึ้นตลอดจนการดำรงชีวิตของเกษตรกรจะตกอยู่ในความเสี่ยงหากปราศจากความร่วมมือของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว”  นายจิระวัฒน์  กล่าว