ทุเรียนแปลงใหญ่ “ป่าละอู GI“ ทุเรียนดีที่ประจวบคีรีขันธ์

ปีนี้เป็นปีแห่งการชิมทุเรียน ใครชวนไปสวนทุเรียนจะใกล้จะไกล ไปกับเขาหมด ชิมในตลาดประจำไม่พอต้องไปให้ถึงสวน และได้มีโอกาสติดตามท่านพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ที่นำคณะผู้บริหาร พร้อมสื่อมวลชน ลงพื้นที่ สวนทุเรียนป่าละอู  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อดูพื้นที่การปลูกทุเรียน ในพื้นที่ป่าละอู ซึ่งมีปริมาณผลผลิตไม่มาก ยังไม่เพียงพอต่อการบริโภคของคนไทย

เรื่องนี้ ท่านเลขา มกอช.บอกว่า ปัจจุบันประชาชนมีความสนใจในเรื่องสุขภาพมากขึ้น โดยหันมาเลือกบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย และผ่านการรับรองมาตรฐานมากยิ่งขึ้น การบริโภคทุเรียนก็เช่นกัน เราจะเห็นจากในห้างโมเดิร์นเทรด หรือในตลาดบนมีทุเรียนขายในราคาสูง มีการคัดเลือกทุเรียนคุณภาพจากแหล่งผลิตที่มีการรับรองมาตรฐานไปจำหน่าย เป็นตลาดหนึ่งที่น่าสนใจ และนับวันจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น

3847E4B9 956B 4A97 BCFE E81FB3DB5C3F

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รณรงค์ให้ผู้บริโภคเลือกซื้อ สินค้าที่มีเครื่องหมาย “Q” ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกรับรองให้กับสินค้าที่ผลิต ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี เพื่อให้ผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าสินค้าเกษตรนำไปใช้แสดงกับ สินค้าเกษตรที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองว่าเป็นไปตามมาตรฐาน มีความปลอดภัย และมีคุณภาพเทียบเท่า มาตรฐานสากล 

หากผู้บริโภคพบเห็นเครื่องหมาย Q ที่ใด สามารถมั่นใจได้ว่าสินค้าเกษตรนั้นมีมาตรฐาน คุณภาพ และความปลอดภัย เหมาะสมต่อการบริโภค

นอกจากเครื่องหมายรับรองมาตรฐานที่บ่งบอกถึงคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหารแล้ว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีมาตรการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านอาหารปลอดภัยแก่ผู้บริโภค ภายใต้สถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อควบคุมความปลอดภัยของการผลิตสินค้าเกษตรและ อาหารอย่างเข้มงวด โดยนำมาตรฐานสินค้าเกษตรมาควบคุม กำกับ และดูแล ตั้งแต่ฟาร์ม สถานประกอบการ แหล่งรวบรวมจำหน่าย จนถึงกระบวนการการขนส่ง ซึ่งทั้งหมดสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้

7CC6B6CD C35C 469F B008 CF48E1A1CEC1

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ได้พัฒนาระบบการตามสอบสินค้าเกษตรบนระบบคลาวด์สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (QR Trace on Cloud) เพื่อให้เกษตรกรรายย่อย กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน รวมถึงผู้ประกอบการ นำระบบไปใช้งานในการจัดเก็บข้อมูลที่มาที่ไป ข้อมูลการผลิตเพื่อใช้ในการตามสอบสินค้าเกษตร 

สามารถบริหารจัดการการผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำข้อมูลที่จัดเก็บไปสร้าง QR Code สำหรับเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงข้อมูล ตามสอบสู่ผู้บริโภค 

ที่ผ่านมา มกอช. ได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรมีการใช้ระบบตามสอบย้อนกลับ มาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน มีผู้สนใจลงทะเบียนกว่า 2,400 ราย

