กรมวิชาการเกษตร ลุยขยาย “จันทบุรีโมเดล”ตั้ง ’อุตรดิตถ์’ศูนย์กลางคุมเข้มส่งออกทุเรียนภาคเหนือ

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร สั่งขยายผล“จันทบุรีโมเดล”คุมเข้มทุเรียนภาคเหนือ ตั้งอุตรดิตถ์เป็นศูนย์กลางพร้อมมอบนโยบายผ่านการประชุมหารือมาตรการควบคุมมาตรฐานพืชส่งออกในพื้นที่ภาคเหนือ  ห้ามสวมสิทธิ์ผลไม้ส่งออกทุกชนิด สั่งตรวจเข้มคุณภาพทุเรียนส่งออกต้องได้ทั้งคุณภาพและปลอดแมลงศัตรูพืช เผยมูลค่าส่งออกเฉพาะทุเรียนภาคตะวันออกทะลุแสนล้าน ดันไทยทะยานขึ้นสู่ทุเรียนพรีเมี่ยมที่ 1 ของโลก

นายระพีภัทร์  จันทรศรีวงศ์  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  เป็นประธานการประชุมหารือมาตรการควบคุมมาตรฐานส่งออกในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง  พร้อมมอบนโยบายกำชับให้สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 พร้อมศูนย์เครือข่ายในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง  และสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตรร่วมกันบูรณาการปฏิบัติงานรักษาคุณภาพมาตรฐานผลไม้ไทยตามนโยบาย premium Thai fruit โดยนำ “จันทบุรีโมเดล” ของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 มาเป็นแนวทางการปฏิบัติงาน  พร้อมเน้นย้ำตรวจสอบผลไม้ทุกชนิดทั้งส่งออกและนำเข้าต้องได้คุณภาพและปลอดจากแมลงศัตรูพืช  รวมไปถึงตรวจสอบแหล่งที่มาของผลไม้ ห้ามมีการสวมสิทธิ์ผลไม้ทุกชนิดโดยเด็ดขาด

ขณะนี้กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการเตรียมการส่งออกทุเรียนภาคเหนือ โดยส่งไม้ต่อจากจันทบุรี ตามโครงการ ทุเรียนไทย ทุเรียนคุณภาพ มุ่งสู่ทุเรียนพรีเมี่ยมที่ 1 ของโลก โดยมีจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นศูนย์กลาง สำหรับพื้นที่ปลูกทุเรียนภาคเหนือตอนล่างมีทั้งหมด 7 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร  พิจิตร อุตรดิตถ์  ตาก  เพชรบูรณ์  สุโขทัยและพิษณุโลก โดยมีทั้งพันธุ์หมอนทอง พวงมณี  หลงลับแล  กระดุมมูซังคิง และหลินลับแล   มีพื้นที่ปลูกทุเรียนในเขตภาคเหนือตอนล่างได้รับการรับรอง GAP ทั้งหมด9,492 ไร่ ปริมาณผลผลิตในปี 2566 รวมจำนวนประมาณ 10,717 ตัน โดยจังหวัดอุตรดิตถ์ให้ผลผลิตมากที่สุดจำนวน 6,616 ตัน ทุเรียนที่ส่งออกไปประเทศจีนเป็นพันธุ์หมอนทอง 90 เปอร์เซ็นต์

สำหรับด่านปลายทางที่ส่งออกทุเรียนของจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้แก่  ด่านเชียงของ  ด่านแหลมฉบัง ด่านลาดกระบัง ด่านนครพนม และด่านมุกดาหาร   โดยเมื่อวันที่ 5 -11 พฤษภาคม 2566 ได้ออกใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับส่งออกทุเรียนสดไปแล้ว 318.6 ตัน มูลค่า 45.2 ล้านบาท โดยในปี 2565 (3 มิย.-5ต.ค.65) จังหวัดอุตรดิตถ์ได้ส่งออกทุเรียนไปจีนจำนวน 11,615 ตัน มูลค่า 1,207 ล้านบาท  

ในวันที่16 พฤษภาคม 2566 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 และเครือข่าย ร่วมกับ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร และด่านตรวจพืชที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมประชุมหารือมาตรการควบคุมมาตรฐานพืชส่งออกในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เพื่อนำไปหารือระดับจังหวัดร่วมกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องออกประกาศและคำสั่งต่างๆระดับจังหวัดในการดำเนินการเพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกันกับ สวพ.6 เป็นการเตรียมความพร้อมส่งออกทุเรียนภาคเหนือในปี 2566

“จากการดำเนินการควบคุมคุณภาพและตรวจรับรองสุขอนามัยพืชการส่งออกทุเรียนในฤดูกาลผลไม้ภาคตะวันออกในปี 2566 อย่างเข้มงวด พร้อมกับได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่ทำงานร่วมกับกรมวิชาการเกษตรอย่างใกล้ชิด เข้มข้น รักษาคุณภาพทุเรียนสำหรับส่งออกไปยังประเทศจีนทำให้การส่งออกเป็นไปด้วยความราบรื่นในทุกเส้นทาง 

พร้อมกับได้รับการชื่นชมในการปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบผลไม้ในภาคตะวันออก ซึ่งนำไปสู่ปริมาณการส่งออกที่มากถึง 6 แสนตัน มูลค่า ณ เวลานี้เกินแสนล้านไปแล้ว  

จึงได้สั่งให้ขยายผล “จันทบุรีโมเดล”ไปสู่พื้นที่ภาคเหนือตอนล่างซึ่งกำลังมีผลผลิตทุเรียนออกสู่ท้องตลาดในขณะนี้ พร้อมสร้างการรับรู้การแยกสีโรงคัดบรรจุเป็นสีเขียว  เหลือง และแดงให้ผู้ประกอบการในพื้นที่เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจ เพื่อร่วมกันรักษาคุณภาพมาตรฐานทุเรียนไทย 

มั่นใจว่าในการประชุมเตรียมความพร้อมของ สวพ.2 จะนำความสำเร็จเข้ามาสู่ในเขตพื้นที่ภาคเหนือเช่นเดียวกับที่ประสบความสำเร็จในภาคตะวันออก” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  กล่าว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า