ปลัดเกษตรฯ ขับเคลื่อนโครงการเสริมสร้างความสามารถในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลุ่มน้ำของไทยด้วยการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการเกษตรแบบยั่งยืน ร่วมกับ UNDP

%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%A5%E0%B8%AF
เกษตรฯ จับมือ UNDPขับเคลื่อนรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลุ่มน้ำของประเทศไทยฯ

นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกำกับโครงการ (Project Board) ครั้งที่ 1 โครงการเสริมสร้างความสามารถในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลุ่มน้ำของประเทศไทยด้วยการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการเกษตรแบบยั่งยืน (Enhancing Climate Resilience in Thailand through Effective Water Management and Sustainable Agriculture) ณ ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) ชั้น 3 อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำภู กรมชลประทาน สามเสน และผ่านระบบออนไลน์ ร่วมกับผู้แทนสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ(UNITED NATIONS DEVELOPMENT PROGRAMME : UNDP) โดยมีนายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน และผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ว่า โครงการฯ ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำ โดยการวางแผนการเพาะปลูกให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรที่เปราะบาง ในการลดความผันผวนของวิถีชีวิตอันเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง เสริมสร้างความสามารถในการวางแผนแบบบูรณาการและคำนึงถึงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการหยุดชะงักด้านการผลิตของเกษตรกรรายย่อย ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่งจากกองทุนภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund : GCF) มีพื้นที่ดำเนินการครอบคลุม 22 ตำบล 7 อำเภอ ในจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย และอุตรดิตถ์ (โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน) มีเป้าหมาย กลุ่มผู้ได้รับประโยชน์ 20,000 ครัวเรือน ประชากร 62,000 คน

temp cc0147ac624bb89e18b9a50b02a3e1dbe 4942482571262809788 1361982495836012
นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โดยมอบหมายคณะทำงานฯ3 คณะ รับผิดชอบดำเนินการเพื่อให้ได้ผลผลิตตามเป้าหมาย ประกอบด้วย 1) ระบบบริหารข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อการชลประทาน ได้แก่ การพยากรณ์ น้ำฝน น้ำท่า และแผนการปลูกพืช 2) โครงสร้างพื้นฐานที่ผสมผสานมาตรการสิ่งก่อสร้างและมาตรการเชิงนิเวศ และ 3) การเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกร ได้แก่ Mobile App, Online Market Platform โดยการประชุมในวันนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ปรับแผนการดำเนินงานจาก 5 ปี เหลือ 4 ปี ปรับแผนการเบิกจ่ายงบประมาณ รวมทั้งขอให้ทุกหน่วยงานร่วมกันบูรณาการและเร่งรัดการดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้

%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C
นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน
temp cc0147ac624bb89e18b9a50b02a3e1dbe 4942482571262809788 1361982502450335
เกษตรฯ จับมือ UNDPขับเคลื่อนรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลุ่มน้ำของประเทศไทย

สำหรับโครงการเสริมสร้างความสามารถในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลุ่มน้ำของประเทศไทยด้วยการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการเกษตรแบบยั่งยืน ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2558 โดยกรมชลประทานได้เสนอโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายมน่าน เพื่อขอรับเงินช่วยเหลือส่วนหนึ่งตามคำเชิญชวนของ GCF จนกระทั่งเมื่อ วันที่ 14 มีนาคม 2566 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กรมชลประทานลงนามในเอกสารโครงการ โดยได้มีการลงนามร่วมกับ UNDP และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566 และจะสิ้นสุดโครงการในปี 2569 รวมระยะเวลา 4 ปี