ปลัดเกษตรฯ ขับเคลื่อนนโยบายการค้าสินค้าเกษตรระหว่างประเทศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพิ่มมูลค่าการส่งออก และลดการนำเข้า

 นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมหารือการพัฒนาระบบขับเคลื่อนนโยบายการค้าสินค้าเกษตรระหว่างประเทศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อประโยชน์จากการค้าที่เพิ่มขึ้น โดยมีนายสุรเดช สมิเปรม รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายพีรพันธ์ คอทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ตลอดจนอัครราชทูต อัครราชทูตที่ปรึกษา และกงสุล (ฝ่ายเกษตร) ทั้ง 11 แห่ง ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 134 – 135 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผ่านระบบการประชุมทางไกล Zoom Cloud Meeting 

   

%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3 7
ขับเคลื่อนการค้าสินค้าเกษตรระหว่างประเทศ

การประชุม ฯ ในครั้งนี้ เป็นการหารือและนำเสนอข้อมูลระบบการขับเคลื่อนงานด้านการค้าระหว่างประเทศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปัจจุบัน โดยวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรค เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออก และลดการนำเข้า (เกินดุลการค้าสินค้าเกษตร) อาทิ กระบวนการวิเคราะห์โอกาสทางการค้า ความได้เปรียบในการแข่งขันสินค้าเกษตรของไทย และการรายงานเพื่อประกอบการพิจารณาบริหารความเสี่ยง กระบวนการจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการในต่างประเทศและผู้ประกอบการในประเทศ หรือเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร เพื่อให้เกิดสัญญาซื้อขายร่วมกัน ตลอดจนกระบวนการสื่อสารพัฒนาผู้ประกอบการหรือเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ให้มีความสามารถดำเนินธุรกรรมเพื่อการส่งออกสินค้าเกษตรตามกฎหมาย และระเบียบทางการค้าของประเทศคู่ค้า เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการขับเคลื่อนงานด้านการค้าระหว่างประเทศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบันและอนาคตต่อไป     

   

%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2
ขับเคลื่อนการค้าสินค้าเกษตรระหว่างประเทศ

ทั้งนี้ ปลัดเกษตรฯ ได้มอบนโยบายให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ เดินหน้าบูรณาการทำงานร่วมกันอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีกอง/สำนักด้านการต่างประเทศ ให้ร่วมกันหาแนวทางขับเคลื่อนเพื่อผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรไทยให้มากที่สุด รวมทั้งช่วยกันส่งเสริมในเรื่องของการค้าระหว่างประเทศให้มีความคล่องตัวและรวดเร็ว เชื่อมโยงการทำงานร่วมกับทูตเกษตร ทั้ง 11 แห่ง ได้แก่ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโรม, กรุงวอชิงตัน ดี.ซี., สหภาพยุโรป, กรุงปักกิ่ง, กรุงแคนเบอร์รา, กรุงโตเกียว และฝ่ายเกษตร ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา, กรุงมอสโก ฝ่ายเกษตร ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว, นครลอสแอนเจลิส, และนครเซี่ยงไฮ้ ตลอดจนประสานงานกับภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อให้เกิดการค้าขายที่เป็นประโยชน์กับเกษตรกร สำหรับโครงการต่าง ๆ ที่ได้ขับเคลื่อนไปแล้วนั้น ขอให้ทุกฝ่ายมุ่งมั่นลงมือปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมชัดเจน.