ขอบคุณทุกเบาะแส ทีม สวพ.6 สคว. พร้อมในการตรวจสอบตลอดเวลา ทุเรียนไทย – ทุเรียนคุณภาพระดับโลก

​นายพิทวัฒน์ อ่อนทองหลาง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 (ผอ.สวพ. 6) กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า มี เกษตรกร และ ประชาชนทั่วไป แจ้งเบาะแส การตัดทุเรียนอ่อน ในพื้นที่ต่างๆ ในภาคตะวันออกเข้ามาเป็นจำนวนมาก จึงได้สั่งการทีมเล็บเหยี่ยว เข้าตรวจติดตามในพื้นที่อย่างใกล้ชิด ทั้งในแปลงเกษตรกร และ โรงคัดบรรจุ

สวพ.6 มีมาตรการร่วมกับ จังหวัดจันทบุรี สร้างการรับรู้ถึงแนวทางและมาตรการส่งออกทุเรียนไปยังประเทศปลายทาง เร่งสร้างความเข้าใจกับเกษตรกร ผู้ประกอบการ ที่สำคัญ มือตัดทุเรียน ต้องย้ำให้เข้าสู่กระบวนการของสำนักงานเกษตรจังหวัดที่รับผิดชอบในการขึ้นทะเบียน นักคัด นักตัดทุเรียน ซึ่งสำนักงานเกษตรจังหวัด ร่วมกับ ศูนย์วิจัยพืชสวนของกรมวิชาการเกษตร จัดอบรมนักตัดทุเรียนมืออาชีพโดยเปิดอบรมฟรีจำนวน 4 รุ่น รุ่นละ 50 คน รุ่นที่ 1 วันที่ 28-29 มีนาคม 2566  รุ่นที่ 2 วันที่ 30-31 มีนาคม 2566 รุ่นที่ 3 วันที่ 1-2 เมษายน 2566  รุ่นที่ 4 วันที่ 3-4 เมษายน 2566  

โดยผู้ที่ผ่านการอบรมนักตัดทุเรียนมืออาชีพ  จะได้รับใบประกาศนียบัตร และ รับบัตรประจำตัวผู้ผ่านหลักสูตร ซึ่งมาตรการในอนาคตในแต่ละ lot ที่ตัดจะต้องระบุ ชื่อที่อยู่ ผู้ตัดไว้ เพื่อการติดต่อประสานได้หากมีข้อผิดพลาด โดยเฉพาะเมื่อพบปัญหาการตัดอ่อน  ที่สำคัญ เกษตรกร มือตัด และ ล้ง ต้องทำงานประสานกันอย่างใกล้ชิด เจ้าของสวนกำหนดวันตัด มือตัดเข้าสู่ระบบการอบรม กรณีพบทุเรียนอ่อนล้งก็ต้องไม่รับซื้อ 

ซึ่งการประสานกันอย่างใกล้ชิดของทั้ง 3 กลไก จะเป็นการปิดทางของทุเรียนอ่อนในห่วงโซ่การผลิต นำทุเรียนไทย ไปสู่ทุเรียนคุณภาพ ระดับโลก

ผอ สวพ 6. ได้เน้นย้ำนโยบายทุเรียนทุกชิปเม้นท์ที่ส่งออก จะต้องผ่านการตรวจใบรับรอง GAP ที่รับรองจากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 โดยด่านตรวจพืช สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรณีสงสัยที่มาของทุเรียนจะประสาน สวพ. ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากเกษตรกรเจ้าของ GAP และผู้ประกอบการGMP กรมวิชาการเกษตรมีทีมคณะทำงานเฉพาะกิจคุณภาพผักและผลไม้ไทย เพื่อร่วมตรวจสอบทันทีจำนวนแปลงกับจำนวนผลผลิตต้องสอดคล้องกัน 

ซึ่งทั้งสองกรณีย้ำว่า หากกรมวิชาการเกษตรตรวจเจอจะไม่อนุญาตให้ส่งออก ชุดเฉพาะกิจมีอำนาจในการสั่งพักใช้ เพิกถอนใบรับรอง หรือระงับยกเลิกหนังสือแสดงการขึ้นทะเบียนของสวนและโรงคัดบรรจุ

​ในส่วนการของตรวจปิดตู้เพื่อส่งออก สำนักควบคุมพืชและวัสดุทางการเกษตร ได้จัดเพิ่มกำลังนายตรวจเพิ่มขึ้นจาก 30 คนเป็น 60 คน เพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจคุณภาพทุเรียน และ ขยายเวลาปิดตู้จาก 20.00 น เป็น 22.00 น ซึ่งหากให้เจ้าหน้าที่ตรวจหลังเวลา 22.00 น ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนเวลา 18.00 น

​“ปัจจุบันในภาคตะวันออก มีโรงคัดบรรจุ 614 โรง จันทบุรี 559 ระยอง 35 ตราด 14 ฉะเชิงเทรา 2 จากการประเมินคุณภาพทุกโรงให้ความร่วมมือ ในระดับดี ทุกล้งให้ความสำคัญกับคุณภาพทุเรียนส่งออก มีการตรวจสอบคุณภาพและคัดแยก พ่นสีทุเรียนที่ไม่ได้มาตรฐานก่อนรับเข้าสู่กระบวนการคัดบรรจุด้วยตัวเอง 

อย่างไรก็ตามกรมวิชาการเกษตรขอเชิญชวนให้ทุกโรงคัดบรรจุปฏิบัติตามแนวทางที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดเพื่อให้เป็นโรงตัดบรรจุสีเขียว ซึ่งถือว่าเป็นชื่อเสียงของแต่ละแห่งด้วย และ ขอให้ทุกโรงคัดบรรจุตรวจสอบทุเรียนก่อนซื้อ ไม่ซื้อทุเรียนอ่อนจากมือตัดที่ไม่รักษาคุณภาพ  รวมทั้งขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่แจ้งเบาะแสเพื่อจะได้ร่วมมือกันในการผลักดันทุเรียนไทยให้เป็นทุเรียนคุณภาพระดับโลก” ผอ. สวพ 6. กล่าว

B57B6242 BCCB 4F79 AE2D 20A6A90C9598