ไทยร่วมกล่าวถ้อยแถลงประชุม MC12 ย้ำ! WTO เร่งเดินหน้ารับมือโควิด-19 และวิกฤตความมั่นคงทางอาหาร 

 “รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์” ร่วมกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 12 (MC12) เผยผลประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคที่ผ่านมา เน้นสนับสนุนการทำงานของ WTO รับมือโควิด-19 เร่งสรุปผลความตกลงอุดหนุนประมง ร่งปฏิรูปภาคเกษตรด้านความมั่นคงอาหาร และปฏิรูป WTO ไทยย้ำ! สนับสนุนการต่ออายุการไม่เก็บภาษีการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการประชุมครั้งต่อไป  

นาง อรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 12 (WTO MC12) ผ่านการบันทึกเทป

ซึ่งได้กล่าวถึงผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคที่ไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยเอเปคเน้นย้ำการให้ความสนับสนุนการทำงานของ WTO เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ที่สำคัญ 4 ประเด็นหลัก คือบทบาท WTO ในการรับมือการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อส่งเสริมการอำนวยความสะดวกทางการค้าการใช้มาตรการทางการค้าที่สอดคล้องกับพันธกรณี WTO และบทบาทของทรัพย์สินทางปัญญาต้องช่วยให้สมาชิกได้เข้าถึงวัคซีนอย่างทั่วถึง เร่งสรุปผลการเจรจาความตกลงอุดหนุนประมง เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน โดยห้ามการอุดหนุนที่นำไปสู่การทำประมง IUU และให้ความยืดหยุ่นประเทศที่มีการบริหารจัดการทรัพยากรประมงที่ดี 

45DC3F37 548F 471B A2E1 E5AB97CB0B7C

สำหรับการเร่งปฏิรูปภาคเกษตร ไม่ใช้มาตรการห้ามหรือจำกัดการส่งออกสินค้าอาหารภายใต้โครงการอาหารโลก เพื่อความมั่นคงทางอาหาร และการปฏิรูป WTO โดยเฉพาะการแต่งตั้งสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ที่ว่างอยู่ นอกจากนี้ ไทยยังสนับสนุนการต่ออายุการไม่เก็บภาษีกับการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการประชุม MC13 และการหารือระดับหลายฝ่ายเรื่องการค้าบริการและการค้ากับสิ่งแวดล้อมต่อไป

นางอรมน เสริมว่า การประชุม MC12 ครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 15 มิถุนายน 2565 โดยสมาชิกWTO มีเป้าหมายหาข้อสรุปประเด็นสำคัญ ได้แก่ การรับมือของ WTO กับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และโรคระบาดในอนาคต การรับมือกับความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งเป็นความท้าทายในปัจจุบันและการสรุปผลประเด็นที่มีการหารือกันมาอย่างยาวนาน ทั้งเรื่องการเจรจาความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนประมง แผนการดำเนินงานด้านการเจรจาเกษตรและแนวทางการปฏิรูป WTO ซึ่งการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก กำหนดจัดขึ้นเป็นประจำทุก 2 ปี เพื่อตัดสินใจเรื่องสำคัญและกำหนดทิศทางการทำงานของ WTO ต่อไปในอนาคต