ในปี 2565 มกอช. ได้เข้าไปส่งเสริมการใช้ระบบ QR Traces on Cloud ให้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนป่าละอู จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีการผลิตสินค้าทุเรียนที่ได้การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทาง การเกษตรที่ดี (GAP) และได้รับเครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) 

6F21D2CA C8B6 4A03 9D33 365857A29F6D

มกอช.จึงได้จัดทำโครงการเพื่อยกระดับ และพัฒนาศักยภาพกลุ่มเกษตรกรต้นแบบ ภายใต้การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการสร้างความเชื่อมั่นด้าน คุณภาพ มาตรฐาน ความปลอดภัย และการตรวจสอบย้อนกลับ ที่มีเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เป็นประธานอนุกรรมการร่วมกับ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

ซึ่งเป็นการนำร่องการใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับ QR Trace on Cloud ที่เชื่อมโยงข้อมูลสินค้าเกษตรทุเรียนที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP และ GI ที่จะเป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงข้อมูล ตรวจสอบสู่ผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้าได้ อีกทั้งเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและเปิดโอกาสทางการตลาดให้กับสินค้าได้มากยิ่งขึ้น โดยสามารถเชื่อมโยงการจำหน่ายสินค้าในตลาดออนไลน์ หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ของภาคเอกชนที่มี การจำหน่ายสินค้าอยู่แล้วในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังเป็นการป้องกันปัญหาการสวมสิทธิ์เอกสารใบรับรองมาตรฐาน สามารถตรวจสอบให้เกิดความโปร่งใสและลดปัญหาในเรื่องการส่งออกได้”

แปลความแบบสั้นๆในสองประโยคคือ มกอช.เขานำระบบ QR Traces on Cloud มาใช้ในสวนทุเรียนทำให้ผู้บริโภคตรวจสอบย้อนกลับได้ทันที

E7101EC3 B025 4C48 87EB F96032FE4F35
8590E4E6 E450 4523 A3F9 04DCF43ACCCB

ฟังเรื่องของราชการ ฟังมากอ่านมากเดี๋ยวจะเบื่อกัน ทุเรียนป่าละอู น่าสนใจตรงไหน ทำไมได้รับการรับรองเป็นสินค้า GI อร่อยสมคำร่ำลือหรือไม่ 

กรรณิกา ทวีกาญจน์  เจ้าของไร่กรรณิกา ทวีกาญจน์   กล่าวว่า พื้นที่ทั้งหมด ของไร่กรรณิกา มีการปลูกทุเรียน 90% และ10% ผลไม้อื่น มีปลูกเงาะ มังคุด ที่ตั้งแปลง อยู่บริเวณเลขที่ 337 หมู่ 7 ห้วยสัตว์ใหญ่  ประจวบคีรีขันธ์  มีพื้นที่ปลูก กว่า 80 ไร่ โดยผลผลิตบางส่วนนอกจากขายเป็นผลไม้สด ยังมีการสินค้าค้าแปรรูป  โดยจะมีตั้งแต่การแปรรูปเป็นทุเรียนกวน ทุเรียนทอด ไอติมทุเรียน เค้ก ทุเรียน พิซซ่าทุเรียนขนมเปี๊ยะทุเรียน โดยได้มาตรฐานที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน (GAP) GAP กษ GAP A1-003630485 และ ได้รับการอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI)สช57100062 ( 09/10/2562 ) การันตีว่าที่นี่เป็นทุเรียนป่าละอูของแท้ สวนเราขายหน้าสวน และขายออนไลน์ กิโลกรัมละ 250 บาท มีผลิตภัณฑ์แปรรูปหลากหลายจากทุเรียน อยากให้ลองมาชิม”

7E8614B0 F0A7 43C6 A54F 52A4C4EBBB30

“ประโยชน์ พรหมสุวรรณ”  ประธานวิสาหกิจชุมชนเกษตรแปลงใหญ่ทุเรียนป่าละอู กล่าวว่าสวนทุเรียนแห่งนี้เป็นสวนทุเรียนที่ได้รับการสนับสนุนในโครงการแปลงใหญ่โดยมีที่ตั้งแปลง ที่เลขที่ 139 ม.8 ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีพื้นที่ปลูก ทั้งหมดกว่า 14 ไร่มีผลผลิต ประมาณ 2 ตัน/ปีเป็นแปลงที่ได้มาตรฐาน และได้รับการรับรองมาตรฐาน (GAP) GAP กษ 03-9001-36470635111 และได้รับการอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI)สช 57100062 ลำดับที่620623PKN004

ลุงประโยชน์ กล่าวว่า “ตนเคยเป็นหัวหน้าเทศกิจ กทม.ขณะนี้เป็นข้าราชการบำนาญ ที่ผ่านมาได้ซื้อสวนทุเรียนป่าละอู ไว้ตั้งแต่ปี 2528 และเข้ามาเป็นเกษตรกรเต็มตัวเมื่อปี 2558 ลองผิดลองถูกมาหลายปีกว่าจะได้ผลผลิตทุเรียน ที่ดีขึ้นเกือบเท่าตัวโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ทดแทนการสารเคมี และยังได้รับการรับรองแปลงจีเอพี จากกรมวิชาการเกษตร อีกทั้งทาง มกอช.ได้นำระบบ QR Code มารองรับทำให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้รับความมั่นใจจากผู้บริโภคว่าเป็นทุเรียนป่าละอูของแท้ ทั้งมีคุณภาพปลอดภัยต่อผู้บริโภคอีกด้วย จึงทำให้ขายได้ราคาสูงกว่าทุเรียนในพื้นที่อื่น 

อย่างไรก็ตามในปีนี้ประสบปัญหาวิกฤติหลายอย่างโดยเฉพาะต้นทุนการผลิต ราคาปุ๋ยสูงขึ้นมากจากตันละหมื่นกว่าบาท ขึ้นมาเกือบ 3 หมื่นบาท รวมทั้งราคายากำจัดศัตรูพืชสูงขึ้นด้วย ที่เป็นปัจจัยหลักในการดูแลต้นทุเรียน  

นอกจากนี้สภาพอากาศปีนี้ฤดูร้อนๆขึ้นกว่าทุกปี ทำให้ทุเรียน สุกเร็ว เป็นเหตุให้ชาวสวนต้องเร่งตัดขายเปอร์เซ็นต์การสุกต่ำ เมื่อนำไปขายให้กับล้งก็โดนกดราคาลงมาก อีกทั้งยังโดนทุเรียนจากภาคใต้ มาสวมขายหลอกราคาต่ำทำให้ผู้บริโภค เข้าใจผิดว่าเป็นทุเรียนป่าละอู”

C62FAA84 94A5 4D4E BB21 8D6D898E8578

ทุเรียนป่าละอูของแท้เป็นอย่างไร เกษตรกรบอกว่า ทุเรียนป่าละอูของแท้ มีรสชาติพิเศษ เนื้อละเอียด รสไม่หวานมาก เมล็ดลีบตามฉบับทุเรียนหมอนทอง กินแล้วรับรสถึงความอร่อยละมุนลิ้น กลิ่นหอมอ่อนๆ 

นี่หละน๊าาาา…เขาถึงบอกว่า ทุเรียนแก่จัดกินอร่อย ยิ่งกินในสวนอร่อยได้ฟิลกว่ากินในห้างเยอะ

อร่อยแค่ไหน ป่าละอูต้องบอกเลยว่าของเขาเด็ดจริง บรรยายไม่ถูก รู้แต่ว่าอร่อย หวานมันกำลังดี ได้ชิมลูกที่สุกแก่จัดจากต้น ทำให้ลืมทุเรียนในห้างไปได้ชั่วขณะ ยิ่งเจอไอติมทุเรียนปิดท้ายเข้าไปอีก อร่อยจนแทบไม่อยากกลับกรุงเทพฯ