กรมวิชาการเกษตร ค้นพบสารสำคัญใน”แมงลักป่า”ใช้ฆ่าวัชพืชได้ เตรียมวิจัยพัฒนาต่อยอด 

กรมวิชาการเกษตร ค้นพบสารสำคัญในแมงลักป่าฆ่าวัชพืชได้ เตรียมวิจัยพัฒนาต่อยอดสารสกัดจากแมงลักป่า นำน้ำมันหอมระเหยจากแมงลักป่าไปวิเคราะห์ จำแนกชนิดสารออกฤทธิ์ที่สำคัญ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพสารออกฤทธิ์แต่ละชนิด พร้อมดูแนวโน้มนำสารออกฤทธิ์ไปสังเคราะห์ต่อเป็นแนวทางหาสารชนิดใหม่ใช้กำจัดวัชพืชในอนาคต

กรมวิชาการเกษตร ได้พัฒนานำส่วนของใบแมงลักป่าในระยะออกดอก มาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย ซึ่งในน้ำมันหอมระเหยจากแมงลักป่ามีกลุ่มสารสำคัญ คือสารกลุ่มเทอร์พีนอยด์  

7DFC5CF5 A442 497B 8149 AF39ECB85EA3

โดยสารที่พบปริมาณมากและเป็นองค์ประกอบหลักในน้ำมันหอมระเหยจากแมงลักป่า ได้แก่ ซาบีนีน  เบต้า-ไพนีน  1,8-ซินีโอล  ทรานส์ คาริโอฟิลลีน และคาริโอฟิลลีนออกไซด์ และได้นำน้ำมันหอมระเหยมาวิจัยเป็นสูตรผลิตภัณฑ์ ได้เป็นสูตรสารละลายน้ำมันเข้มข้น ซึ่งได้สูตรที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 2 สูตร คือ ผลิตภัณฑ์สูตร A 60% EC และ ผลิตภัณฑ์สูตร B 60% EC ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกำจัดวัชพืชได้แก่ ไมยราบยักษ์ และหญ้าข้าวนก ในห้องปฏิบัติการ และมีประสิทธิภาพในการกำจัดผักโขมหนามได้ถึง 93-96 เปอร์เซ็นต์ ในสภาพเรือนทดลอง ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 สูตร มีลักษณะการเข้าทำลายแบบสัมผัสตาย คือเมื่อละอองสารสัมผัสกับวัชพืชทำให้เกิดอาการฉ่ำน้ำ ใบเหี่ยว และแห้งตาย 

11F90D65 DC78 4938 86E6 3545DEA5C396

จากนั้นได้ดำเนินการทดสอบประสิทธิภาพในการกำจัดวัชพืชและทดสอบความเป็นพิษต่อพืชปลูกในสภาพไร่ ในแปลงปลูกมะเขือเปราะ โดยใช้พ่นระหว่างแถวปลูกมะเขือเปราะ อายุ 1 เดือนหลังย้ายกล้าและวัชพืชมีจำนวนใบ 3-5 ใบ หรือมีความสูงไม่เกิน 10 เซนติเมตร ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 สูตร มีความเป็นพิษต่อมะเขือเปราะเล็กน้อย ทำให้เกิดจุดสีน้ำตาลที่ใบแต่ไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และมีประสิทธิภาพในการกำจัดวัชพืชประเภทใบกว้าง ได้แก่ ผักเบี้ยหิน วัชพืชประเภทใบแคบ ได้แก่ หญ้านกสีชมพู และวัชพืชประเภทกก ได้แก่      กกทราย ได้ดี ทำให้วัชพืชมีอาการตาย 90 – 100 เปอร์เซ็นต์ 

F34605EC C9CA 4FB1 A390 DCA9A70D60FB

ถึงแม้ผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยจากแมงลักป่ามีประสิทธิภาพในการกำจัดวัชพืชได้ดี แต่ต้องใช้วัตถุดิบตั้งต้นปริมาณมากในการสกัด อีกทั้งปริมาณสารผลิตภัณฑ์ที่ใช้พ่นต้องมีปริมาณมาก อาจจะไม่คุ้มทุนในการผลิตและนำไปใช้ของเกษตรกร  

0D5F4223 D2B9 4FBC 9D5A E8694FD103B4

อย่างไรก็ตาม กรมวิชาการเกษตรมีแนวทางในการวิจัยเพื่อพัฒนาต่อยอดสารสกัดจากแมงลักป่า โดยนำน้ำมันหอมระเหยจากแมงลักป่าไปวิเคราะห์ จำแนกชนิดของสารออกฤทธิ์ที่สำคัญ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์แต่ละชนิด และดูแนวโน้มการนำสารออกฤทธิ์ดังกล่าวไปสังเคราะห์ต่อเพื่อเป็นแนวทางในการหาสารชนิดใหม่ในการนำไปใช้กำจัดวัชพืชในอนาคตต่อไป 

8D2DB383 2442 43B6 9BA3 8666D1287431

อีกทั้งนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เน้นย้ำและให้ความสำคัญกับผลงานวิจัยการเกษตร ต้องสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง และเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร และผู้ประกอบการภาคการเกษตรและอาหาร กรมวิชาการเกษตรจึงเตรียมจัดการประชุมผลงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร โดยมีนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดประชุมผลงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตรที่จะจัดอย่างยิ่งใหญ่ในระหว่างวันที่ 18-20 ก.ค.2565 เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ดำเนินการเสร็จสิ้น และพร้อมที่จะนำไปใช้ประโยชน์สู่สาธารณชน รวมทั้งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการดำเนินงานวิจัยของนักวิจัย และเป็นเวทีรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอีกด้วย

24BF720E 1C43 4A3B 94A6 4CE0018D6F38
4CA40DF8 E52B 4DA6 A377 5728B94CF36F
F00BF4EB 6330 4812 8B88 B2B115452630
8281DF53 297A 4019 8E00 EFCF2A6927FE

ขอบคุณข้อมูล จาก : สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร